รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
25 สิงหาคม 2563
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, ภาพข่าว
ปัจจุบันนวัตกรรม “หุ่นยนต์” เข้ามามีบทบาทช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ในการดูแลผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากผู้ป่วยแล้ว ยังมีการนำหุ่นยนต์เข้ามาทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุซึ่งต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดอีกด้วย
โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมสูงวัย (จุฬาอารี) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมเพื่อสร้างเสริมสังคมไทยในบริบทสังคมสูงวัย ได้จัดพิธีส่งมอบหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุ (หุ่นยนต์นินจา รุ่นจุฬาอารี) ให้แก่กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อนำไปใช้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงที่ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จ.ปทุมธานี โดยมี ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาฯ เป็นประธานในพิธีมอบหุ่นยนต์แก่ คุณศิริลักษณ์ มีมาก ผู้แทนอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ เมื่อวันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุม Social Innovation Hub ชั้น 1 อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ
ศ.ดร.วิพรรณ ประจวบเหมาะ คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ ผู้อำนวยการแผนงานโครงการจุฬาอารี กล่าวว่าวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ในการนำหุ่นยนต์นินจามาช่วยดูแลผู้สูงอายุว่า เพื่อให้เกิดระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) หรือแพทย์ทางไกลที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังที่บ้าน เป็นผู้ป่วยติดเตียง หรือมีโรคเกี่ยวกับสมอง เพื่อให้สามารถสื่อสารกับแพทย์ได้ ช่วยลดการสูญเสียชีวิต ลดความเสี่ยงของโรคในผู้สูงอายุ โดยผู้ที่อยู่ใกล้ตัวผู้สูงอายุอาจมีความรู้ไม่มากพอ จึงเกิดความร่วมมือในการนำนวัตกรรมมาทำหน้าที่ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ให้สามารถติดตามผลการดูแลผู้สูงอายุได้ทุกวัน โดยทดลองใช้กับกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่กลับไปพักรักษาตัวที่บ้าน และใช้ในพื้นที่ชุมชนภายใต้การดำเนินงานของโครงการจุฬาอารี
ศ.ดร.วิพรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า“หุ่นยนต์นินจา” สามารถใช้สื่อสารทางไกลระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยผ่านระบบ Video Conference โดยบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยโต้ตอบและสอบถามอาการป่วยของผู้สูงอายุได้ มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุแต่ละประเภท ซึ่งเป็นการผสานองค์ความรู้ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยประชากรศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การส่งมอบหุ่นยนต์ ในครั้งนี้จะตอบโจทย์แนวทางวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ในการดูแลผู้สูงอายุของกรมกิจการผู้สูงอายุ
ศ.ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมหุ่นยนต์ “นินจา” รุ่นจุฬาอารี เปิดเผยว่า ในการทำงานของหุ่นยนต์มีการส่งสัญญาณบลูทูธให้เครื่องทำงานตามคำสั่ง เพื่อดูค่าสัญญาณชีพ ค่าอัตราการเต้นของหัวใจ วัดค่าความดันโลหิตและออกซิเจน มีล้อเลื่อนคล้ายรถเข็นให้สามารถเคลื่อนที่ไปพร้อมกับผู้ใช้งานได้ รูปลักษณ์ภายนอกของหุ่นยนต์มีการใช้สีขาวมุกเพราะเป็นสีที่ดูสะอาด เหมาะกับผู้สูงอายุและโรงพยาบาล นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ให้เข้ากับผู้ใช้งาน มีระบบการประเมินซึ่งสามารถทำการประเมินได้บ่อยครั้ง เพื่อสังเกตความน่าจะเป็นต่อการเกิดโรคและส่งข้อมูลให้แพทย์วินิจฉัยได้ทันที
ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสร์ จุฬาฯ กล่าวถึงผู้สูงอายุที่ใช้งานหุ่นยนต์นินจาว่าเน้นสองกลุ่มหลักคือ กลุ่มผู้สูงอายุทั่วไปและกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคสมองเสื่อม หุ่นยนต์จะทำหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุในสามส่วนหลัก ส่วนแรกคือการดูแลในเรื่องสุขภาพทั่วไปที่ผู้สูงอายุสามารถทำเองที่บ้านได้ ส่วนที่สองเป็นเรื่องสันทนาการอื่นๆ เช่น การให้ผู้สูงอายุเล่นเกมเสริมสร้างสมองหรือมีคลิปให้ความรู้ที่เหมาะสมต่อผู้สูงอายุ และส่วนที่สาม จะเป็นวิดีโอคอลติดต่อระหว่างผู้สูงอายุกับบุคลากรทางการแพทย์ โดยมีปุ่มกดเพียงปุ่มเดียวเพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสารระหว่างกัน
“หุ่นยนต์นี้มีความเหมาะสมทั้งการดูแลผู้ป่วยแบบหนึ่งต่อหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งสามารถนำไปไว้ที่ศูนย์อนามัยหรือสถานพยาบาลที่ผู้สูงอายุสามารถมาใช้บริการได้มากกว่าหนึ่งคน โดยจะมีการเพิ่มฟังก์ชั่นในแอปพลิเคชัน เช่น การตรวจวัดค่าน้ำตาลในเลือด ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาต่อไป” ศ.พญ.นิจศรี กล่าวทิ้งท้าย
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
เชิญชวนชาวจุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาภายในของบุคลากรจุฬาฯ ครั้งที่ 45 ประจำปี 2568
27 มกราคม – 7 มีนาคม 2568
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้