รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
30 กันยายน 2563
ข่าวเด่น
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อบนปริญญาบัตรด้วยการฉายรังสีเอกซ์ ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการทำความสะอาดปริญญาบัตร เพื่อสร้างความมั่นใจ เตรียมความพร้อมตามมาตรการป้องกันและลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และกำจัดจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค
การฆ่าเชื้อบนปริญญาบัตรด้วยการฉายรังสีเอกซ์เป็นความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยสำนักงานการทะเบียน จุฬาฯ M3D Laboratory คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ และ บริษัท เมติคูลี่ จำกัด โดยการนำปริญญาบัตรทั้งหมดบรรจุในกล่อง ลำเลียงบนสายพานเข้าไปฆ่าเชื้อด้วยรังสีเอกซ์ที่สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ รังสีเอกซ์เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูง สามารถทะลุผ่านสิ่งกีดขวางที่มีความหนาได้ วิธีการหนึ่งในการทำให้เกิดรังสีเอกซ์คือ การเร่งให้อิเล็กตรอนมีความเร็วสูงแล้วไปกระทบกับเป้า ทำให้รังสีเอกซ์ถูกปลดปล่อยออกมา การฉายรังสีเอกซ์ในปริมาณรังสีดูดกลืนที่เหมาะสม (10 kGy) สามารถทำลายเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ เนื่องจากพลังงานของรังสีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพในสารพันธุกรรมของเชื้อโรค การฉายรังสีเอกซ์เป็นกระบวนการฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดการตกค้าง เป็นกระบวนการที่เสร็จสิ้นในขั้นตอนเดียว
คุณทอลาภ สิทธิวณิชย์ และคุณสุกัญญา โพธิวิพุฒ นักวิจัย ภายใต้การดูแลของ รองศาตราจารย์ ดร. บุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน หัวหน้าห้องปฎิบัติการ M3D Laboratory คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า รังสีเอกซ์มีความสามารถในการทำลายสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่ก่อโรคได้ การฆ่าเชื้อด้วยการฉายรังสีเอกซ์โดยทั่วไปใช้ในการทำความสะอาดเครื่องมือทางการแพทย์ให้ปลอดเชื้อและยืดอายุการเก็บรักษาของอาหารเพื่อการส่งออกได้ ซึ่งในการฉายรังสีเพื่อฆ่าเชื้อปริญญาบัตรในครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณนงค์นุช แจ้งสว่าง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาและบริการศูนย์ฉายรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ในการให้บริการฉายรังสี และให้คำปรึกษาในการใช้ค่าปริมาณดูดกลืนรังสีที่เหมาะสม อยู่ในระดับที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ และไม่ก่อให้เกิดกัมมันตรังสีตกค้าง
ทางทีมวิจัยได้ทำการทดสอบเพื่อยืนยันประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อด้วยการฉายรังสีเอกซ์ในแบคทีเรียเทียบเคียงที่มีความทนทานต่อรังสีมากกว่าเชื้อไวรัส COVID-19 พบว่ารังสีเอกซ์มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้อย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ทีมวิจัยได้ทำการทดสอบผลกระทบของการฉายรังสีในด้านการเปลี่ยนแปลงของสีกระดาษและหมึกพิมพ์ของปริญญาบัตรด้วยเทคนิค CIE L*a*b จากการทดสอบพบว่าการฉายรังสีส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าสีเพียงเล็กน้อย ไม่สามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตาเปล่า ดังนั้นจึงยืนยันได้ว่าการฉายรังสีเอกซ์มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้อย่างสมบูรณ์ มีความปลอดภัย และไม่กระทบต่อคุณภาพสีและหมึกของใบปริญญาบัตร
จุฬาฯ ย้อมสยามเป็นสีชมพู ใน “CHULA BAKA BEGINS” พร้อมลั่นกลองศึกบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 75 สุดยิ่งใหญ่
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ “เทคนิคพื้นฐานสำหรับการเจรจาต่อรอง รุ่นที่ 4″
22 มี.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ห้อง 614 ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ เปิดรับสมัครนิสิตปริญญาโทครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ประจำปี 2568
คอร์สเรียน CUVIP เดือนกุมภาพันธ์ “Lesson of Love บทเรียนรัก พิทักษ์ความสัมพันธ์”
4-18 ก.พ. 68
ศศินทร์จัด Open House วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568
15 ก.พ. 68 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญชวนนิสิตจุฬาฯ ร่วมประเมินการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille ระบบตรีภาค
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้