รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 ธันวาคม 2563
ข่าวเด่น
สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ร่วมกับธนาคารกสิกรไทย ลงนามความร่วมมือสนับสนุนการพัฒนาระบบ CUAA Mobile Application ภายใต้ชื่อ “CHAM” (แจ่ม) พร้อมให้บริการนิสิตเก่าจุฬาฯ ทั่วทุกมุมโลกกว่า 500,000 รายได้ทุกที่ ทุกเวลา รองรับระบบปฏิบัติการทั้ง IOS และ Android เชื่อมโยงเครือข่ายนิสิตเก่าให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเพียงปลายนิ้วสัมผัส ด้วย Application Feature หลากหลายรองรับไลฟ์สไตล์ในยุค 5G คาดพร้อมให้ดาวน์โหลดได้ในไตรมาสแรกของปี 2564
พิธีลงนามความร่วมมือดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ณ ห้องสตูดิโอ ชั้น 3 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ โดยมี นางภิมลภา สันติโชค ประธานฝ่ายสารสนเทศ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ดร.พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ร่วมในพิธี
นางภิมลภา สันติโชค ประธานฝ่ายสารสนเทศ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) กล่าวว่า สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ มีวัตถุประสงค์สำคัญข้อหนึ่งที่มุ่งส่งเสริมความสามัคคีระหว่างนิสิตเก่าจุฬาฯ และสังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันประกอบกิจอันเป็นประโยชน์ต่อสถาบันและเป็นพลังขับเคลื่อนสังคม การสร้างและบริหารเครือข่ายสมาชิกในโลกยุคใหม่ที่ 5G กำลังเข้ามามีบทบาท จึงเป็นเรื่องที่เราใส่ใจและชักชวนนิสิตเก่าจุฬาฯ ราว 5 แสนรายที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลกปรับตัวก้าวตามให้ทัน และหวังใช้จังหวะนี้เชื่อมโยงเครือข่ายนิสิตเก่าที่มีพลังให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นด้วยแอปพลิเคชัน “CHAM” ที่พัฒนาขึ้นรองรับไลฟ์สไตล์ในยุค 5G อาทิ อัปเดตข้อมูลข่าวสารแบบ exclusive บริจาคแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Donation) และ รับสิทธิประโยชน์และสิทธิพิเศษเฉพาะชาวจุฬาฯ จากร้านค้าแบรนด์ดังนับร้อยที่ร่วมรายการ เป็นต้น
ด้าน ดร.พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทย ร่วมให้การสนับสนุนสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน CHAM (แจ่ม) สำหรับนิสิตเก่าจุฬาฯ เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับสมาคมฯ และสมาชิกของสมาคมฯ ในการรับช้อมูลข่าวสาร กิจกรรมต่างๆ ของสมาคมฯ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันภายในหมู่นิสิตเก่าของจุฬาฯ เพื่อให้เกิดชุมชนของ ชาวจุฬาฯ
นอกจากนี้ในอนาคตยังสามารถเชื่อมต่อบริการทางการเงินเพื่อชำระค่าสมัครสมาชิกของสมาคมฯ การรับบริจาคและการระดมทุนในโครงการต่างๆ ของสมาคมฯ ได้ง่ายและรวดเร็ว ด้วยบริการรับชำระเงินผ่าน QR Code / บัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือตัดบัญชีผ่านแอปฯ K PLUS ของธนาคารกสิกรไทย และจะมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางการเงินให้กับสมาชิกแอป CHAM เพื่อร่วมสร้างประโยชน์ทางการเงินที่ดีที่สุดให้กับทุกคน ทั้งในด้านการเงิน การลงทุน และแหล่งทุน เป็นต้น ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถเปิดตัวเต็มรูปแบบได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564
“ธนาคารกสิกรไทยร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในหลายระดับ โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมผลักดันและพัฒนาให้เกิดนวัตกรรมขับเคลื่อนสังคมสอดรับกับวิสัยทัศน์จุฬาฯ ในศตวรรษที่ 2 ซึ่งในประชาคมจุฬาฯ ทั้งคณาจารย์ บุคลากร และน้องๆ นิสิตจุฬาฯ มีไลฟ์สไตล์ใหม่ผ่านการใช้ Mobile Platform ที่ธนาคารร่วมพัฒนา ภายใต้โครงการ CUNEX ซึ่งปัจจุบันมีนิสิตเป็นสมาชิกลงทะเบียนเข้าใช้งานแล้วกว่า 40,000 คน และ CUNEX STAFF สำหรับบุคลากรและคณาจารย์ กว่า 8,000 คน ซึ่งเร็วๆ นี้ กลุ่มนิสิตเก่าจุฬาฯ หลายแสนรายกำลังจะเข้าสู่เครือข่ายใหม่ในโลกออนไลน์ที่สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เอื้อให้การทำกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมกับ สนจ. เข้าถึงได้ง่ายขึ้นกว่าที่เคย” ดร.พิพัฒน์พงศ์ กล่าวเพิ่มเติม
คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ร่วมกับ สสส. มอบรางวัลเชิดชู 11 องค์กรต้นแบบสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต (Thai Mind Awards)
จุฬาฯ ร่วมกับคาร์เทียร์ ประเทศไทย จัดงานเปิดตัว “โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม สำหรับ Cartier Women’s Initiative”
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้