ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ – กระทรวงการอุดมศึกษาฯร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์สร้างสรรค์นวัตกรรมสู่สังคมไทย

          เมื่อวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2563 ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย ต้อนรับ ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พร้อมคณะ ซึ่งมาเยือนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และร่วมหารือถึงความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่สังคมไทย (MHESI & CHULA: Strategic Collaboration towards Innovations for Society)

นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้มอบนโยบายให้จุฬาฯ โดยกล่าวว่าจุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของสังคม สิ่งที่ต้องทำคือต้องรักษาคุณภาพที่เป็นเลิศและการเป็นผู้นำในเรื่องที่ถูกต้องให้มากขึ้น  แต่การรักษาการเป็นผู้นำจะต้องคิดว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของอุดมศึกษาไทย โดยต้องร่วมมือกันเพื่อที่จะทำให้ Ranking ของมหาวิทยาลัยในบ้านเราดีขึ้น บทบาทของจุฬาฯ ต้องสร้างการเป็น สังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society)  ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่นเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ  จุฬาฯ มีขนบประเพณี (Tradition) ที่มีมายาวนาน ซึ่งสามารถนำมาคิดต่อยอดไปสู่สิ่งต่างๆ ได้  Tradition มีความสำคัญแต่ต้องปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงและต้องมีความสมดุลกันระหว่างอดีต ปัจจุบัน อนาคต  เรารู้อดีตเพื่อที่จะได้ภูมิใจกับปัจจุบัน เพื่อที่จะนำความรู้มาปรับให้เหมาะสมเข้ากับรูปแบบของสังคม มหาวิทยาลัยต้องมีการนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม เพื่อที่จะได้เผยแพร่องค์ความรู้ของจุฬาฯ ออกไป ซึ่งที่ผ่านมาจุฬาฯ    มีองค์ความรู้ นวัตกรรม มากมาย เห็นได้ชัดในช่วงโควิด-19 นอกจากนี้อยากเห็นจุฬาฯ ผลิตนักปราชญ์    นักคิดออกมาให้มากขึ้น เพราะความรู้เพียงอย่างเดียวคงไม่พอ จะต้องมีปัญญา มีคุณธรรม จริยธรรม สร้างแรงบันดาลให้นิสิตคิดสร้างสรรค์องค์ความรู้ นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ให้กับประเทศชาติในอนาคตต่อไป

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ  ได้นำเสนอวิสัยทัศน์และพันธกิจของจุฬาฯ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมและประเพณีที่มีความยาวนาน โดยมุ่งมั่นขับเคลื่อนสังคมด้วยความรู้และนวัตกรรม (Innovations for Society) ซึ่งนวัตกรรมในความหมายของจุฬาฯ คือการทำงานข้ามศาสตร์ อันเป็นส่วนหนึ่งของการบ่มเพาะนักปราชญ์ซึ่งจะต้องรู้หลากหลาย ไม่ใช่รู้เพียงมิติใดเพียงมิติเดียว เป็นการเตรียมบุคลากรให้มีความรู้ในองค์รวมสำหรับพัฒนาชาติบ้านเมืองในอนาคต

ศ.ดร.บัณฑิต กล่าวเพิ่มเติมว่า ในเวลา 4 ปีต่อจากนี้ จุฬาฯ มีหมุดหมายที่สำคัญอยู่ 3 ประการคือ 1. การสร้างผู้นำแห่งอนาคต (Future Leaders) 2. การสร้างผลกระทบต่อสังคมผ่านงานวิจัยและนวัตกรรม (impactful Research and Innovation) และ 3. การสร้างสังคมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability) โครงการต่างๆ ที่จุฬาฯ ได้ทำเพื่อขับเคลื่อนสังคม อาทิ CU Enterprise Ltd. (CUE), CU Innovation Hub, Siam Innovation District เมืองนวัตกรรมแก่งคอย (KID) โครงการพัฒนาในศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ ที่ จังหวัดสระบุรี นครนายก น่าน จันทบุรี และชลบุรี โครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่น โครงการปัตตานีโมเดล และการพัฒนาวัคซีนชนิด mRNA โดย    คณะแพทยศาสตร์ และวัคซีนจากใบโย โดยบริษัทใบยา ไฟโตฟาร์มและคณะเภสัชศาสตร์ เป็นต้น

“เราเชื่อว่าถ้าเราทำงานโดยลำพัง เราอาจจะทำได้รวดเร็ว แต่อาจจะไปได้ไม่ไกล แต่ถ้าเราร่วมมือกับคนอื่นๆ จะทำให้เราไปได้ไกลมากยิ่งขึ้น งานที่จุฬาฯ ทำในช่วงโควิด-19 เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ดี ไม่ว่า      จะเป็นเรื่องของวัคซีน ชุดตรวจโควิด-19  นวัตกรรม เช่น หุ่นยนต์ แอปพลิเคชั่นต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็น      งานที่บุคลากรของจุฬาฯ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมทั้งสิ้นกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้จุฬาฯ เชื่อมโยงกับภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาคเอกชน      ในการยกระดับงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย เพื่อขยายผลไปสู่ประชาชนคนไทยและไปได้ไกลทั่วโลกต่อไป” ศ.ดร.บัณฑิต กล่าว

ผศ.ภญ.ดร.รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ได้มอบหมายให้     ภญ.ดร.บุษกร เลิศวัฒนสีวลี ประธานกรรมการบริหาร CU Pharmacy Enterprise Ltd. (CUPE) สรุปภาพรวมของสตาร์ทอัพ ภายใต้การดูแลของคณะเภสัชศาสตร์ ว่าคณะเภสัชศาสตร์มีนวัตกรรมและงานวิจัยที่อยู่บนหิ้งอยู่จำนวนมาก ประกอบกับได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากนิสิตเก่าและนักวิจัย       จึงทำให้เกิดเป็น CUPE ขึ้น ตรงตามนโยบายยุทธศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ อว. เพื่อนำนวัตกรรมสู่สังคม รวมทั้งเชื่อมต่อให้เกิดเป็นเศรษฐกิจของประเทศ ระหว่างนักธุรกิจ นักลงทุน และนวัตกรรมที่สังคมต้องการ นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์ย่อยๆ คือการสร้างโอกาสทางอาชีพให้กับนิสิตในคณะเภสัชศาสตร์ และก่อให้เกิดหลักสูตรผู้ประกอบการในคณะฯ (Entreprenuership Curriculum) ขึ้น

ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทใบยา ไฟโตฟาร์ม กล่าวถึงที่มีในการก่อตั้งบริษัทฯ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทางคณะฯ และมหาวิทยาลัย โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตโปรตีนด้วยพืช ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถพัฒนาได้เองทุกขั้นตอนในประเทศไทย เมื่อเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 จึงเกิดได้เริ่มพัฒนาตัวโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ทั้งหมดจนได้ต้นแบบวัคซีนตัวแรกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่ด้วยข้อจำกัดของระบบในการพัฒนายาในประเทศ จึงทำให้ค่อนข้างช้าในแง่ของการทดสอบ ในระหว่างนั้นจึงได้หันไปพัฒนาชุดตรวจ Rapid Test ที่ถูกนำไปใช้แล้วกว่า 30,000 ชุดทั่วประเทศ ปัจจุบันบริษัทใบยามีวัคซีนทั้งสิ้น 6 ตัว ผ่านการทดสอบในสัตว์ทดลองคือหนูและลิงเรียบร้อยแล้ว 1 ตัว ทางใบยาตั้งเป้าที่จะเป็นวัคซีนที่ผลิตโดยเทคโนโลยีทั้งหมดภายในประเทศ และทำการทดลองทางคลินิกเฟสแรกให้ได้ภายในปีหน้า เพื่อให้คนไทยได้มีวัคซีนใช้โดยไม่ต้องรอพึ่งพาจากทางต่างประเทศ

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า