รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 กันยายน 2563
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม, ภาพข่าว
“หน้ากากอนามัย N95” มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อก่อโรคต่างๆ ได้ดีกว่าหน้ากากประเภทอื่น การขาดแคลนหน้ากากอนามัย N95 ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ร่วมกับภาคเอกชน (กลุ่มบริษัท KIJ Marketing จำกัด) ได้จัดงานแถลงข่าว “นวัตกรรมจุฬาฯ พัฒนาหน้ากาก N95” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน 2563 ณ ห้องเธียเตอร์ ชั้น 1 อาคารหอสมุดคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ร่วมแถลงข่าวประกอบด้วย ศ.นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ นายชานนทร์ เนียมก้องกิจ และนายรัฐฐา วัธนะชัย กลุ่มบริษัท KIJ Marketing จำกัด ผศ.ดร.รัฐพล รังกุพันธุ์ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ นำโดย ศ.นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ และ นพ.มาร์วิน เทพโสพรรณ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ และ อาจารย์ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ ร่วมกับ รศ.ดร.บุญรัตน์ โล่วงศ์วัฒน ภาควิชาวิศวกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผศ.ดร.รัฐพล รังกุพันธุ์ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ นายชานนทร์ เนียมก้องกิจ และนายรัฐฐา วัธนะชัย ผู้แทนกลุ่มบริษัท KIJ Marketing จำกัด ได้พัฒนาหน้ากากอนามัย N95 (N95 Respirator) เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการสำหรับทางการแพทย์และใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นหน้ากากอนามัย N95 ชนิดขึ้นรูปที่มีการปรับปรุงเทคนิคการผลิตเพื่อเพิ่มคุณสมบัติการสะท้อนน้ำและเพิ่มความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบนพื้นผิวของหน้ากากอนามัย N95 ตัวหน้ากากถูกออกแบบให้ผู้สวมใส่หายใจได้สะดวกขึ้นและพื้นผิวสัมผัสของหน้ากากช่วยลดการระคายเคืองต่อผิวหน้า
ผลิตภัณฑ์ต้นแบบหน้ากากอนามัย N95 ที่พัฒนาขึ้น ได้ผ่านการทดสอบการรับรองมาตรฐานของหน้ากากอนามัยเบื้องต้นแล้ว ได้แก่ ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาดเล็ก จากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ประสิทธิภาพการกรองเชื้อแบคทีเรีย จากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การทดสอบการแนบสนิทของหน้ากากกับใบหน้าจากหน่วยควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย การผ่านได้ของอากาศและการกระจายของเปลวไฟ จากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ทั้งนี้หน้ากากอนามัย N95 นี้ ยังคงต้องได้รับการพัฒนาต่อยอดเพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองในการผลิตหน้ากากอนามัย N95 ให้มีคุณสมบัติที่ดีในราคาที่เหมาะสม ลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย N95 ในระยะยาว ลดการนำเข้าหน้ากากอนามัยจากต่างประเทศ
ทางศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และสภากาชาดไทย ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมโครงการ “Mask for unmask” เพื่อสั่งซื้อหน้ากากอนามัย N95 ชิ้นละ 50 บาท ทุกการสั่งซื้อ 1 ชิ้น จะได้รับสิทธิ์ส่งต่อหน้ากากอนามัยอีก 1 ชิ้น เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ ที่อยู่เขตแดนไทย-พม่า รวม 10 จังหวัด โดยจะเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2563 เป็นต้นไป ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ไลน์ @ https://lin.ee/Jk3OomL
ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โทร. 0-2649-4000 ต่อ 3686 E-mail: cmic.chula@gmail.com
จุฬาฯ ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 12 เครือข่ายพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกระดับขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคมของจุฬาฯ
นิสิตเก่าศศินทร์ พลิกโฉมธุรกิจรับสร้างบ้าน เน้นนวัตกรรมเพื่ออยู่อาศัยอย่างยั่งยืน”
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศเจตนารมณ์ “No Gift Policy” มุ่งเสริมธรรมาภิบาล ต่อต้านการทุจริต
จุฬาฯ จับมือ ม.มหิดล “Together for Sustainable Tomorrow” ลงนามความร่วมมือทางวิชาการและจัดกิจกรรมเพื่อความยั่งยืน
สถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ ชวนร่วม โครงการ “Interactive Training and Gaming Simulation for Green Transition”
จุฬา และ สสว.ลงนามความร่วมมือทางวิชาการภายใต้โครงการ “One Click”นำ AI ยกระดับ SMEs เข้าถึงสินเชื่อสีเขียวในคลิกเดียว
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้