รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 กันยายน 2563
ข่าวเด่น
ปัจจุบันกระบวนการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนเป็นการเรียนในรูปแบบออนไลน์ซึ่งเป็นความท้าทายของมหาวิทยาลัยในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยส่งเสริมการเรียนรู้ของนิสิตโดยจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ในรายวิชาต่างๆ รวมถึงในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (General Education) ซึ่งมีการเปิดรายวิชาต่างๆ ให้นิสิตได้เลือกเรียนตามความสนใจและตอบโจทย์ความรู้ที่จำเป็น
ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ รองอธิการบดี ด้านวิชาการและการเชื่อมโยงกับสังคม จุฬาฯ เปิดเผยว่ารายวิชาศึกษาทั่วไป หรือ GenEd มุ่งสร้างโอกาสให้นิสิตได้เรียนวิชาต่างๆ นอกเหนือไปจากศาสตร์ที่เรียนอยู่ในคณะ สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ แบ่งกลุ่มวิชาออกเป็น 7 ทักษะ ประกอบด้วย ทักษะการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สุขภาพกายและสุขภาพจิต นันทนาการและการท่องเที่ยว การเตรียมพร้อมสู่การทำงาน การดำเนินชีวิตประจำวัน ความเป็นไทย และการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึงกลุ่มวิชาสำหรับศตวรรษที่ 21 และกลุ่มวิชา Next GenEd วิชาศึกษาทั่วไปจึงเป็น สหวิทยาการทั้งรายวิชาและผู้เรียนที่มาจากหลากหลายคณะ ตอบโจทย์ “เรียนให้รู้ ดูให้เป็น เน้นการพัฒนา” ทำให้นิสิตมีความรู้เท่าทัน เกิดทักษะชีวิต และการเข้าใจโลกในมุมมองที่ต่างออกไป นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเสริมหลักสูตรการศึกษาทั่วไประยะสั้น CUVIP สำหรับนิสิตจุฬาฯ นิสิตเก่า คณาจารย์และบุคลากรจุฬาฯ ใช้เวลาเรียนเพียง 2-3 ชั่วโมง มีแบบฝึกหัดทดสอบและเมื่อเรียนจบจะได้รับใบประกาศนียบัตร ในอนาคตมีโครงการที่จะเปิดให้ผู้ที่สนใจทั่วไปได้เข้าเรียนได้ด้วย
ศ.ดร.ปาริชาตกล่าวต่อไปว่า ในภาคการศึกษานี้จุฬาฯ ได้เปิดสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปวิชาใหม่จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ชื่อวิชา “เสรีภาพในการชุมนุมกับกฎหมาย” เพื่อให้ความรู้ในประเด็นที่นิสิตนักศึกษากำลังตื่นตัว นั่นคือความสนใจในมิติของสังคมและการเมือง นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกโดยไม่ละเมิดเสรีภาพของคนอื่น ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานภายใต้รัฐธรรมนูญ ผู้เรียนจะเข้าใจในหน้าที่และคุณค่าของเสรีภาพในการชุมนุมในสังคมประชาธิปไตย มาตรฐานสากลในการจัดการชุมนุมในที่สาธารณะ การดูแลฝูงชน ฯลฯ ในอนาคตอาจจะมีการเพิ่มรายวิชานี้ในหลักสูตร CUVIP เพื่อเพิ่มพื้นที่ในเชิงวิชาการให้คนทั้งในวัยผู้ใหญ่และเด็กได้เรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม
อ.ดร.พัชร์ นิยมศิลป คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ อาจารย์ผู้สอนรายวิชา“เสรีภาพในการชุมนุมกับกฎหมาย” เปิดเผยว่า วิชานี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณค่าของเสรีภาพในการชุมนุม มาตรฐานสากลในการดูแลการชุมนุมสาธารณะ โครงสร้างกฎหมายการชุมนุมสาธารณะที่ใช้ในประเทศไทย สอดแทรกในเรื่องหลักกฎหมายมหาชน กฎหมายรัฐธรรมนูญที่วางกรอบในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของคนไทย เปรียบเทียบให้เห็นภาพในหลักสากลของการชุมนุมสาธารณะที่ใช้ในประเทศเสรีประชาธิปไตยกับประเทศที่ไม่ใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เสรีภาพในการชุมนุมกับกลไกทางการเมือง ซึ่งในระบอบประชาธิปไตย การแสดงความคิดเห็นผ่านการชุมนุมสาธารณะเป็นกลไกอย่างหนึ่งซึ่งไม่ใช่ความรุนแรงเสมอไป
“วิชานี้ถือเป็นวิชาใหม่ที่จุฬาฯ เปิดสอนเป็นที่แรก มีจุดประสงค์เพื่อให้นิสิตที่จะไปเป็นกำลังสำคัญของสังคมไทยในอนาคตรู้ถึงกติกาสากล และใช้เสรีภาพได้ตรงกับมาตรฐานสากล วิชานี้ได้รับความสนใจจากนิสิตลงทะเบียนเรียนจนครบจำนวนอย่างรวดเร็ว ผู้เรียนมาจากหลากหลายคณะทั้งสายสังคมศาสตร์และสายวิทยาศาสตร์ โดยเรียนผ่านระบบออนไลน์ มีการบรรยายและมีตัวอย่างให้นิสิตคิดวิเคราะห์ และอภิปราย นอกจากวิชา “เสรีภาพในการชุมนุมกับกฎหมาย” ซึ่งเป็นวิชาศึกษาทั่วไปแล้ว ยังมีวิชา“กฎหมายการชุมนุมสาธารณะ” ซึ่งเป็นวิชาเรียนของคณะนิติศาสตร์ที่ผมเป็นผู้สอนอีกด้วย” อ.ดร.พัชร์ กล่าวในที่สุด
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้