รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 พฤศจิกายน 2563
ข่าวเด่น
นายชนกันต วิทยศักดิ์พันธุ์ นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และ น.ส. ณัฐญา จารุเวคิน นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศและรางวัลชมเชยจากการแข่งขันโต้วาทีสิทธิมนุษยชนภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2563 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พิธีมอบรางวัลจะจัดขึ้นในงานวันสิทธิมนุษยชนสากล
การแข่งขันโต้วาทีสิทธิมนุษยชนภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 – 8 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเอเวอร์กรีน เพลส สยาม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษารับรู้เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ผู้เข้าแข่งขันจะต้องกล่าวสุนทรพจน์และโต้วาทีภาษาอังกฤษในหัวข้อเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนโดยไม่ทราบหัวข้อหรือญัตติล่วงหน้า ในรอบแรก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องส่งคลิปวีดิโอกล่าวสุนทรพจน์ความยาว 3 นาทีให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกให้เหลือ 20 คนเข้าแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ในรอบที่สอง ผู้ผ่านการคัดเลือก 12 คนจะเข้าแข่งขันโต้วาทีรวมทั้งสิ้น 4 รอบ จนได้ผู้เข้าแข่งขัน 6 คนสุดท้ายเข้าแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ความยาว 5 นาทีในรอบชิงชนะเลิศ เกณฑ์การตัดสินพิจารณาจากเนื้อหาสาระที่พูด บุคลิกภาพ และวิธีเรียบเรียงถ้อยคำที่นำเสนอออกไป
ชนกันต และณัฐญา เป็นสมาชิกชมรมโต้วาทีภาษาอังกฤษ จุฬาฯ (Chula English Debate Society) ทั้งสองได้เตรียมความพร้อมในการเข้าแข่งขันโดยมีการฝึกซ้อมโต้วาทีภาษาอังกฤษเป็นประจำทุกสัปดาห์ ได้ฝึกคิดวิเคราะห์และการพูดให้กระชับ ทั้งสองมีความสนใจในประเด็นสิทธิมนุษยชนซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ หัวข้อที่กล่าวสุนทรพจน์และโต้วาทีในรายการนี้มีความน่าสนใจและท้าทายความคิด ยกตัวอย่างเช่น เราควรบังคับให้ผู้ที่มีชื่อเสียงแสดงความคิดเห็นในเรื่องการเมืองหรือไม่ คนในชุมชนควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจสร้างโครงการต่างๆที่ต้องมีการเวนคืนที่ดินหรือไม่ ฯลฯ
ชนกันต วิทยศักดิ์พันธุ์ ซึ่งคว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันโต้วาทีสิทธิมนุษยชนภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษาปีนี้มาครอง เป็นผู้ที่สนใจการแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์และโต้วาทีภาษาอังกฤษเพราะเป็นกิจกรรมที่ทำให้ตนเองได้รับความรู้ที่ก้าวทันโลกและมีมุมมองความคิด 2 ด้าน เทคนิคการกล่าวสุนทรพจน์และโต้วาทีให้ประสบความสำเร็จ เน้นการพูดโดยดึงบริบทเนื้อหาจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง พูดให้เข้าใจง่าย ตรงประเด็น สร้างคุณค่าความน่าเชื่อถือให้เนื้อหาที่พูดออกไป นอกจากนี้จะต้องหมั่นฝึกซ้อมการพูดบ่อยๆ และติดตามข่าวสารทางสื่อต่างๆ เช่น Facebook และสำนักข่าวต่างประเทศอยู่เสมอ
“ความสำเร็จในครั้งนี้เกิดจากสมาชิกในชมรมที่มีการฝึกซ้อมเตรียมความพร้อมในการแข่งขันโต้วาทีอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับคำแนะนำเป็นอย่างดีจากอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้ฝึกสอนของชมรมฯ ได้แก่ ผศ.ปิยนารถ ฟักทองพรรณ อ.ดร.ภาณุภัทร จิตเที่ยง และ อ.ดร.ภาวัฒน์ สัตยานุรักษ์ การแข่งขันรายการนี้ทำให้ได้แรงบันดาลใจจากนักพูดที่ประสบความสำเร็จ ทำให้ได้พัฒนาตนเองในเรื่องการกล่าวสุนทรพจน์และการโต้วาทีภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี การเข้าร่วมการแข่งขันรายการต่างๆ ทำให้ได้ความรู้และเป็นประสบการณ์ที่ดี” สองนิสิตจุฬาฯ ผู้ได้รับรางวัลจากการแข่งขันรายการนี้กล่าว
ติดตามรับชมภาพการแข่งขันโต้วาทีสิทธิมนุษยชนภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2563 ได้ที่ Facebook : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
https://www.facebook.com/165027406990322/posts/1702418499917864/?d=n
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ร่วมกับ สสส. มอบรางวัลเชิดชู 11 องค์กรต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต (Thai Mind Awards)
จุฬาฯ ร่วมกับคาร์เทียร์ ประเทศไทย จัดงานเปิดตัว “โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม สำหรับ Cartier Women’s Initiative”
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้