รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 สิงหาคม 2563
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
หนึ่งในนิสิตนักศึกษาซึ่งกระทรวงศึกษาธิการประกาศเกียรติคุณให้ได้รับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2562 มีชื่อของปาณิสรา อารยะถาวร หรือน้องวัน นิสิตนักกิจกรรมคนเก่งจากรั้วจามจุรี ซึ่งเคยทำหน้าที่ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 73 เธอเป็นความภูมิใจของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะนิสิตผู้มีความประพฤติดี เป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเยาวชน เปี่ยมด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและทำกิจกรรมทั้งด้านวิชาการ กีฬา ศิลปวัฒนธรรม และจิตอาสาเข้าร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือสังคม ปัจจุบันน้องวันสำเร็จการศึกษาเป็นบัณฑิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ และจะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในวันที่ 1 ตุลาคมนี้
ตลอดระยะเวลา 4 ปีในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปาณิสราเรียนรู้ประสบการณ์อันมีค่าจากการทำหลากหลายกิจกรรมทั้งในคณะและมหาวิทยาลัย ซึ่งทำให้เธอเติบโตและพัฒนาตนเองในหลายด้าน รวมทั้งได้ทำประโยชน์เพื่อสังคม ซึ่งเป็นโอกาสให้เธอได้พัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญ ด้วยบุคลิกภาพและความสามารถอันโดดเด่น ทำให้เธอได้รับคัดเลือกเป็นพิธีกรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (MC of Chula) ภาคพิธีการ รุ่นที่ 3 คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันโต้วาทีอุดมศึกษา ระดับประเทศ ได้รับโล่พระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งที่ 23 และล่าสุด รางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2562
ปาณิสรา กล่าวว่า “รางวัลนี้เป็นหนึ่งในรางวัลอันทรงเกียรติครั้งหนึ่งในชีวิต รู้สึกภาคภูมิใจและเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับคัดเลือกให้รับรางวัลนี้ วันคิดว่าส่วนสำคัญที่ทำให้วันได้รับรางวัลนี้คือทุกๆ คนที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ขอบคุณครอบครัว ครูอาจารย์ทุกท่าน เพื่อนๆ และพี่น้องชาวจุฬาฯ ทุกคนที่ช่วยเหลือ สนับสนุน ให้โอกาส เป็นกำลังใจ และได้เข้ามาเติมเต็มให้กลายเป็นวันในวันนี้”
“Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever” ทำทุกวันให้เหมือนเป็นวันสุดท้ายของชีวิต คือคติประจำใจของปาณิสราที่เป็นแรงผลักดันให้เธอใช้ชีวิตให้คุ้มค่าที่สุด เพื่อที่จะได้ไม่เสียใจและเสียดายในภายหลัง รวมถึงการทำตัวเป็นน้ำไม่เต็มแก้ว พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ
“คนเราสามารถเติบโตและพัฒนาไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทุกวันสามารถเป็นบทเรียนที่ดีที่ทำให้เราเป็นคนที่ดีขึ้นในทุกๆ วันได้” ปาณิสรา กล่าว
“แผนในอนาคตหลังจากจบการศึกษา วันมีความฝันอยากเป็นผู้พิพากษา เพื่อจะได้เป็นฟันเฟืองหนึ่งในการช่วยเหลือสังคมต่อไป หลังจากนี้จะต้องเตรียมตัวสำหรับการสอบเนติบัณฑิต รวมทั้งตั้งใจจะศึกษาต่อเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ชีวิตทั้งทางด้านวิชาการและการทำงานด้านกฎหมาย” ปาณิสสรา กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับรางวัลพระราชทานเป็นรางวัลที่กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2506 ตามพระราชปรารภของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงให้ความสำคัญกับการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรางวัลให้แก่ผู้ที่มีความประพฤติดีและมีความมานะพยายามศึกษาเล่าเรียนจนได้ผลการเรียนดี รวมทั้งสถานศึกษาที่จัดการศึกษาดีจนผู้เรียนได้รับผลการเรียนดีเป็นส่วนรวม สำหรับนิสิตนักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกต้องมีคุณลักษณะพื้นฐานด้านการศึกษาเล่าเรียน การจัดการและการทำงาน สุขภาพอนามัย ความประพฤติ คุณธรรม จริยธรรม การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม และมีกิจกรรมและผลงานดีเด่น เพื่อรับรางวัลพระราชทานพร้อมเกียรติบัตร และเข็มเชิดชูเกียรติ
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้