รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
24 สิงหาคม 2563
ข่าวเด่น
“อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างในประเทศไทย”เป็นหนึ่งในธุรกิจหลักที่ส่งผลต่อการเติบโตของ GDP ของประเทศไทย และยังเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้มีอัตราการจ้างงานสูงขึ้น ปัจจุบันบริษัทที่จดทะเบียนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายใต้หมวดหมู่ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างมีทั้งสิ้น 22 บริษัท มูลค่าตลาดโดยรวมของธุรกิจในกลุ่มนี้อยู่ที่ประมาณ 1 แสนล้านบาท กลุ่มลูกค้าแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักคือ กลุ่มงานราชการและงานเอกชน มีสัดส่วนอยู่ที่ 55:45 กลุ่มงานราชการหลักเป็นงานเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ในขณะที่งานเอกชนเป็นการก่อสร้างที่พักอาศัย เช่น คอนโดมิเนียมและบ้านพัก สืบเนื่องจากกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ จากทางรัฐบาล ทำให้โครงการใหญ่ๆ หรือที่เรียกว่าเมกะโปรเจค จะถูกประมูลโดยบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น ในส่วนของบริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดกลางและเล็กจะได้งานจากกลุ่มงานราชการในลักษณะรับเหมาช่วง หรือเป็น subcontract จากบริษัทใหญ่
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ ได้นำเสนอบทความเรื่อง “การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างต่อวิกฤตโควิด-19” สรุปได้ว่า ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้โครงการภาคเอกชนหลายๆ โครงการต้องถูกเลื่อนระยะเวลาการก่อสร้างออกไปอย่างไม่มีกำหนด บางโครงการอาจถูกยกเลิกไป ซึ่งยังไม่ส่งผลที่ชัดเจนมากนักในไตรมาสแรกของปี 2563 เนื่องจากการมียอดรายรับที่ได้ขายหรือถูกจองไปก่อนหน้านี้ รายรับรวมของอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างของไตรมาสแรกอยู่ที่ 34,365 ล้านบาท หรือเติบโต 2% จากปี 2562 ถึงแม้ยอดขายจะไม่แตกต่างจากปีก่อน แต่ในส่วนของกำไรนั้นลดลงมากถึง 828 ล้านบาท หรือคิดเป็นการหดตัวของกำไรถึง 74% เมื่อเทียบกับปี 2562 สาเหตุหลักมาจากผลกระทบ ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากโควิด-19 อาทิ มูลค่าตลาดลดลงอย่างมากเนื่องจากราคาหุ้นในตลาดดิ่งลงอย่างรุนแรงในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม และผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งผลจากการที่โครงการก่อสร้างจะถูกเลื่อนและยกเลิกไปนั้นจะเริ่มเห็นผลชัดเจนในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ถึงไตรมาสแรกของปีหน้า
ผลกระทบหนักที่สุดของอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างคือบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กที่ไปรับเหมาช่วงต่อมาอีกที ซึ่งอาจส่งผลให้บริษัทเหล่านี้ขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรงและทำให้ต้องปิดกิจการลงไปในที่สุด ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดความล่าช้าในการก่อสร้าง โครงการต้องแบกรับต้นทุนทั้งด้านค่าแรง ดอกเบี้ยเงินกู้ และขาดความสามารถที่จะชำระหนี้ในที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วบริษัทรับเหมาก่อสร้างมักจะมีโครงสร้างของเงินทุนที่มาจากการกู้เงินเป็นส่วนใหญ่
ในสหรัฐอเมริกา นายเคน ซิมอนซัน Chief economist ของ AGC ได้ทำการสำรวจผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ต่ออุตสาหกรรมธุรกิจก่อสร้างจำนวน 909 บริษัท พบว่า
28% ได้หยุดโครงการที่กำลังจะก่อสร้างในอนาคต
11% หยุดงานก่อสร้างที่กำลังดำเนินงานอยู่
22% ได้รับการแจ้งว่าผู้รับเหมาย่อยจะขอเลื่อนส่งงานหรือขอยกเลิกงาน
16% ขาดวัสดุก่อสร้าง
8% ได้รับการรายงานผู้ติดเชื้อในคนงานและอาจจะมีการแพร่ระบาดในส่วนหน้างานก่อสร้างได้
สำหรับการบริหารจัดการวิกฤตครั้งนี้ บริษัทธุรกิจก่อสร้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กควรวางแผนเพื่อรองรับผลกระทบและปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ปัญหาหลักที่จะพบคือการยกเลิกหรือยืดระยะเวลาในการก่อสร้างออกไป เพราะการซื้อขายในตลาดอสังหาริมทรัพย์จะมีแนวโน้มลดต่ำลงทั้งในช่วงและหลังวิกฤตโควิด-19 บริษัทควรเตรียมเงินสดเพื่อรักษาสภาพคล่องภายในบริษัทและรักษาการเป็นลูกหนี้ชั้นดี ถ้ากลุ่มธุรกิจก่อสร้างไม่ได้รับการสนับสนุนที่ดีจากภาครัฐ อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง เปรียบเสมือนถูกคลื่นระลอกใหญ่ที่ซัดให้เศรษฐกิจของประเทศไทยต้องตกอยู่ในที่นั่งลำบากอีกครั้ง ซึ่งมีแนวโน้มที่อาจจะหนักกว่าทุกๆ วิกฤตเศรษฐกิจที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ดังนั้นเพื่อความอยู่รอด บริษัทที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
บทความ“การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างต่อวิกฤตโควิด-19” โดย
– ศ.ดร.ศิริมล ตรีพงษ์กรุณา University of Western Australia
– รศ.ดร.พัฒนาพร ฉัตรจุฑามาส Sasin School of Management
– ศ.ดร.ภรศิษฐ์ จิราภรณ์ Pennsylvania State University
– น.ส.นพรัตน์ วงศ์สินหิรัญ Sasin PhD. candidate
– น.ส.ณลินี เด่นเลิศชัยกุล Sasin Ph.D. candidate
สอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติมได้ที่
www.sasin.edu
www.facebook.com/sasinbusinessschool
www.twitter.com/SasinThailand
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
ผศ.ทพ.ดร.ศุภชัย ชื่นจิตรวงษา ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ ได้รับยกย่องเป็นทันตแพทย์ดีเด่น ด้านพัฒนาวิชาชีพ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ เสริมสร้างศักยภาพด้านการบริหารจัดการแก่ผู้บริหาร หลักสูตร The Leader Prospects รุ่นที่ 14
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้