ข่าวสารจุฬาฯ

ชุดหุ่นจำลองสามมิติของเยื่อหุ้มสมองและโครงหลอดเลือดของสมองสุนัข รางวัลเหรียญทองการประกวดนวัตกรรม INOVA 2020

ชุดหุ่นจำลองสามมิติของเยื่อหุ้มสมองและโครงหลอดเลือดของสมองสุนัข ผลงานนวัตกรรมจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลเหรียญทอง (Gold Award) และรางวัลพิเศษ (Special Award) 2 รางวัล จากงานประชุมวิชาการและการประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติ  ครั้งที่ 45 “Inova-International Invention Show” (INOVA 2020) ณ เมืองซาเกร็บ ประเทศโครเอเชีย ซึ่งจัดงานในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 11 – 13 พฤศจิกายน 2563

นวัตกรรมดังกล่าวเป็นผลงานของ ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เชื้อศิริ รศ.น.สพ.ดร.ไพศาล เทียนไทย รศ.น.สพ.ดร.เกรียงยศ สัจจเจริญพงษ์ และนางจันทิมา อินทรปัญญา ภาควิชากายวิภาคศาสตร์  คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นชุดสื่อการเรียนการสอน ประกอบด้วยโมเดลจำนวน 4 ชิ้น และแต่ละชิ้นสามารถใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสมองสุนัขที่มีเยื่อหุ้มสมองห่อหุ้มอยู่ และอยู่ภายในกะโหลกศีรษะซึ่งมีหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำมาหล่อเลี้ยงสัมพันธ์กันอยู่แบบสามมิติ  โดยรางวัลที่ได้รับจากการประกวดครั้งนี้ประกอบด้วย รางวัลเหรียญทอง INOVA 2020, Gold Award และรางวัลพิเศษ (Special Award) 2 รางวัล คือ INOVA 2020 Special Award (Award Certificate Only) จากเจ้าภาพผู้จัดการประกวด Croatian Inventors Network (organizer of INOVA) และ Special Award (Medal and Award Certificate) จากแคนนาดา Toronto International Society of Innovation & Advanced Skills (TISIAS)

ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เชื้อศิริ ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุดหุ่นจำลองสามมิติดังกล่าว เปิดเผยว่านวัตกรรมนี้มีการออกแบบด้วยโปรแกรมสร้างสื่อสามมิติจากสมองสุนัขที่รักษาสภาพด้วยฟอร์มาลีนเป็นต้นแบบในการผลิต และการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ โดยใช้เส้นใยพลาสติกเอบีเอส สามารถแสดงความสัมพันธ์แบบสามมิติให้เข้าใจได้ง่าย ตกแต่งสีให้สวยงามตามลักษณะทางกายวิภาค มีคุณภาพดี น้ำหนักเบา ทนทาน กันน้ำ เก็บรักษาได้นาน มีความปลอดภัย ราคาไม่สูง ช่วยให้เข้าใจง่าย และสะดวกสำหรับการใช้งานเสริมหรือทดแทนสมองจากร่างอาจารย์ใหญ่ เพื่อประกอบในการเรียนการสอนประสาทกายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์ ช่วยทำให้นิสิตเข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ง่ายมากขึ้น เพราะมองเห็นโครงสร้างทางกายวิภาคที่มีขนาดเล็กได้อย่างชัดเจนมากขึ้น   

“หุ่นโมเดลนี้มีการขยายขนาดใหญ่ขึ้นกว่าของจริง ช่วยให้เห็นถึงโครงสร้างชัดเจนตรงตามเนื้อหาตำราเรียน มีความดึงดูด สีสันสวยงามน่าสัมผัส ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอนได้มากขึ้น โดยใช้ร่วมกับโปรแกรมสื่อสามมิติ ซึ่งสื่อการสอนนี้ยังไม่มีผู้ผลิตโมเดลวางจำหน่ายในบ้านเรา” ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เผยถึงลักษณะเด่นของผลงานที่ได้รับรางวัลใหญ่ในครั้งนี้

สำหรับแรงบันดาลใจในการคิดค้นนวัตกรรมนี้เนื่องจากการเรียนการสอนกายวิภาคทางสัตวแพทย์ ซึ่งมีการใช้ฟอร์มาลีนในการเก็บรักษาสภาพร่างอาจารย์ใหญ่ทำให้สภาพร่างและอวัยวะแข็ง ไม่สมจริง มีกลิ่นเหม็น ระคายเคืองต่อตาและเยื่อบุทางเดินระบบหายใจ รวมทั้งเป็นสารก่อมะเร็ง ยิ่งไปกว่านั้นเนื่องจากเป็นนิสิตชั้นปีต้นๆ ซึ่งยังขาดทักษะความชำนาญในการผ่าชำแหละโครงสร้างต่างๆ ทางกายวิภาคที่มีขนาดเล็ก ทำให้อาจารย์ใหญ่มักชำรุดเสียหาย ไม่สามารถนำมาศึกษาทบทวนด้วยตนเองต่อได้ ส่งผลให้ผู้เรียนไม่เข้าใจในเนื้อหาบทเรียน

ผศ.สพ.ญ.ภาวนา  กล่าวเพิ่มเติมว่า หุ่นเหล่านี้มีลักษณะโครงสร้างทางกายวิภาคครบถ้วนตามความเป็นจริง มีเนื้อหาที่ตรงกับบทเรียน สามารถนำมาใช้งานเพื่อการเรียนการสอนกายวิภาคในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี ผลงานนวัตกรรมนี้ได้ยื่นขอรับการจดอนุสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันได้นำมาใช้ในห้องเรียนเพื่อเสริมและทดแทนอวัยวะที่ขาดแคลน หรือร่างอาจารย์ใหญ่ที่ดองด้วยน้ำยาฟอร์มาลีน ผู้เรียนสามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมสื่อสามมิติ และใช้คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตในการสแกน  AR Code นอกจากนี้ยังสามารถนำสื่อเพื่อการเรียนการสอนนี้มาประยุกต์ใช้ทางคลินิก เช่น พยาธิคลินิก หรือใช้อธิบายลักษณะสภาพปกติและความผิดปกติที่เกิดกับสมองเยื่อหุ้มกะโหลกศีรษะ และหลอดเลือดที่มาเลี้ยงได้

“อนาคตอยากพัฒนาชุดหุ่นจำลองเพื่อใช้กับอวัยวะส่วนอื่นๆ ของร่างกายสุนัข รวมถึงสัตว์ชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ยังต้องการบริษัทผู้ร่วมลงทุนทั้งภาคเอกชน หรือหน่วยงานภาครัฐที่มีความสามารถในการผลิตสื่อการเรียนการสอนโดยใช้วัสดุทางเลือกในการผลิตอวัยวะจำลองกายวิภาคทางสัตวแพทย์ รวมถึงพัฒนาด้านการออกแบบและการตลาด เพื่อให้ชุดหุ่นจำลองนี้มีคุณภาพดีและเพียงพอกับความต้องการ” ผศ.สพ.ญ.ภาวนา เผยถึงแผนงานที่จะพัฒนาต่อไปในอนาคต

ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สถาบันทรัพย์สินทางปัญญา จุฬาฯ โทร. 0-2218-4195-7 ต่อ 109  

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า