รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 พฤศจิกายน 2563
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
‘กัญชา’ เป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในสังคมไทยและได้รับความสนใจมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดจากกัญชาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีศูนย์วิจัยยาเสพติด ซึ่งตั้งอยู่ที่วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข มีพันธกิจหลักตามที่ได้รับจัดตั้งจากองค์การอนามัยโลกให้เป็น WHO Collaborating Centre for Research and Training in Drug Dependence แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย เมื่อปี 2523 เพื่อทำการวิจัย ผลิตและเผยแพร่องค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและการแก้ปัญหาสารเสพติด ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการนำกัญชามาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และใช้การปลูกแบบชีวภาพ
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดพิธีเปิดศูนย์วิจัยยาเสพติดและตัดช่อดอกกัญชาชีวภาพ เมดิคัลเกรดเป็นที่แรก ณ โครงการพัฒนาที่ดินจุฬาฯ – สระบุรี โดยได้รับเกียรติจากนายนิยม เติมศรีสุข รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และ ศ.กิตติคุณ นพ. จรัส สุวรรณเวลา อดีตอธิการบดีจุฬาฯ และอดีตนายกสภามหาวิทยาลัย เป็นประธานเปิดป้ายศูนย์วิจัยยาเสพติด พร้อมทั้งตัดช่อดอกกัญชาชีวภาพ เมดิคัลเกรดซึ่งเป็นสารสกัดสูงสุดทางการแพทย์ โดยมี ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาฯ กล่าวต้อนรับและร่วมตัดช่อดอกกัญชาชีวภาพ
ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดี จุฬาฯ เปิดเผยว่า ปัญหายาเสพติดต้องเกิดจากการนำองค์ความรู้หลายๆ ด้านมาใช้ร่วมกันเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ในขณะเดียวกัน ก็ต้องนำนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสังคมเข้ามาใช้ในการตรวจสอบสายพันธุ์กัญชา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความหลากหลายทางด้านศาสตร์สาขาวิชาต่างๆ จึงมีนโยบายในการนำสหศาสตร์เข้ามาเพิ่มศักยภาพให้ศูนย์วิจัยยาเสพติด และการวิจัยกัญชาพัฒนาก้าวหน้าต่อไป การวิจัยสายพันธุ์กัญชาจำเป็นต้องมีระบบการควบคุมตั้งแต่การเพาะปลูก การปรับปรุงสายพันธุ์ การวิเคราะห์ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและระดับอุตสาหกรรม ตลอดจนสภาพแวดล้อมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกัญชา พิธีการตัดช่อดอกกัญชาชีวภาพ เมดิคัลเกรดแรกสู่การปรับปรุงสายพันธุ์และการผลักดันแนวทางกฎหมายตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงของประเทศ เกิดขึ้นจากโครงการวิจัยกัญชาของศูนย์วิจัยยาเสพติด วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) ตั้งแต่ปี 2562
ศ.ดร.สถิรกร พงศ์พานิช คณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ กล่าวถึง การดำเนินงานของศูนย์วิจัยยาเสพติดในเรื่องการปลูกกัญชาว่า ศูนย์วิจัยยาเสพติด จุฬาฯ ดำเนินการเพาะปลูกกัญชาในโรงเรือนทั้ง 3 โรงเรือนซึ่งครอบคลุมทั้ง 3 ระบบ คือ 1) Indoor 2) Outdoor และ 3) Greenhouse สำหรับการปรับปรุงสายพันธุ์ที่เหมาะสม ทราบปริมาณสารสำคัญแต่ละชนิด เพื่อการนำไปใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุดทางการแพทย์ ศูนย์วิจัยยาเสพติดได้รับความร่วมมือด้านองค์ความรู้จากคณะต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอกจุฬาฯ อาทิ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) และการนำไปวิจัยต่อยอดทางการแพทย์ โดยคณะแพทยศาสตร์ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลต่างๆ คลินิกกัญชาฯ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากสำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม มานานกว่า 48 ปี รวมทั้งการสนับสนุนจากกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) และสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี
โดยมุ่งพัฒนาการปลูก การปรับปรุงสายพันธุ์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ถูกต้อง ข้อมูลเชิงประจักษ์จากการวิจัยทั้งในเชิงวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ออกสู่สาธารณะ สะท้อนแนวทางด้านอุปสงค์และอุปทาน รวมทั้งระบบฐานข้อมูลในการเฝ้าระวัง การป้องกัน การควบคุมกัญชา ตลอดจนพัฒนาข้อเสนอแนวทางเชิงนโยบาย เพื่อการใช้ประโยชน์สูงสุดทางการแพทย์ แนวทางการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดและแนวทางเชิงนโยบายในการควบคุมกัญชา และผลักดันแนวทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
นายนิยม เติมศรีสุข รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการวิจัยสายพันธุ์กัญชาว่า ศูนย์วิจัยยาเสพติดได้ดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้นโยบายในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด ในทางกฎหมาย กัญชายังคงเป็นพืชเสพติดซึ่งมีการผ่อนปรนให้พืชชนิดนี้ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ ดังนั้นเมื่อจะใช้กัญชาทางการแพทย์หรือประโยชน์ในมิติอื่นๆ ต้องมาจากองค์ความรู้ที่ถูกต้องจากพื้นฐานการศึกษาวิจัย เพื่อให้สิ่งที่จะดำเนินการต่อไปเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนและประเทศชาติอย่างแท้จริง
รศ.ดร.จิตรลดา อารีย์สันติชัย รองคณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยาเสพติด กล่าวถึงผลการศึกษาวิจัยกัญชาในเชิงวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในเฟสที่ 1 มุ่งเน้นการระบุสายพันธุ์กัญชาในประเทศไทยพบว่า จากตัวอย่างกัญชา 22 พื้นที่ทั่วประเทศ สามารถแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ จำแนกตามลักษณะพันธุกรรมของพืช และปริมาณสารสำคัญในต้นกัญชาของแต่ละพื้นที่ มีความแตกต่างกัน อาจเนื่องจากปัจจัยต่างๆ ของแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้บางพื้นที่พบสารปนเปื้อนในดินที่เป็นอันตราย อาทิ สารหนู และบางพื้นที่พบสารปนเปื้อนสารแคทเมียมในต้นกัญชา เป็นต้น ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการในเฟสที่ 2 ซึ่งศูนย์วิจัยยาเสพติด เน้นการทดสอบปัจจัยที่ส่งผลต่อการปลูก การปรับปรุงสายพันธุ์กัญชาที่เหมาะสมกับโรคนั้นๆ รวมทั้งเน้นการสร้างระบบ วิธีการ ติดตามควบคุมกัญชา และเสนอแนวทาง ยุทธศาสตร์ นโยบายการควบคุมกัญชาเพื่อเสริมความมั่นคงของประเทศ
“ศูนย์วิจัยยาเสพติด จุฬาฯ มุ่งพัฒนาวิธีปลูกกัญชาแบบชีวภาพ เมดิคัลเกรดโดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทางการแพทย์ และเพื่อไม่ให้เกิดสารปนเปื้อนทั้งในดินและต้นกัญชา อีกทั้งลดต้นทุนการสกัดสารปนเปื้อนออกจากต้นกัญชา ศูนย์วิจัยยาเสพติด จุฬาฯ วิจัยการปลูกกัญชาในรูปแบบชีวภาพ เมดิคัลเกรดตั้งแต่การผสมดิน การให้ปุ๋ย การเพาะเมล็ด การไล่แมลงจนถึงต้นกัญชาเติบโตและผลิช่อดอก ณ โครงการพัฒนาที่ดินจุฬาฯ-สระบุรี” รศ.ดร.จิตรลดา กล่าว
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้