รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 ตุลาคม 2563
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
“นวัตปะการัง” นวัตกรรมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงานของ รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และนายวรุต ศรีสุวรรณ์ นิสิตปริญญาเอกสาขาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (CUTIP) จุฬาฯ ชนะเลิศรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2563 ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ ประเภทการออกแบบผลิตภัณฑ์
นอกจากนี้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังได้รับรางวัล Prime Minister Award : Innovation for Crisis ประเภทหน่วยงานภาครัฐ จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ในฐานะที่ได้พัฒนาผลงานนวัตกรรมต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาในภาวะวิกฤตจากการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา โดยร่วมมือกับภาคเอกชนในการนำผลงานนวัตกรรมไปพัฒนาต่อเพื่อประยุกต์ใช้จริงให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทย โดยมี รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล เป็นผู้แทนรับรางวัลดังกล่าวในวันนวัตกรรมแห่งชาติ เมื่อวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม 2563 โดยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล ณ โรงแรมสยาม เคมปินสกี้
“นวัตปะการัง” (Innovareef) เป็นนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนแนวคิดและวิถีการอนุรักษ์ท้องทะเลของโลกให้เป็นไปอย่างสมดุล กลมกลืน ยั่งยืน โดยเริ่มต้นที่ระบบนิเวศแนวปะการังของประเทศไทยภายใต้โครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทยในพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เป็นการนำนวัตกรรมมาออกแบบเพิ่มประสิทธิภาพและทัศนียภาพของปะการังเทียมให้เป็นนวัตกรรมปะการังเทียมรูปแบบใหม่ที่มีความสวยงามเหมือนจริงตามธรรมชาติทางทะเล โครงสร้างวัสดุของนวัตปะการังถูกปรับแต่งให้เข้ากันได้ดีกับสภาพแวดล้อมทางทะเล โดยการขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์ซีเมนต์คอนกรีตแบบ 3 มิติ ทำให้การขึ้นรูปนวัตปะการังมีความกลมกลืนกับแนวปะการังจริงมากที่สุด มีความแข็งแรงต่อการใช้งาน มีน้ำหนักเบา สะดวกต่อการขนส่งเคลื่อนย้ายได้ง่าย และสามารถปรับแต่งรูปแบบลักษณะทางโครงสร้างได้ตามต้องการ รวมทั้งความซับซ้อนของช่องว่าง แสงและเงา ให้เข้ากับสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่การติดตั้ง
“นวัตปะการัง” เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยปฏิบัติการวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสัตว์น้ำเพื่อการอนุรักษ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ บริษัท เอสซีจี ซีเมนต์ จำกัด และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ติดตามรับชมผลงาน “นวัตปะการัง” ได้ที่ https://youtu.be/lwmiSjU9ooc
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้