รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
25 พฤศจิกายน 2563
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางวัฒนธรรมดนตรีไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และโรงเรียนศรีสะอาดวิทยาคม จัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “เจรียงจาเป็ย เสน่ห์การขับลำสะพานวัฒนธรรมไทย-กัมพูชา” เมื่อวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2563 ณ วัดศรีสะอาดและโรงเรียน ศรีสะอาดวิทยาคม ต.ศรีสะอาด อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ
กิจกรรมในครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และสาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในการพัฒนาเครือข่ายทางด้านศิลปวัฒนธรรมในชุมชน รวมทั้งเป็นการลงพื้นที่ร่วมกันพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของนิสิตจุฬาฯ 17 คน และนักศึกษาจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ศรีสะเกษ 42 คน ซึ่งได้ร่วมกันออกแบบกระบวนการสร้างประสบการณ์ เรียนรู้มรดกวัฒนธรรมจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมมือวางแผนจัดงานสัมมนาทางวิชาการในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญของวัฒนธรรมดนตรีเขมรที่ปรากฏในอีสานใต้ สร้างเครือข่ายทางศิลปวัฒนธรรมเพื่อร่วมกันสร้างสรรค์แนวทางการต่อยอดองค์ความรู้และการให้บริการสู่สังคมอย่างเป็นรูปธรรม โดยได้รับเกียรติจากคุณครูจุม แสงจันทร์ ศิลปินพื้นบ้านอีสาน ประจำปี 2559 สาขาดนตรีและนาฏกรรม ผู้เก็บรักษาทำนองต้นแบบในการดีดจาเป็ยและการขับลำเรื่องราวจากชาดกและนิทานพื้นบ้านของเขมรเป็นท่านสุดท้ายในจังหวัดศรีสะเกษ รศ.ดร.เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.ณภัทร เชาว์นวม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ อ.ธัญญะ สายหมี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ศรีสะเกษ
งานสัมมนาวิชาการครั้งนี้ได้รับความสนใจจากชุมชนในหมู่บ้านศรีสะอาด หมู่ 1, 2, 4, 6, และ 7 รวมทั้งนักเรียนโรงเรียนศรีสะอาดวิทยาคม โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย และชุมชนใกล้เคียง มีผู้เข้าร่วมฟังการสัมมนาทั้งสิ้น 178 คน และมีผู้เข้ารับฟังจากการถ่ายทอดสดมากกว่า 7,700 ครั้ง (7.7K Views) การเข้าถึงเพจจำนวน 1.9K องค์ความรู้การเจรียงจาเป็ยมีเนื้อหาลึกซึ้งทั้งด้านดนตรี วรรณศิลป์และภาษาศาสตร์ องค์ความรู้ดังกล่าวใกล้สูญหายและอยู่ในวงจำกัด นับเป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าด้วยเครือข่ายความร่วมมือทั้งระดับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานท้องถิ่น เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมา กลวิธีการบรรเลง ความเชื่อ พิธีกรรม และบทเพลงเกี่ยวกับจาเป็ยและการเจรียงเผยแพร่สู่สาธารณชนให้ปรากฏสืบต่อไป
ผู้สนใจสามารถติดตามฟังย้อนหลังได้ที่https://www.facebook.com/547563245698746/videos/849756295853158/?vh=e&d=n
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้