รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
24 สิงหาคม 2563
ข่าวเด่น
รางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษา ประจำปี 2563 ในงาน”มหกรรมการวิจัยแห่งชาติ” (Thailand Research Expo 2020) มีผลงานนวัตกรรมต่างๆ ที่โดดเด่นน่าสนใจมากมาย หนึ่งในนวัตกรรมสุดล้ำได้แก่ “ชุดกล้อง “MicrosisDCN” วิเคราะห์จุลชีพด้วยโครงข่ายประสาทสำหรับสวมท่อเลนส์ใกล้ตาของกล้องจุลทรรศน์ ผลงานของณัทกร เกษมสำราญ นิสิตปริญญาเอกภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งคว้าถึง 4 รางวัลจากการประกวดนวัตกรรมครั้งนี้ ในกลุ่มการพัฒนาเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะพลังงานและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย รางวัลผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษาระดับดีเด่น เหรียญรางวัลตามเกณฑ์คะแนนของแต่ละผลงานตามที่ วช. กำหนด ระดับเหรียญทอง (Gold Medal) รางวัลการเขียนข้อเสนอโครงการระดับดี และรางวัลระดับ 5 ดาว การนำเสนอเอกสารเชิงความคิด / ผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ ในกิจกรรมเพิ่มศักยภาพและมาตรฐานบุคลากรอุดมศึกษา บ่มเพาะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม
ชุดกล้อง “MicrosisDCN” วิเคราะห์จุลชีพด้วยโครงข่ายประสาทสำหรับสวมท่อเลนส์ใกล้ตาของกล้องจุลทรรศน์ ถูกสร้างขึ้นเพื่อลดระยะเวลาการวินิจฉัยชนิดของเซลล์จุลชีพ เพิ่มความแม่นยำในการคัดแยกและนับจำนวนในห้องปฏิบัติการ สามารถแยกชนิดและนับจำนวนเซลล์ขนาดเล็ก เช่น เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เซลล์จุลชีพขนาดเล็กอื่นๆ ด้วยโครงข่ายประสาท เป็นชุดอุปกรณ์สำหรับสวมท่อเลนส์ใกล้ตาของกล้องจุลทรรศน์ ภายใต้การทำงานของ Tensorflow และ OpenCV บนระบบสมองกลฝังตัวขนาดเล็ก มีความแม่นยำเฉลี่ยร้อยละ 86.81
“นวัตกรรมนี้เป็นอุปกรณ์กล้องที่นำเอาระบบโครงข่ายประสาทหรือ AI เข้าไปบรรจุไว้ในชุดกล้อง ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์สำหรับสวมท่อเลนส์ใกล้ตาของกล้องจุลทรรศน์เพื่อทดแทนการส่องดูด้วยตาเปล่าโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยแสดงผลผ่านหน้าจอ เพียงนำเอาเซลล์ตัวอย่างของจุลชีพใส่ไว้ใต้กล้องจุลทรรศน์ AI จะทำหน้าที่ในการนับและประมวลผลแบบ real time ทันที” ณัทกร อธิบาย
ณัทกร เผยถึงที่มาของนวัตกรรมชุดกล้อง MicrosisDCN ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท ซึ่งมี ผศ.ดร.สุรีย์ พุ่มรินทร์ และ รศ.ดร.นรรัตน์ วัฒนมงคล ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ตามลำดับ โดยได้รับทุนสิ่งประดิษฐ์ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช สำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุดเริ่มต้นของงานวิจัยเกิดจากการได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่ภาควิชาทางด้านจุลชีววิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการนับจำนวนจุลชีพขนาดเล็กเพื่อวัดปริมาณ หรือวิเคราะห์การติดเชื้อต่างๆ ผนวกกับการเรียนในภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าในด้านสมองกลฝังตัวและ AI จึงนำองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมมาสร้างเป็นอุปกรณ์นี้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
การนับจุลชีพหรือเซลล์ขนาดเล็กด้วยตา ต้องอาศัยระยะเวลา ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ เมื่อผู้เชี่ยวชาญต้องปฏิบัติการนานๆ จะเกิดอาการล้าทางสายตา ทำให้การนับนั้นสามารถเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ จุดเด่นของชุดกล้องคือความรวดเร็วและแม่นยำ โดยปกติผู้เชี่ยวชาญจะใช้เวลา 5-10 นาทีในการนับเซลล์ทั้งหมดด้วยตาเปล่าต่อหนึ่งพื้นที่การมองเห็นของกล้องจุลทรรศน์ แต่ MicrosisDCN ใช้เวลาไม่เกิน 2 นาที หรือไวที่สุดประมาณ 5 วินาที หากเป็นเซลล์ที่มีขนาดไม่ซับซ้อน ไม่ซ้อนทับกัน มีขอบที่ชัดเจน ก็จะนับได้เร็วยิ่งขึ้น
ณัทกร เผยว่าในเฟสแรก มีการผลิต MicrosisDCN ทั้งหมด 10 ชุด เพื่อนำไปใช้ตามห้องปฏิบัติการณ์เฉพาะทาง จากนั้นจะทำการเก็บติดตามผลว่าคุณสมบัติหรือความสามารถของชุดกล้องนี้มีส่วนใดที่จะต้องปรับปรุงเพิ่มเติมต่อไป ความตั้งใจในการพัฒนานวัตกรรมนี้ไม่ได้จำกัดอยู่ทีการใช้ในห้องปฏิบัติการต่างๆ แต่มองไปถึงการนำไปใช้ในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยซึ่งมีกล้องจุลทรรศน์เดิมที่มีท่อเลนส์ใกล้ตาอยู่แล้ว เพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน หรือในภาวะที่เกิดการระบาดของโรค เช่น ไข้เลือดออก ชุดกล้องตัวนียังสามารถดัดแปลงนำไปใช้งานในการเจาะเลือดจากผู้ป่วยที่อยู่ในชนบทห่างไกล แล้วใช้ชุดกล้องนี้ในการนับจำนวนเกล็ดเลือดเพื่อวิเคราะห์ เพื่อให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์สามารถทำการรักษาได้แบบทันท่วงที
“งานวิจัยในการใช้ AI ในการจับวัตถุหรือ Objective Detection จะมีอยู่ในหลายงานวิจัยทั้งตีพิมพ์ในวารสารหรือว่าสื่อต่างๆ ส่วนใหญ่จะทำในลักษณะของการจับคน วัตถุ สิ่งของ เช่น รถยนต์ อากาศยาน ผมจึงพยายามมองโจทย์ที่ท้าทายมากยิ่งขึ้น ในเบื้องต้นจะมีการทดสอบเปรียบเทียบกันระหว่างการนับโดยมนุษย์และ AIในเรื่องของความแม่นยำ ซึ่งระบบของเรามีความแม่นยำประมาณ 86 % เมื่อต้องนับหลายๆ เซลล์พร้อมกัน แต่ถ้าเป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ชนิดเดียวเช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง ก็จะมีความแม่นยำเกิน 95 % เป้าหมายในอนาคตจะทำให้ AI ตัวนี้สามารถนับเซลล์ได้หลายชนิดมากยิ่งขึ้น และเพิ่มความแม่นยำให้เกิน 90 % ขึ้นไป” ณัทกร กล่าว
ในอนาคต ณัทกร ยังคงสนใจทำงานวิจัยเรื่อง Computer Vision หรือ AI หัวข้องานวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกที่เขากำลังศึกษาเป็นการประยุกต์ใช้ AI เพื่อใช้คาดการณ์หรือพยากรณ์พื้นที่ของโซลาร์เซลล์บนอาคารต่างๆ เพื่อคำนวณว่าในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในแต่ละพื้นที่มีกำลังผลิตพลังงานได้ปริมาณเท่าใด
“งานวิจัยเท่าที่ผมเคยเห็นมาจะทำกันอยู่ในศาสตร์ของตัวเอง แต่งานวิจัยที่จะส่งผลกระทบต่อคนในสังคมได้จริงๆ ควรเป็นงานแบบสหวิทยาการ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ ระบบ และอุปกรณ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมา งานวิจัยที่ดีควรมีพื้นฐานมากจากความต้องการของผู้ใช้และปัญหาที่พบเจอ ไม่ใช่งานที่ทำขึ้นตามความถนัดหรือความสนใจส่วนตัวของผู้ทำวิจัยเพียงอย่างเดียว ซึ่งสุดท้ายแล้วมันอาจจะไม่ตอบโจทย์ต่อสังคมจริงๆ งานวิจัยไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลย แต่อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา” ณัทกรกล่าวทิ้งท้าย
บทความพิเศษ ศศินทร์ จุฬาฯ: ส่องการศึกษาไทยในยุคที่เด็กเกิดน้อย
อธิการบดีจุฬาฯ ชี้อนาคตการศึกษาที่ขับเคลื่อนด้วย AI ความท้าทายของสถาบันอุดมศึกษาที่จะต้องปรับบทบาทใหม่
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ จัดโครงการ “ร่วมใจทำความดี บริจาคโลหิต ต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้