ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ร่วมมือ BOL พัฒนาการเรียนการสอนและทักษะของนิสิตด้านนวัตกรรม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาศักยภาพทางด้านการเรียนการสอน เสริมทักษะทางด้านนวัตกรรมของนิสิตจุฬาฯ โดยร่วมมือกับบริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน) หรือ BOL ในการใช้ฐานข้อมูลเพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยและองค์ความรู้ใหม่ๆ ตอบโจทย์ความต้องการของสังคมไทยในปัจจุบัน โดยได้จัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม 2563 ณ ห้อง 111 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์  โดยมี ศ.ดร.บัณทิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และนายแจ๊ค มินทร์ อิงค์ธเนศ กรรมการและประธานกรรมการบริหารบริษัท BOL ร่วมลงนามความร่วมมือในครั้งนี้

ศ.ดร.บัณทิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์  สามประการภายใต้วิสัยทัศน์ “Innovations for Society”  ได้แก่ การพัฒนาผู้นำแห่งอนาคต การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัยคุณภาพ และการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมการเรียนการสอน พัฒนาทักษะด้านนวัตกรรมของนิสิต เพื่อปรับตัวให้ทันกับโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งนิสิตนอกจากจะมีความรู้ในเชิงทฤษฎีแล้ว จำเป็นต้องมีทักษะที่จะนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ด้วย ความร่วมมือในครั้งนี้เริ่มต้นที่นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี

“ข้อมูลมีส่วนสำคัญทำให้การวางแผนได้อย่างถูกต้อง ฐานข้อมูลของ BOL จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมที่สร้างผลกระทบต่อสังคม การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้เป็นมากกว่า MOU แต่ต้องการให้เกิดผลจริงที่จะขับเคลื่อนสังคมไทยต่อไป” อธิการบดีจุฬาฯ กล่าว

นายแจ๊ค มินทร์ อิงค์ธเนศ กรรมการและประธานกรรมการบริหาร บริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัท บิซิเนส ออนไลน์ จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะของนิสิตและการส่งเสริมนวัตกรรม จึงได้ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการสร้างสรรค์งานวิจัย องค์ความรู้ใหม่ และธรรมาภิบาลที่ดี   โลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย เกิดการพลิกผันจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเป็นตัวเร่งที่ทำให้   ภาคธุรกิจต้องปรับตัวเพื่อให้องค์กรเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับภาคการศึกษาที่ต้องปรับตัวเพื่อพัฒนาทักษะของนิสิตให้สอดคล้องกับทิศทางการศึกษาในโลกอนาคต อย่างน้อยนิสิตต้องมีทักษะด้านนวัตกรรม รู้จักการใช้ฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาผลงานใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์การทำงานในยุคดิจิทัลที่ใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงาน

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า