รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 ตุลาคม 2563
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของประเทศไทย โดยมีหลายสาขาวิชาติดอันดับที่ดีที่สุดในประเทศไทย ตามการจัดอันดับของ THE World University Rankings by Subject 2021
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 Times Higher Education (THE) ประกาศผลการจัดอันดับ THE World University Rankings by Subject 2021 ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ครองอันดับที่ 1 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย โดยมีคะแนนในภาพรวมดีขึ้น
จากผลการจัดอันดับรายสาขาวิชาพบว่า มี 4 สาขาวิชาของจุฬาฯ ได้ถูกจัดอันดับดีที่สุดของประเทศไทย ได้แก่ สาขา Business and Economics สาขา Computer Science สาขา Education สาขา Social Science นอกจากนี้ ยังมีหลายสาขาวิชาที่ได้รับการจัดเข้าสู่อันดับโลก ได้แก่ สาขา Clinical and Health สาขา Engineering and Technology สาขา Physical Science และสาขา Life Science อีกด้วย
ผลการจัดอันดับดังกล่าวแสดงถึงความก้าวหน้า เข้มแข็งของศาสตร์ที่หลากหลายของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ครอบคลุมทั้งในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การแพทย์ และสังคมศาสตร์
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยต่างๆ ยิ่งทำให้เรามั่นใจว่าเส้นทางที่จุฬาฯ ได้เลือกในการพัฒนาบัณฑิตและผลงานวิจัยต่างๆ ของมหาวิทยาลัยนั้นได้มาอย่างถูกทางแล้ว วันนี้บทบาทของมหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ในอดีตหลายคนอาจคิดว่าจุฬาฯ เป็นเพียงแหล่งความรู้ของสังคม แต่วันนี้บทบาทของมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องเปลี่ยนไป โดยเพิ่มเติมมาอีก 3 บทบาท คือ บทบาทที่หนึ่ง มหาวิทยาลัยต้องเอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ใหม่ๆ และนำความรู้ไปทดลองใช้งานจริงกับสังคมภายนอก ซึ่งจะเกิดการพัฒนาความคิดของนิสิตและอาจารย์ที่ดีมากยิ่งขึ้น บทบาทที่สอง มหาวิทยาลัยต้องเป็นแหล่งความรู้ที่เชื่อมโยงกับสังคมภายนอก ศิษย์เก่า สังคมไทย และสังคมนานาชาติ การที่เราเชื่อมโยงกับคนอื่นทำให้เราไปได้ไกลมากยิ่งขึ้น เราสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้สำเร็จได้เร็วมากยิ่งขึ้น และบทบาทที่สาม ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญที่สุด คือ มหาวิทยาลัยต้องเป็นแหล่งผลิตผู้นำแห่งอนาคต (Future Leader) ที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมและงานวิจัยใหม่ๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ และสังคม เพื่อรับใช้สังคม (Impactful Research and Innovation) และต้องมุ่งสู่ความยั่งยืน (Sustainability)
ทั้งนี้ การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของ Times Higher Education เป็นอีกหนึ่งสถาบันการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกที่มีตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพ (Methodology) แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ การสอน (สภาพแวดล้อมการเรียนรู้) การวิจัย (ปริมาณรายได้และชื่อเสียง) การอ้างอิง (อิทธิพลการวิจัย) มุมมองของต่างประเทศ (บุคลากร นิสิตนักศึกษา และนักวิจัย) และรายได้ขององค์กร (การถ่ายทอดความรู้) ซึ่งช่วยสะท้อนผลการดำเนินงานและโอกาสในการพัฒนาของมหาวิทยาลัยตามภารกิจสำคัญในเวทีโลก
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้