รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 สิงหาคม 2563
ข่าวเด่น
จากงานเสวนา “New Normal สู่วัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างยั่งยืน” ในงาน Chula Safety 2020 ซึ่งศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม 2563 อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาฯ เสวนาถึงสถานการณ์และบทเรียนที่ได้จากวิกฤตการระบาดของโรค COVID-19 และเสนอข้อแนะนำในการปรับวิถีแบบ New Normal สำหรับสถานศึกษาและสถานที่ทำงาน
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี ด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณ และสุขภาวะ จุฬาฯ กล่าวถึงการดูแลประชาคมจุฬาฯ ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ว่า “จุฬาฯ ตระหนักถึงความปลอดภัยของนิสิต และบุคลากร มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินไวรัสโคโรนา มีระบบคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และได้พัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้นที่โรงพยาบาลรับไม่ไหว ประกอบกับโครงการ CU V Care ใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัยในการรองรับผู้ป่วย โดยมีบุคลากรจุฬาฯ เป็นจิตอาสาดูแลผู้ป่วย รวมทั้งมีการปลูกฝังเรื่องของความปลอดภัยและการป้องกันตนเองด้วย”
สถานการณ์ COVID-19 ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเรา รวมไปถึงด้านเศรษฐกิจ สังคม ที่เปลี่ยนแปลงไป ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดี ด้านการวิจัย จุฬาฯ กล่าวว่า “การใช้ชีวิตในช่วงที่มีการจำกัดจำนวนคนให้น้อยลง ทำให้คนตระหนักเรื่องของความปลอดภัยน้อยลงด้วย เช่น การขับรถย้อนศร การละเลยไม่ดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้ไม่พร้อมต่อการใช้งาน รวมไปถึงสถานศึกษาที่ไม่มีการจัดกิจกรรมของนิสิต ซึ่งแต่เดิมชีวิตนิสิตที่เคยเป็นสังคมก็หายไป สถาบันการศึกษาเองต้องเป็นผู้นำด้านความปลอดภัย พิจารณาให้เกิดความสมดุลระหว่างแนวปฏิบัตใหม่ๆ กับวิถีเก่าๆ และไม่ทำให้ความปลอดภัยลดลงไป”
ศ. ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ ได้ให้ข้อแนะนำในการปรับการใช้ชีวิตแบบ New Normal ว่า “สิ่งสำคัญของการใช้ชีวิตในช่วงสถานการณ์ที่ผ่านมาและในอนาคตคือการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนเอง และไม่ลืมที่จะคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยในการใช้ชีวิต ความปลอดภัยเป็นเรื่องใกล้ตัว อยากให้ทุกคนตระหนักถึงความปลอดภัยในทุกๆ เรื่องให้เหมือนกับเรื่อง COVID-19 ซึ่งถ้าทุกคนทำได้จะทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างยั่งยืนได้ในที่สุด”
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ร่วมกับ สสส. มอบรางวัลเชิดชู 11 องค์กรต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต (Thai Mind Awards)
จุฬาฯ ร่วมกับคาร์เทียร์ ประเทศไทย จัดงานเปิดตัว “โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม สำหรับ Cartier Women’s Initiative”
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้