ข่าวสารจุฬาฯ

นิสิตบัญชี จุฬาฯ รองชนะเลิศอันดับ 1 โครงการ GHB Creative Innovation Contest

สองนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 โครงการ GHB Creative Innovation Contest จัดโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จากผลงาน GHB Home Loan Planner ซึ่งเป็นการพัฒนาบริการใหม่ใน Application GHB All ช่วยให้ลูกค้าที่ต้องการมีบ้านเป็นของตนเองสามารถวางแผนทางการเงินอย่างมีระบบ

            สุรัสดา กิระวิทยา และชัญญา โพธิ์พิทักษ์ธานนท์ นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาการตลาด    คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศจากการแข่งขันครั้งนี้ เปิดเผยว่า โครงการ GHB Creative Innovation Contest มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตนักศึกษาสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ ของ ธอส. เพื่อส่งเสริมความพร้อมการมีบ้านที่ง่ายขึ้น โดยมีนิสิตนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันถึง 108 ทีม ในรอบแรกเป็นการส่งคลิปวิดีโอผลงานนวัตกรรมความยาวไม่เกิน 3 นาที จากนั้นคณะกรรมการได้คัดเลือก 10 ทีมเข้าแข่งขันในรอบสุดท้ายซึ่งมีการจัด workshop ให้แนวคิดเกี่ยวกับการคิดค้นนวัตกรรมและได้เยี่ยมชมการดำเนินงานของ ธกส.อีกด้วย

            GHB home loan planner เป็นคุณลักษณะพิเศษในแอปพลิเคชัน GHB All ของ ธกส. เพื่อการวางแผนในเรื่องการออมเงินกู้บ้าน ทำให้การมีบ้านเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น กลุ่มเป้าหมายของ GHB home loan planner คือ  ผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งจากสถิติพบว่าคนกลุ่มนี้ต้องการมีบ้านเป็นของตัวเอง แต่ส่วนใหญ่มักจะเลือกเช่าบ้านมากกว่าการกู้เงินซื้อบ้านเนื่องจากมีเงินเก็บไม่เพียงพอ

            “พวกเราช่วยกันตีโจทย์และระดมความคิดกันอย่างเต็มที่จนได้เป็นฟีเจอร์ที่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด และสามารถใช้ได้จริง นอกจากกลุ่มเป้าหมายที่ได้ประโยชน์จากฟีเจอร์นี้แล้ว เราสองคนซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ยังได้แนวคิดในเรื่องการมีวินัยทางการเงินซึ่งสามารถเริ่มได้ตั้งแต่ตอนนี้” สุรัสดา และชัญญากล่าว

            สองนิสิตคนเก่งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ กล่าวทิ้งท้ายว่า “การเข้าร่วมโครงการ GHB Creative Innovation Contest เป็นประสบการณ์การทำงานที่มีค่าและท้าทายความสามารถมาก   คนส่วนใหญ่อาจมองว่าเรื่อง innovation กับการเรียนในสาขาการตลาดไม่น่าจะเกี่ยวข้องกัน แต่เราสองคนนำความรู้ในภาควิชาการตลาดที่เรียนมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์เป็นไอเดียสุดล้ำที่ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้อย่างลงตัว”  

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า