รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
1 ตุลาคม 2563
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.) หรือ SHECU (Center for Safety, Health and Environment of Chulalongkorn University) ได้จัดประชุมชี้แจงแนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2563 ให้แก่ผู้บริหารและผู้ฏิบัติงานด้านความปลอดภัยฯ ของส่วนงานต่างๆ ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อชี้แจงรายละเอียดในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันพุธที่ 30 กันยายน 2563 ณ ห้องประชุมห้อง 801 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (จามจุรี 10) โดยมี ศ.ดร.พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านวิจัย ผู้แทนรองอธิการบดีฝ่ายวิจัย กำกับดูแลงานศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงฯ ในครั้งนี้
ในโอกาสนี้ ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยฯ จุฬาฯ และรองคณบดี (ฝ่ายวิจัย) คณะวิทยาศาสตร์ แถลงนโยบาย กลยุทธ์ และแนวทางการบริหารจัดการความปลอดภัยฯ รวมไปถึงโครงสร้างการขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของจุฬาฯ โดยภาพรวมของศูนย์ความปลอดภัยฯ รศ.พญ.ดร.กนิษฐา ภัทรกุล และ น.ส.วันวิสา สุดสมัย คณะกรรมการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพของจุฬาฯ นำเสนอรายละเอียดแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพให้กับส่วนงานภายในจุฬาฯ ได้ทราบถึงขอบเขตและวิธีการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวกับเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ ตาม พ.ร.บ.เชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ.2558 รวมถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงานด้านชีวภาพอื่นๆ รศ.ดร.วราพรรณ ด่านอุตรา ดร.ขวัญนภัส สรโชติ และ ดร.วรลักษณ์ มั่นสวัสดิ์ คณะกรรมการความปลอดภัยด้านเคมี จุฬาฯ ร่วมนำเสนอรายละเอียดแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยด้านเคมี ให้กับส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องได้มีการบริหารจัดการและดำเนินงานในห้องปฏิบัติการทางเคมี เพื่อความปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัย รศ.ดร.สัญชัย นิลสุวรรณโฆษิต และ น.ส.ธมลวรรณ หิรัญสถิตย์พร คณะกรรมการความปลอดภัยด้านรังสี จุฬาฯ ชี้แจงรายละเอียดแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยด้านรังสี ในส่วนงานที่มีการครอบครองหรือใช้เกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์และเครื่องกำเนิดรังสี เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยและไปตามที่กฎหมายกำหนด
ในตอนท้าย ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ และ น.ส.จุฑามาศ ทรัพย์ประดิษฐ์ ศูนย์ความปลอดภัยฯ นำเสนอรายละเอียดแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่มีความเกี่ยวข้องชีวิตประจำวันของนิสิต บุคลากร ทุกส่วนงานภายในจุฬาฯ
ทั้งนี้ศูนย์ความปลอดภัยฯ ได้จัดทำการเผยแพร่แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยฯ ในรูปแบบ infographic สื่อสารไปยังส่วนงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างมาตรฐานในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยฯ ไปในทิศทางเดียวกัน ได้แก่ แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยฯ และแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยอีก 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน 2) แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยด้านเคมี 3) แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ และ 4) แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยด้านรังสี เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ZERO ACCIDENT ตามนโยบายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของแนวปฏิบัติได้ที่ https://bit.ly/announceSHEChula
อธิการบดีจุฬาฯ ชี้อนาคตการศึกษาที่ขับเคลื่อนด้วย AI ความท้าทายของสถาบันอุดมศึกษาที่จะต้องปรับบทบาทใหม่
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ จัดโครงการ “ร่วมใจทำความดี บริจาคโลหิต ต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้