รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
14 กันยายน 2563
ข่าวเด่น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกำหนดจัดพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2562 ในวันพฤหัสบดีที่ 1 และวันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม 2563 โดยมหาวิทยาลัยได้กำหนดการเปิด – ปิดประตู เส้นทางเดินรถและเส้นทางคนเดินภายในมหาวิทยาลัย รวมถึงดำเนินมาตรการความปลอดภัยจากสถานการณ์ COVID-19 โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประตูจุฬาฯ ที่เปิดให้รถยนต์ผ่านเข้าออกได้
ถนนอังรีดูนังต์
– ประตูคณะรัฐศาสตร์ รถยนต์ทั่วไปสามารถเข้าอาคารจอดรถได้ ส่วนรถที่จะผ่านเข้ามาภายในบริเวณของมหาวิทยาลัย ต้องมีตราอนุญาตของพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเท่านั้น รถของบุคลากรที่มีตราติดรถยนต์ให้จอดที่อาคารจอดรถเท่านั้น
– ประตูอาคารจอดรถ 2 (ข้างอาคารมหาจักรีสิรินธร) รถยนต์ทั่วไปและรถบุคลากรที่มีตราติดรถยนต์ สามารถขึ้นอาคารจอดรถได้ทางด้านถนนอังรีดูนังต์
ถนนพญาไท
– ประตูหน้ามหาวิทยาลัยอนุญาตให้ผ่านเข้าได้เฉพาะรถยนต์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัย และรถของบุคคลสำคัญที่มีบัตรเชิญเท่านั้น กรณีที่ใกล้เวลาเสด็จฯ ให้ใช้ประตูชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์แล้วขับย้อนขึ้นไปทางด้านหอนาฬิกา
ฝั่งสำนักงานมหาวิทยาลัย
– ประตูธรรมสถาน อนุญาตเฉพาะรถยนต์ที่มีตราติดรถยนต์ของมหาวิทยาลัย ผู้ที่แสดงบัตรบุคลากร บัตรผู้ปฏิบัติงานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ส่วนรถจักรยานยนต์ อนุญาตเฉพาะรถของบุคลากรและนิสิต โดยต้องแสดงบัตรประจำตัว รถทุกชนิดที่ผ่านจะมีการวัดอุณหภูมิ ณ บริเวณจุดคัดกรอง ส่วนรถจักรยานยนต์ที่มาติดต่องานอื่นๆ หรือส่งของภายในมหาวิทยาลัย แนะนำให้จอดด้านนอกแล้วเดินเข้าผ่านจุดคัดกรอง
– ประตูอาคารจอดรถ 1 (อาคารจามจุรี 9) รถยนต์ทั่วไปและรถของบุคลากรสามารถขึ้นลานจอดได้ทางด้านจุฬาฯ ซอย 42 แล้วเดินเข้ามหาวิทยาลัยทางด้านหลังอาคาร
– อาคารจอดรถจุฬาพัฒน์ 14 รถยนต์ทั่วไปและรถของบุคลากรสามารถขึ้นลานจอดได้
เส้นทางคนเดินฝั่งหอประชุมจุฬาฯ
สามารถใช้ประตูคณะวิทยาศาสตร์ (อาคารชีววิทยา 1) ประตูคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ประตูทางด้านอาคารจัตุรัสจามจุรี (ทางเชื่อมกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี) ประตูคณะรัฐศาสตร์ และประตูคณะอักษรศาสตร์
เส้นทางคนเดินฝั่งสำนักงานมหาวิทยาลัย
สามารถใช้ประตูทางเข้าหน้าอาคารจามจุรี 5 ประตูหอพักนิสิต ประตูศศินทร์ ประตูธรมสถาน และประตูคณะนิติศาสตร์
มาตรการความปลอดภัยในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2562
มหาวิทยาลัยจะจัดระเบียบและจัดการคัดกรองผู้ที่เข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตร โดยจะมีการตั้งจุดตรวจคัดกรองประจำจุดที่มหาวิทยาลัยกำหนด และจะมีการติดสติ๊กเกอร์พิเศษเฉพาะพิธีพระราชทานปริญญาบัตรทั้ง 2 วัน ตลอดจนมีนิสิตจิตอาสา เดินประชาสัมพันธ์และให้บริการเจลแอลกอฮอล์สำหรับล้างมือในบริเวณงาน ส่วนในกรณีที่บัณฑิต และผู้ร่วมงานมีอุณหภูมิสูงเกิน 37 องศาเซลเซียส ทีมแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาอนุญาตให้เข้าร่วมงานได้หรือไม่
ตามจุดผ่านเข้าออกที่มหาวิทยาลัยกำหนด จะมีเครื่องสแกน มีช่องทางพิเศษสำหรับบัณฑิตและผู้ปฏิบัติหน้าที่ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรทุกประตู มีเต็นท์กันฝน มีเจ้าหน้าที่สำนักบริหารระบบกายภาพ ศูนย์บริหารสุขภาพแห่งจุฬาฯ และศูนย์รักษาความปลอดภัยและจัดการจราจรแห่งจุฬาฯ คอยอำนวยความสะดวก
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรทั้งสองวัน มหาวิทยาลัยจัดรถโดยสารภายในมหาวิทยาลัย (รถ Shuttle Bus) ให้บริการเฉพาะสาย 1 และสาย 2 ตั้งแต่เวลา 06.00 – 20.00 น.โดยจะเปิดให้บริการบริเวณรอบนอกมหาวิทยาลัย และบริการภายในฝั่งสำนักงานมหาวิทยาลัยด้วย https://www.chula.ac.th/news/33920/
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้