รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 ตุลาคม 2563
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) พร้อมจัดงาน“ปิยมหาราชานุสรณ์ 2563” ชูปณิธานแห่งการให้ที่ยิ่งใหญ่ภายใต้คอนเซปต์ “ก้าวสู่ปีที่ 104 ปี จุฬาฯ : เกียรติภูมิจุฬาฯ คือ เกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน” น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เตรียมจัดกิจกรรมยิ่งใหญ่ตลอดเดือน ตุลาคม เพื่อเชื่อมเกียรติภูมิจุฬาฯ สู่สังคมไทยยุค New Normal
เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชปูถัมภ์ (สนจ.) โดย นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ พร้อมด้วย ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และนางนวลพรรณ ล่ำซำ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ ประจำปี 2563 ร่วมด้วยนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันเข้าร่วมงานแถลงข่าวจัดงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2563” ก้าวสู่ปีที่ 104 ปี จุฬาฯ : เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมเชิดชูปณิธานแห่งการให้เพื่อสังคมอย่างแท้จริงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาของชาวจุฬาฯ ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย เชิญชวนคนไทยร่วมบริจาคสมทบทุนจุฬาสงเคราะห์ ทุนอาหารกลางวันให้แก่นิสิตที่ประพฤติดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมขับเคลื่อนสังคมไทย
นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ กล่าวว่า วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ได้จัดงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์” ขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งนอกจากจะมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและเทิดพระเกียรติสมเด็จพระปิยมหาราชให้แผ่ขจรไปทั่วทุกสารทิศแล้ว ยังได้ใช้โอกาสนี้เชิญชวนให้ผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายร่วมกันสมทบทุนจุฬาสงเคราะห์และทุนอาหารกลางวันสำหรับนิสิตผู้มีความประพฤติดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปีนี้ขณะที่ทั่วทั้งโลกต่างกำลังประสบกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างรุนแรง สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะการสนับสนุนทีมสตาร์ทอัพที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบ่มเพาะ พัฒนานวัตกรรม และต่อยอดให้สามารถเร่งนำมาใช้ดูแลคนไทยในวิกฤตินี้เป็นที่ประจักษ์ อาทิ หุ่นยนต์ในชุด CU RoboCOVID นับร้อยตัวที่ได้ส่งมอบให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ นับเป็นการแสดงความสำนึกในเกียรติภูมิจุฬาฯ ที่ได้รับใช้ประชาชน และขอใช้โอกาสนี้ที่คนไทยจะได้ร่วมรำลึกถึงองค์สมเด็จพระผู้พระราชกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชิญชวนให้ร่วมกันสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมจุฬาฯ ดูแลคนไทย ใช้ขับเคลื่อนสังคมและประเทศชาติให้พลิกฟื้นกลับมาเข้มแข็งได้อีกครั้งต่อไป
ด้าน ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า เป็นเวลากว่าศตวรรษที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังคงแน่วแน่สืบสานพระราชปณิธานทางด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาอย่างต่อเนื่อง จวบจนในศตวรรษที่ 2 เราได้ต่อยอดและวางแนวทางขับเคลื่อนจุฬาฯ ไว้ 3 ด้าน คือ Future Leaders, Impactful Research and Innovation และ Sustainability ภายใต้วิสัยทัศน์ ‘Chula Innovations for Society’ นวัตกรรมจุฬาฯ ขับเคลื่อนสังคม เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มีจิตสำนึก รู้คุณแผ่นดิน เราได้ให้คำปรึกษาตลอดจนคำแนะนำในการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยแก่นิสิต ขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นิสิตทุกระดับ สร้าง บ่มเพาะ และนำทักษะ องค์ความรู้ออกไปช่วยเหลือและพัฒนาสังคมในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ประเทศกำลังประสบกับวิกฤติ นวัตกรรมจากชาวจุฬาฯ มากมายได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญช่วยรับมือแก้ปัญหาและเป็นทางออกให้สังคมมาอย่างต่อเนื่อง
นางนวลพรรณ ล่ำซำ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ ประจำปี 2563 กล่าวว่า คณะกรรมการดำเนินงานปิยมหาราชานุสรณ์ 2563 มีมติจัดงานในรูปแบบใหม่บนโลกออนไลน์ให้สอดคล้องกับความเป็นไปของสังคมในบรรทัดฐานใหม่ หรือ New Normal ที่ทุกคนยังสามารถร่วมงานได้ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ตลอดเดือนตุลาคมนี้ ในช่องทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ Chulalongkorn University และ Chula Alumni รวม 5 กิจกรรมสำคัญ ได้แก่
1) จัดทำเพลงพิเศษประจำงาน โดยอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ “ความฝันอันสูงสุด” มาขับร้องใหม่โดยศิลปินน้องพี่จุฬาฯ 16 ท่าน นำโดย ตูน อาทิวราห์ คงมาลัย
2) รับบริจาคโลหิตหนึ่งล้านหยด ถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันปิยมหาราช
3) รับบริจาคออนไลน์ “104 บาท ก้าวสู่ 104 ปีจุฬาฯ Less is More น้อยแต่มาก”
4) รายการดิจิทัล The Exclusive Online Forum “เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน” ในวันที่ 23 ตุลาคม 2563 เวลา 08.00-17.00 น. สร้างแรงบันดาลใจให้คนไทย น้อมนำไปร่วมขับเคลื่อนประเทศมุ่งสู่อนาคต โดยเหล่า CU Future Leader นิสิตเก่าจุฬาฯ ผู้ขับเคลื่อนสังคมด้วยใจจุฬาฯ ทั้ง 16 ท่าน อาทิ คุณขัตติยา อินทรวิชัย CEO Kbank นพ.ดร.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล แพทย์ผู้วิจัยยารักษาโรคมะเร็งเพื่อคนไทย ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ CEO & Co Founder ใบยา ไฟโตฟาร์ม สตาร์ทอัพผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืชความหวังของมวลมนุษยชาติ
5) รายการ Discussions for Society สุดยอดรายการเสวนา 6 หัวข้อทันสมัย โดยกลุ่มสุดยอดแขกรับเชิญ.ชาวจุฬาฯ วันที่ 26-31 ตุลาคม 2563 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ครั้งนี้จึงนับเป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์ของการจัดงานที่พลิกโฉมไป แต่ยังคงไว้ซึ่งความจงรักภักดีอย่างเต็มเปี่ยม ด้วยความสำนึกในเกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน
สำหรับนิสิตเก่าจุฬาฯ และผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบริจาคสมทบทุนในงาน “ปิยมหาราชานุสรณ์ 2563” เพื่อร่วมเป็นส่วนของการให้ ได้ที่บัญชี “สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ – ปิยมหาราชานุสรณ์” เลขที่บัญชี 038-462388-9 บัญชีประเภทออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสยามสแควร์
เชิญร่วมฟังสัมมนาหัวข้อ “Key Issues in Contemporary Corporate Sustainability Practices: Climate Risk, Human Rights Risk, and ESG Disclosures”
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันกีต้าร์กีตาร์คลาสสิกระดับนานาชาติ
Chula-SI HUB บ่มเพาะผู้ประกอบการทางสังคม Young Sustainability Practitioner รุ่นที่ 4
“ตลาดนัดของมือสองสภาพดี” โครงการ CU Sharing for Charity แบ่งปันเพื่อน้อง ครั้งที่ 3
29 พ.ย. 67
อาคารสรรพศาสตร์วิจัย และอาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
นิสิตศศินทร์ ผู้ประกอบการ Gen ใหม่ สร้างงานท้องถิ่นด้วยแนวคิดความยั่งยืน
ผู้บริหารจุฬาฯ เยือนมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เข้าพบเลขาธิการพรรคฯ ประจำมหาวิทยาลัยปักกิ่ง และอธิการบดี ร่วมหารือความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้