รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
20 พฤศจิกายน 2563
ข่าวเด่น
นิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 3 จากเวทีการแข่งขันกฎหมายระดับนานาชาติ The19th Intercollegiate Negotiation Competition โดยมีมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก ต่างส่งทีมเข้าร่วมแข่งขัน รวมผู้แข่งขันกว่า 300 คน
การแข่งขันครั้งนี้จัดโดย Intercollegiate Negotiation Competition ประเทศญี่ปุ่น โดยจัดต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 19 ซึ่งในปีนี้เป็นการแข่งขันในรูปแบบออนไลน์ แต่ละทีมจะได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนของบริษัท โดยจะต้องแข่งขันทั้งการเขียนเอกสารต่างๆ ได้แก่ คำให้การ (memorandum) และคำให้การแย้ง (response memorandum) และคำอธิบาย (explanatory memorandum) รวมทั้งส่วนภาคปฏิบัติที่ทุกทีมที่นำเสนอข้อต่อสู้ (pleading) ในรอบอนุญาโตตุลาการ 1 วัน และการเจรจาในฐานะผู้แทนบริษัทในรอบการเจรจาต่อรอง (negotiation) อีก 1 วัน
ภัทราภรณ์ ภัทรพิบูล กริชวิชญ์ ตาตินิจ วสุวัฒน์ ดีพร้อมอริยกุล และ แพรวา จิตติมณี นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ที่คว้ารางวัลจากเวทีการแข่งขันกฎหมายระดับโลกในครั้งนี้ เปิดเผยว่า การแข่งขันครั้งนี้มีความน่าสนใจเนื่องจากเป็นการแข่งขันทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาระหว่างประเทศ (international commercial contract) ที่มีทั้งเรื่องการเจรจาต่อรอง (negoitation) และอนุญาโตตุลาการ (international arbitration) รวมอยู่ด้วยกัน เป็นการผสมผสานวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกเสมือนแนวปฏิบัติจริงของภาคธุรกิจ
กรรมการผู้ตัดสินเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติงานทางด้านกฎหมาย รวมทั้งผู้เข้าร่วมการแข่งขันล้วนมาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชียและทั่วโลก ซึ่งปีนี้เป็นครั้งแรกที่จุฬาฯ เข้าร่วมการแข่งขันรายการนี้
“รู้สึกดีใจมากที่นิสิตประสบความสำเร็จจากการแข่งขันครั้งนี้ และในฐานะที่เป็นทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันนี้เป็นครั้งแรก การได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 3 รองจาก NUS (National University of Singapore), Team Australia (University of Sydney Law School, ANU College of Law, Melbourne Law School and QUT Law) และ University of Tokyo โดยมีคะแนนห่างจากมหาวิทยาลัยโตเกียว อยู่เพียง 0.05 คะแนน ถือว่าประสบความสำเร็จเกินความคาดหมายมาก
“นิสิตทุกคนในทีมทุ่มเททำงานหนักและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้เป็นโอกาสได้พัฒนาตนเอง พร้อมทั้งนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้จริงเพื่อเตรียมตัวเป็นนักกฎหมายในอนาคต”อ.ดร.ธิดารัตน์ ศิลปภิรมย์สุข รองคณบดีด้านกิจการต่างประเทศ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ อาจารย์ที่ปรึกษากล่าว
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้