รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 ธันวาคม 2563
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการรับรองมาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองระดับนานาชาติจาก AAALAC International ซึ่งเป็นองค์กรรับรองมาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองในด้านวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์สัตว์ทดลองชั้นนำทั่วโลกเข้าร่วม ตอกย้ำมาตรฐานทั้งคุณภาพและจริยธรรมในการเลี้ยงและงานวิจัยในสัตว์ทดลองของศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาฯ ที่ได้รับการประเมินในระดับ “Fully Accredited” โดยศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ในฐานะประธานกรรมการบริหาร (CEO) ของศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาฯ รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณมาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองในระดับนานาชาติ จาก AAALAC International เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา
AAALAC International เป็นองค์กรรับรองมาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองในด้านวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์สัตว์ทดลองชั้นนำทั่วโลกต่างเข้าร่วม โดยศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาฯ ได้ผ่านการตรวจประเมินไปเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 โดย AAALAC International ได้มอบโล่เพื่อประกาศการได้รับรองมาตรฐาน ในฐานะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ ได้ยกระดับมาตรฐานการเลี้ยงและการวิจัยไพรเมทให้ได้เทียบเท่านานาประเทศ ทำให้ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาฯ ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยไพรเมทระดับชาติแห่งแรกและแห่งเดียวของไทยที่ได้รับมาตรฐานระดับนานาชาติ และเป็นเครื่องยืนยันถึงศักยภาพการวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงภาวะวิกฤติ ที่ได้ร่วมขับเคลื่อนงานวิจัยวัคซีนโควิด-19 การได้มาตรฐาน AAALAC International จะเป็นเครื่องยืนยันที่ทุกคนสามารถให้ความมั่นใจในผลงานวิจัยและผลการทดสอบที่ได้จากศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาฯ
ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาฯ มุ่งมั่นจะรักษามาตรฐาน AAALAC International ให้ยั่งยืน ทั้งการประเมินตนเอง และเตรียมพร้อมรับการประเมินทุกสามปี และพัฒนาอีกขั้นด้วยการก่อสร้างห้องปฏิบัติการ ABSL-3 module ไว้รองรับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนแบบครบวงจรครั้งแรกในประเทศเพื่อให้ทันเหตุการณ์กับวิกฤตโลกที่เกิดขึ้น โดยมีโครงการก่อสร้างอาคารวิจัย ABSL-2 และ 3 รองรับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนให้ครบวงจร ครอบคลุมการวิจัยและพัฒนายาและวัคซีนทั้งโรคอุบัติซ้ำและโรคเกิดใหม่ เพื่อความมั่นคงและยั่งยืนด้านสาธารณสุขของประเทศ นอกจากนี้ยังเตรียมพร้อมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานเทคโนโลยีชีวภาพ ด้วยมาตรฐาน OECD-GLP หรือมาตรฐานห้องปฏิบัติการที่ดีขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นมาตรฐานสำคัญในการวิจัยและพัฒนายาและวัคซีนตัวใหม่ ให้รองรับเศรษฐกิจ new S-curve อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจเพื่ออนาคต โดยศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาฯ ได้รับการตรวจประเมินเบื้องต้นโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 และจะได้รับการประเมินเต็มรูปแบบในวันที่ 18 – 22 มกราคม 2564 ซึ่งจะทำให้ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาฯ เป็นศูนย์วิจัยไพรเมทที่แรกและที่เดียวของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน OECD-GLP รองรับการวิจัยและพัฒนายาตัวใหม่ สร้างรายได้ พาประเทศหลุดพันกับดักรายได้ปานกลางด้วยเศรษฐกิจฐานเทคโนโลยีชีวภาพของไทย
จุฬาฯ จัดงานเลี้ยงรับรองผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมการประชุมสามัญ ทปอ. ครั้งที่ 1/2568
อบรมเชิงปฏิบัติการ “S.M.A.R.T Communication: พัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อสร้างผลลัพธ์และบรรยากาศที่ดี”
ขอเชิญชวนคณาจารย์จุฬาฯ สมัครและเสนอชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาคณาจารย์ จุฬาฯ พ.ศ. 2568
3-10 มี.ค. 2568
ขอเชิญร่วมงาน “วันอ้วนโลก“ World Obesity Day 2025 “อ้วนแล้วเปลี่ยน… เริ่มวันนี้ เพื่อชีวิตที่ยั่งยืน” 1 มีนาคม 2568 ณ ชั้น 9 อาคาร SiamScape
1 มีนาคม 2568 เวลา 09.30-15.00 น. ชั้น 9 อาคาร SiamScape
จุฬาฯ ร่วมเปิดงาน “เทศกาลบางแสนเพลิน” กิจกรรมสร้างสรรค์จากงานวิจัยสู่ชุมชน
พิธีบวงสรวงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่จุฬาฯ อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ขึ้นประดิษฐาน ณ โถงอาคารมหาจุฬาลงกรณ์
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้