รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 ธันวาคม 2563
ข่าวเด่น
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสถานีวิทยุแห่งจุฬาฯ จัดโครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ปีที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “Waste a Moment เปิดประเด็นเรื่องขยะ” มุ่งสร้างความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะ และส่งเสริมการจัดการขยะแบบครบวงจรและยั่งยืน ให้กับนักเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ
งานแถลงข่าวโครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้รับเกียรติจากนายจตุพร บุรุษพัฒน์
ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกล่าวเปิดงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม 2563 ณ ห้อง Executive 1 ชั้น B โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส
ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่าปัจจุบันขยะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก จึงเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคนเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาการจัดการขยะ เช่น ขยะพิษ และขยะพลาสติก แม้จะมีการจัดการปัญหาไปบ้างแล้ว แต่ยังคงต้องการการจัดการอย่างยั่งยืน เพื่อให้แก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว โดยเฉพาะเยาวชนที่เป็นกำลังสำคัญในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมในอนาคต ทั้งในระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และระดับประเทศ โครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ด้วยการสร้างการเรียนรู้นอกห้องเรียนสำหรับเยาวชนจากทุกภูมิภาคของประเทศ เสริมสร้างความเป็นผู้นำให้กับเยาวชนเพื่อทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน รวบรวมความรู้ให้เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการเพื่อถ่ายทอดความรู้สู่สังคม อีกทั้งสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมอันเป็นหัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในการส่งมอบนวัตกรรมสู่สังคมเพื่อความยั่งยืน
“Envi Mission เป็นภารกิจที่จุฬาฯ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก และเราคาดหวังว่าจะได้รับผลสัมฤทธิ์ขึ้นเรื่อยๆ จากจำนวน 40-50 โครงการของเด็กๆ ที่เข้ามาร่วม อาจจะมีจำนวน 5-10 % ที่จะสามารถพัฒนาต่อไปได้ เราอยากเห็นสังคมเปลี่ยน โลกเปลี่ยน ทำเท่าที่จะทำได้ โดยเริ่มจากจุดเล็กๆ นี้ เพื่อไม่ให้เป็นการ waste a moment หรือการสูญเสียโอกาสจริงๆ” ศ. ดร.สุพจน์ กล่าว
อ.สุภาพร โพธิ์แก้ว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการสถานีวิทยุแห่งจุฬาฯ ในฐานะสื่อมวลชน ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด ทั้งด้านการศึกษาและเผยแพร่ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความตระหนัก ผ่านรายการ Envi Insider ทางสถานีวิทยุจุฬาฯ โดยคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงเกิดโครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และสถานีวิทยุแห่งจุฬาฯ โครงการนี้ได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 2 โดยมีเป้าหมายเพื่อปลูกฝังแนวคิดรักษ์สิ่งแวดล้อมให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ส่งเสริมให้นักเรียนนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนของตนเอง ผ่านการทำโครงงาน ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาขยะมูลฝอยเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมสำคัญของประเทศ ในแต่ละปีปริมาณขยะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ในช่วงปีที่ผ่านมาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่ประชาชนต้องกักตัวอยู่ในที่พักอาศัย ส่งผลให้ปริมาณขยะพลาสติกจากการสั่งสินค้าและอาหารในรูปแบบออนไลน์หรือเดลิเวอรีเพิ่มมากขึ้นกว่า 15% จึงเป็นที่มาของหัวข้อโครงการในปีนี้ที่เน้นเรื่องการจัดการขยะ ทั้งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งพันธกิจของสถานีวิทยุจุฬาฯ ที่ต้องการสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับพลเมืองยุคใหม่ ที่ไม่เพียงมีความรู้อยู่ในตัวเองเท่านั้น แต่สามารถมองบริบทรอบข้าง มีจิตสำนึกที่ดีต่อชุมชน และพร้อมที่จะร่วมพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืนไปพร้อม ๆ กัน
“สถานีวิทยุจุฬาฯ มีภารกิจที่สำคัญการสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับประชาชน บนแพลตฟอร์มที่หลากหลาย โครงการ Envi Mission ก็เป็นหนีงในภารกิจที่สำคัญซึ่งได้ดำเนินงานมาเป็นปีที่สองแล้ว เรากำลังพูดถึงการสานสร้างสังคมอุดมปัญญาและถักทอองค์ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งนำไปสู่การลงมือทำ พลังของเยาวชนคนรุ่นใหม่ จะเป็นพลังสำคัญที่ช่วยให้เราขับเคลื่อนทำให้เรื่องของสิ่งแวดล้อมเกิดความเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีและยั่งยืนขึ้น” อ.สุภาพรกล่าวเพิ่มเติม
ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดีด้านยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า รูปแบบการดำเนินโครงการเป็นการจัดกิจกรรมค่ายพักแรม 3 วัน 2 คืน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายในค่าย นักเรียนจะได้เรียนรู้แนวคิดและหลักการการจัดการขยะแบบครบวงจรและยั่งยืน และได้เยี่ยมชมการจัดการขยะแบบครบวงจรจากสถานที่จริง อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้นักเรียนนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากค่ายไปต่อยอดผ่านการทำโครงงานการจัดการขยะในชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีสื่อประกอบการเรียนรู้ออนไลน์ ภายใต้ Chula MOOC ตอน ขยะ: ปัญหาสำคัญหรือทองคำของสังคม สำหรับให้ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจด้านการจัดการขยะได้เรียนรู้ด้วยตนเองอีกด้วย
“โครงการจะใช้ระยะเวลาประมาณ 6-7 เดือนในการค้นหาผู้ชนะ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งภารกิจที่หนักพอสมควรสำหรับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ต้องขอบคุณทุกๆ ภาคส่วนที่ช่วยกรุณาสนับสนุนโครงการ” ศ. ดร.พิสุทธิ์กล่าว
คุณอัษฎาพร ไกรพานนท์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า โครงการ Envi Mission ถือเป็นโครงการที่สอดคล้องกับวาระแห่งชาติ ซึ่งมีประเด็นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญ โดยปี 2564 จะเป็นปีที่กระทรวงจะดำเนินการในเรื่องของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ “ขยะ” อย่างจริงจัง
“เรื่องการจัดการเรื่องขยะในปัจจุบัน ไม่ใช่แค่การทำ 3 R คือ Reduce, Reuse, Recycle แต่ต้องเป็น 4 R คือเพิ่ม การคิดใหม่ หรือ Re-Think เข้ามาเป็นอันดับแรก คือการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มต้นจากตัวเราเอง หาเราคิดใหม่ ทำใหม่ โลกและสังคมก็จะเปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน”คุณอัษฎาพร กล่าวทิ้งท้าย
ภายหลังจากการแถลงข่าว ยังมีการเสวนาในหัวข้อ “ขยะ ปัญหาสำคัญหรือทองคำของสังคม” โดยมี ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดี จุฬาฯ คุณนพเก้า สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้จัดการหัวหน้ากลุ่มงานสื่อสารองค์กรและพัฒนาเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คุณสมเจตนา ภาสกานนท์ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด คุณสุรัชนี ลิ่มอติบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เหรียญทอง ลามิทิวบ์ จำกัด และคุณพินทุ์สุดา เปี่ยมปิติ ผู้จัดการส่วนกิจกรรมองค์กรและสังคม ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ร่วมเสวนา ดำเนินรายการโดย ดร.ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา ผู้อำนวยการโครงการ Industrial Liaison Program คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นกิจกรรมปิดท้ายงาน
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถติดตามรายละเอียดขั้นตอนการรับสมัครและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่เว็บไซต์ www.curadio.chula.ac.th สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ส่วนงานสื่อสารองค์กร สถานีวิทยุจุฬาฯ โทร. 0-2218-3970-74 ต่อ 102-103 หรือ 081-989-7956
อธิการบดีจุฬาฯ ชี้อนาคตการศึกษาที่ขับเคลื่อนด้วย AI ความท้าทายของสถาบันอุดมศึกษาที่จะต้องปรับบทบาทใหม่
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ จัดโครงการ “ร่วมใจทำความดี บริจาคโลหิต ต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก และทอดพระเนตรการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย-สากล”
เทศกาลความสนุกส่งท้ายปี “Siam Street BIG RETURN 2024” 20-22 ธันวาคมนี้ที่สยามสแควร์ ชมฟรีตลอดงาน
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จัดงานประกาศผลมูลค่าแบรนด์องค์กร ASEAN and Thailand’s Top Corporate Brands 2024 มอบรางวัลสุดยอดแบรนด์องค์กรและรางวัลหอเกียรติยศ
จุฬาฯ จัดงาน “Chula Townhall” เปิดวิสัยทัศน์พัฒนามหาวิทยาลัยรอบทิศโดยมีนิสิตเป็นศูนย์กลาง พร้อมส่งความสุขปีใหม่ให้ชาวจุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้