รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
10 ธันวาคม 2563
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
เมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2563 ณ พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ สภาวัฒนธรรมอำเภอแม่ริม กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ภาคเหนือ สถาบันการศึกษา องค์กรต่างๆ และประชาชนชาวเชียงใหม่ จัดงานวันพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ประจำปี 2563 เพื่อเชิดชูพระเกียรติพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ขัตติยนารีผู้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจนานัปการอันเป็นคุณูปการต่อดินแดนล้านนา
ในงานมีพิธีบวงสรวง ณ พระอนุสาวรีย์พระราชชายาเจ้าดารารัศมี และพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายแด่พระราชชายาเจ้าดารารัศมี โดยมี ศ.กิตติคุณ นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล นายกสภามหาวิทยาลัย และ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานในพิธี ตามลำดับ และพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะพระราชชายาเจ้าดารารัศมี โดยมี รศ.ดร.สันติ ฉันทวิลาสวงศ์ ประธานคณะกรรมการจัดงานฯ กล่าวสดุดีพระเกียรติคุณ
ในโอกาสนี้ นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงานสืบสานประเพณีและการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม ในงานมีการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ถวายโดยกลุ่มศิลปิน ชมรม สถานศึกษา องค์กรต่างๆ การออกร้านสาธิตและจำหน่ายสินค้าศิลปหัตถกรรมล้านนา กิจกรรมกาดหมั้ว และการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม โดยมีประชาชนชาวเชียงใหม่และประชาชนในพื้นที่ต่างๆ มาร่วมงานจำนวนมาก รวมทั้งได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ด้วย
พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ทรงเป็นผู้เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพระบรมราชวงศ์จักรีกับดินแดนล้านนา ทรงสร้าง พระตำหนักดาราภิรมย์ และทรงใช้พระตำหนักหลังนี้ปฏิบัติพระกรณียกิจอันเป็นคุณูปการ ทั้งทางด้านการเกษตรและศิลปวัฒนธรรม อาทิ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมล้านนาให้เป็นที่เชิดหน้าชูตาของชาวเหนือ ทรงสร้างสวนทดลองการเกษตร ชื่อ “สวนเจ้าสบาย” ดอกกุหลาบพันธุ์ใหม่ที่ทรงปลูกและเป็นพันธุ์ที่ทรงโปรดที่สุดเป็นกุหลาบดอกใหญ่ สีชมพู กลิ่นหอมเย็น ทรงตั้งชื่อถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบรมราชสวามีว่า “จุฬาลงกรณ์”
“พระตำหนักดาราภิรมย์ในพระราชชายาเจ้าดารารัศมี” เป็นมรดกล้ำค่าของแผ่นดินที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับเกียรติให้เป็นผู้สืบทอดและพิทักษ์รักษา โดยได้ทำการบูรณะพระตำหนักขึ้นใหม่ให้สมบูรณ์งดงามใกล้เคียงสภาพเดิม และจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงสิ่งของเครื่องใช้อันเกี่ยวเนื่องกับ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี และพระกรณียกิจต่างๆ ของพระองค์ท่าน
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาฯ ได้ปรับปรุง พระตำหนักดาราภิรมย์และพื้นที่โดยรอบ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงสิ่งของเครื่องใช้อันเกี่ยวเนื่องกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ระหว่างล้านนากับสยาม ซึ่งมีประชาชนมาเยี่ยมชมและร่วมงานวันพระราชชายา เจ้าดารารัศมีเป็นจำนวนมากทุกปี ทำให้ประชาชนได้เรียนรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ งานในครั้งนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่จุฬาฯ มีส่วนร่วมซึ่งเชื่อมโยงกับสังคมได้เป็นอย่างดี
นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า พระราชชายาเจ้าดารารัศมีเป็นผู้ทรงคุณูปการอันประเสริฐต่อพี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่ ทั้งด้านการเมือง การศึกษา ศาสนา การเกษตร และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมล้านนา ก่อให้เกิดประโยชน์และสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ส่งผลให้จังหวัดเชียงใหม่ดำรงความเป็นนครแห่งศิลปวัฒนธรรม ประเพณีล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะการแสดงด้านนาฏศิลป์และการฟ้อนรำ พิธีการและกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในงานวันพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อพระราชชายาเจ้าดารารัศมีที่ทรงสร้างความเจริญต่อจังหวัดเชียงใหม่ และสมควรสืบสานให้เป็นวัฒนธรรมประเพณีของ อ.แม่ริมสืบไป
รศ.ดร.สันติ ฉันทวิลาสวงศ์ ประธานคณะกรรมการจัดงาน เปิดเผยว่า พระราชชายาเจ้าดารารัศมีเป็นบุคคลที่เชื่อมอาณาจักรล้านนากับกรุงเทพฯ และโลกตะวันตก ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 กรุงเทพฯ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากการแพร่เข้ามาของโลกสมัยใหม่ หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงย้ายกลับมาประทับที่จังหวัดเชียงใหม่ ทรงนำความทันสมัยเข้ามายังล้านนา เช่น ทรงนำพืชพันธุ์ทางการเกษตรจากต่างประเทศ เช่น ลำไย ดอกกุหลาบเข้ามาปลูก รวมถึงเรื่องประเพณีฟ้อนรำ ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งมีการผสมผสานกันอย่างแน่นแฟ้นระหว่างศิลปะล้านนากับกรุงเทพฯ และสืบสานมาจนถึงปัจจุบัน งานวันพระราชชายาเจ้าดารารัศมีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ทำให้ประชาชนและหน่วยงานต่างๆ เกิดความตื่นตัว นำแนวคิดของพระองค์ท่านมาอนุรักษ์และต่อยอด นำไปสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ งานฝีมือต่างๆ ของชาวบ้านและชุมชนจนประสบความสำเร็จซึ่งจะเป็นแบบอย่างแก่อำเภอและจังหวัดอื่นๆ ต่อไป
ร.ต.ท.วรชัย แก้วปัญญา รองสารวัตร กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทำหน้าที่พิธีกรในงานวันพระราชชายาเจ้าดารารัศมีมาเป็นเวลาเกือบ 30 ปีแล้ว เปิดเผยว่า งานวันพระราชชายาเจ้าดารารัศมี 9 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันที่หน่วยงานต่างๆ จากทุกภาคส่วนและประชาชนทุกหมู่เหล่าในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงพร้อมใจกันมาร่วมงาน เพื่อรำลึกถึงพระองค์ท่านซึ่งทรงเป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวทางจิตใจของคนล้านนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจังหวัดเชียงใหม่ที่จะดำเนินรอยตามพระองค์ท่าน ในอดีตก่อนหน้าที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเข้ามาดูแลพระตำหนักดาราภิรมย์ กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 5 ได้ใช้พื้นที่พระตำหนักดาราภิรมย์นี้เป็นที่ทำการและมีการตั้งชื่อค่าย ตชด.ว่าค่ายดารารัศมี ตชด.ทุกรุ่นจึงมีความผูกพันกับพระองค์ท่าน
คุณวรรณา เลิศเกียรติดำรงค์ นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ภาคเหนือ นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เผยว่าตนมาร่วมพิธีบวงสรวงและพิธีวางพวงมาลาเนื่องในวันพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเป็นประจำทุกปีโดยสมาคมฯ มีส่วนร่วมในคณะกรรมการจัดงานด้วย พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงทำคุณงามความดีและเป็นที่นับถือของชาวล้านนาเป็นอย่างยิ่ง งานวันที่ 9 ธันวาคมเป็นงานที่ชาวเชียงใหม่จดจำและมาร่วมงานเพื่อรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน
รศ.นพ.รณภพ เอื้อพันธเศรษฐ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาร่วมถวายพวงมาลาในงานวันพระราชายาเจ้าดารารัศมีเป็นประจำทุกปี เป็นงานประจำปีของจังหวัดเชียงใหม่ที่หน่วยงานต่างๆ และคนในท้องถิ่นมีส่วนร่วม รวมทั้งมีกาดหมั้วโดยมีพ่อค้าแม่ค้านำสินค้ามาขาย การที่จุฬาฯได้บูรณะพระตำหนักดาราภิรมย์และจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ถือว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ทางภาคเหนือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง
น.ส.จิณณ์พัชญ์ชา กำแหงจำรูญ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เผยถึงการได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์เป็นครั้งแรกว่า เหมือนได้ย้อนอดีตกลับไปในช่วงเวลาที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ ได้เห็นเครื่องแต่งกาย ภาชนะต่างๆ ในยุคสมัยนั้นซึ่งเป็นของเก่าแก่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเพิ่มขึ้น อยากเชิญชวนผู้สนใจมาชมพิพิธภัณฑ์ด้วยตาของตนเอง และสัมผัสบรรยากาศที่นี่ซึ่งมีความร่มรื่น งดงาม
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้