ข่าวสารจุฬาฯ

ประชุมขับเคลื่อนและติดตามการดําเนินงาน ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมของจังหวัดสระบุรี

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนและติดตามการดําเนินงานจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) ของจังหวัดสระบุรี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม 2563 ณ ห้องประชุม ศ.ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ อาคารสระบุรี 4 ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ ต.ชำผักแพว อ.แก่งคอย จ.สระบุรี

ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) จัดตั้งขึ้นภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจังหวัดสระบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนส่งเสริมเทคโนโลยีเกษตร เป็นศูนย์อบรมบ่มเพาะเกษตรกร ผู้นำสถาบันเกษตรกร Smart farmer, Young smart farmer, STRATUP เกษตร, SME เกษตร ภายในจังหวัดสระบุรี และเป็นศูนย์ผลักดันงานเทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมผ่านการวิจัย การพัฒนา การลงทุน การแปรรูป และการบริการจัดการ เชิงพาณิชย์

ในการนี้ คณะกรรมการบริหารศูนย์ AIC จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีด้านยุทธศาสตร์ แผน การงบประมาณ และสุขภาวะ ศ.น.สพ.ดร.มงคล เตชะกำพุ ผู้อํานวยการศูนย์ AIC จังหวัดสระบุรี ผศ.ดร.นพดล กิตนะ ผู้อํานวยการศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารศูนย์ AIC จังหวัด ภาคเอกชน และ ภาคเกษตรกรรม นำโดยนายสุขุมวิท สุขพันธุ์ถาวร เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี ให้การต้อนรับและร่วมประชุมรับฟังนโยบายต่างๆ และรายงานความคืบหน้าผลการดำเนินงานขับเคลื่อนศูนย์ AIC จังหวัดสระบุรี

การประชุมครั้งนี้มีการจัดแสดงนิทรรศการโครงการก่อสร้างศูนย์ความเป็นเลิศด้านโคนมของจังหวัดสระบุรี ที่อยู่ระหว่างดำเนินการการก่อสร้าง โดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งจะเป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยพัฒนาคุณภาพการเลี้ยงโคนมในเขตร้อนชื้นและการพัฒนาคุณภาพน้ำนมของจังหวัดสระบุรีให้ยกระดับมาตรฐานไปสู่นานาชาติในอนาคต

นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของจุฬาฯ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงและพลังงานจากชีวมวล และผลิตภัณฑ์การแปรรูปอาหาร Functional Food ร่วมกับนิทรรศการของภาคแอกชน เกษตรกร และส่วนงานภายในจังหวัด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นมจากกลุ่มสหกรณ์ โคนมจังหวัดสระบุรี บริษัทแดลี่ ฟาร์ม จำกัด ผลิตภัณฑ์จากรังไหมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และสินค้าจากเกษตรกรแปลงใหญ่ในจังหวัดสระบุรี เป็นต้น

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า