รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 สิงหาคม 2563
ข่าวเด่น
จากปัญหาข้อขัดแย้งในด้านความเห็นทางการเมืองที่เกิดขึ้น ศาสตราจารย์ (กิตติคุณ) สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเห็นความสำคัญของการคลี่คลายปมเงื่อนของความแตกต่างขัดแย้งด้วยหลักความบริสุทธิ์ใจและใช้ข้อมูลความรู้ในการแก้ปัญหาโดยอยู่บนพื้นฐานความรับผิดชอบต่อสังคม โดยตระหนักว่าปัจจุบันสังคมไทยเผชิญกับสิ่งท้าทายรอบด้าน ดังนั้นจึงต้องการให้การทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยมีส่วนช่วยในการตอบโจทย์ของสังคมและสาธารณะโดยสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและหลักนิติธรรม ทั้งนี้จากการประชุมเพื่อหาแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมการแสดงออกและการใช้สิทธิเสรีภาพของชาวจุฬาฯ ได้ข้อสรุปเชิงหลักการว่า
2. ความขัดแย้งไม่ใช่ปัญหาแต่ประเด็นปัญหาคือ การทำให้ความแตกต่างขัดแย้งกลายเป็นความรุนแรง ดังนั้นการแก้ไขจึงไม่ควรอาศัยแต่เครื่องมืออำนาจและระเบียบบังคับแต่อย่างเดียว หากต้องใช้เครื่องมือที่สามารถเพิ่มพูนสมรรถภาพในการแก้ปัญหาร่วมกัน
3. การตัดสินกันด้วยความชอบ-ไม่ชอบเพราะคิดเห็นต่างกันและการสร้างความเกลียดชังต่อกัน สามารถเป็นปัจจัยทำให้เกิดความรุนแรงและนำสังคมไปสู่ทางตันได้ ดังนั้นต้องคลี่คลายปมความเห็นต่างด้วยการขยายความรู้ความเข้าใจร่วมกัน การพิจารณาประเด็น เช่น ช่องว่างระหว่างรุ่นอายุและความแตกต่างในการให้คุณค่านั้นจำต้องใช้วิชาการรวมถึงสหวิชาการจึงจะสามารถคลี่คลายปมปัญหาได้
ในส่วนของแนวทางการดำเนินการอาจแบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้
ระยะสั้น การสร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจในการแลกเปลี่ยนเพื่ออนาคตด้วยบรรยากาศเปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็นและหารือกันเกี่ยวกับกติกาและเสรีภาพในการแสดงออกในมหาวิทยาลัยจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งคณาจารย์ นิสิตและนิสิตเก่าในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น เวทีเสวนา การระดมความคิด ฯลฯ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยจะให้การสนับสนุนพื้นที่และดูแลความปลอดภัยอย่างเต็มที่ นอกจากนั้นยังสนับสนุนให้มีรายวิชาศึกษาทั่วไปใหม่ๆ เช่นวิชาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบในโลกยุคดิจิทัลด้วย
ระยะกลาง สนับสนุนโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมกำหนดควบคุมดูแลกันเองและส่งเสริมการศึกษาวิจัยแบบสหสาขาวิชาหัวเรื่องใหม่ๆ เช่นเสรีภาพและความรับผิดชอบในโลกแห่งความเสี่ยง พลังหนุ่มสาว(youthquake)เพื่อการเปลี่ยนแปลงอนาคต ช่องว่างระหว่างรุ่นอายุ(generation gaps)กับพลังสังคมยุคดิจิทัลแล้วนำผลจากการวิจัยมาบูรณาการในการเรียนการสอนและกิจกรรมไปด้วย
สำหรับในระยะยาว อนาคตประเทศชาติย่อมขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ทางสังคมในท่ามกลางการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยไม่ใช้ความรุนแรง จุฬาฯ จึงเห็นความสำคัญในการขับเคลื่อนหาทางออกสังคมโดยร่วมสร้างความรู้ที่เหมาะสมและสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหาความขัดแย้งและเพิ่มสรรถนะในการทำความเข้าใจความคิดที่หลากหลาย
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ (กิตติคุณ) สุริชัย หวันแก้ว ซึ่งเคยทำหน้าที่ในคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติเพื่อแก้ปัญหาเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้ และเป็นผู้เชี่ยวชาญประเด็นด้านสังคม เช่น การพัฒนาคนชายขอบ และโลกาภิวัตน์ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่าภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอนดังปรากฏในกรณีโรคระบาดโควิด-19 นี้ จุฬาฯ จะเร่งดำเนินการต่างๆ เพื่อมุ่งสู่การสร้างพื้นที่ในการร่วมสร้างความรู้และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเรียนรู้ทางสังคม เพื่อการตอบโจทย์ร่วมกัน
นิสิต BBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารองชนะเลิศอันดับ 1 การแข่งขัน Alberta International Business Competition 2024 ที่แคนาดา
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขันแผนการตลาดระดับอุดมศึกษา J-MAT AWARD ครั้งที่ 33
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้