รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 ธันวาคม 2563
ข่าวเด่น
นักวิชาการจุฬาฯ และผู้เขี่ยวชาญจากหน่วยงานต่างๆ ร่วม
เสวนาหัวข้อ “ขยะ ปัญหาสำคัญหรือทองคำของสังคม”เสนอแนวทางการจัดการขยะให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างยั่งยืน ในงานแถลงข่าว โครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับสถานีวิทยุแห่งจุฬาฯ จัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้อง Executive 1 ชั้น B โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส
วิทยากรผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดี จุฬาฯ คุณนพเก้า สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้จัดการหัวหน้ากลุ่มงานสื่อสารองค์กรและพัฒนาเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คุณสมเจตนา ภาสกานนท์ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด คุณสุรัชนี ลิ่มอติบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เหรียญทอง ลามิทิวบ์ จำกัด และคุณพินทุ์สุดา เปี่ยมปิติ ผู้จัดการส่วนกิจกรรมองค์กรและสังคม ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ดำเนินรายการโดย ดร.ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา ผู้อำนวยการโครงการ Industrial Liaison Program คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
ผศ. ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดี จุฬาฯ กล่าวถึงเป้าหมายหลักของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน ได้แก่ การสร้างผู้นำแห่งอนาคต การสร้างนวัตกรรมและงานวิจัยที่มีผลกระทบต่อสังคม และการสร้างความยั่งยืน ดังนั้นในเรื่องของสิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งที่จุฬาฯ ตระหนักอยู่เสมอ ยกตัวอย่างโครงการ Chula zero waste ซึ่งเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จ สามารถสร้างผลกระทบได้ในระดับที่น่าพอใจ ก็มีแผนปฏิบัติการการกำจัดขยะมูลฝอยและขยะอันตรายอย่างยั่งยืน ซึ่งเน้นที่เรื่องการจัดระบบและการสร้างนวัตกรรมองค์กร ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 -2564 ระยะเวลา 5 ปี โดยเน้นในเรื่องของการสร้างจิตสำนึกและความตระหนักรู้ (awareness) โดยในแผนงานมีทั้ง กลไกการทำงานด้านนโยบาย การป้องกันการเกิดขยะที่ต้นทาง การรวบรวมขยะ การคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะอินทรีย์ และการจัดการเรียนการสอน ซึ่งสามารถลดขยะภายในมหาวิทยาลัยไปได้ 493 ตัน ซึ่งแท้จะเป็นปริมาณที่ไม่มากนัก แต่ก็ยังคงมีช่องทางให้สามารถลดได้อีกมาก แต่ส่วนที่สำคัญก็คือการเกิดค่านิยม zero waste เกิดขึ้นทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย
“ไม่มีไอเดียไหนที่ไม่ดี การไม่มีไอเดียต่างหากที่ไม่ดี ดังนั้นขอให้เปิดใจ ทุกคนในฐานะพลเมืองโลก (global citizen) สามารถกำหนดโลกที่เราอยากจะอยู่ได้ Envi Mission เป็นอีกหนึ่งพันธกิจที่จะสร้างพวกเราไปสู่การเป็นพลเมืองที่ดีโลก” ผศ. ดร.ชัยพร กล่าวในที่สุด
คุณนพเก้า สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้จัดการหัวหน้ากลุ่มงานสื่อสารองค์กรและพัฒนาเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เกี่ยวข้องและให้ความสำคัญกับเรื่องของธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นหลัก เมื่อพูดถึงเรื่องของความยั่งยืน การทำงานของตลาดหลักทรัพย์ จะมีการพิจารณาในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและผลกระทบทางสังคมร่วมด้วย ดังนั้น ESG หรือ Environment, Social and Governance คือ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล จึงเป็น 3 เงื่อนไขสำคัญของเรื่องความยั่งยืน และทางตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ปรับตัวเองให้เป็นแพลตฟอร์มในการสื่อสาร ส่งเสริม และให้ความรู้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะบริษัทจดทะเบียนต่างๆ เพื่อความโปร่งใสขององค์กร ซึ่งในส่วนของตลาดหลักทรัพย์มีโครงการจัดการขยะเช่นกัน ซึ่งช่วยลดการสร้างขยะและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เป็นผลที่น่าพอใจ
“เราแยกขยะมากถึงกว่า 200 รายการ โดยอยู่บนแนวคิดหลักที่เรียกว่า ลบคำว่าขยะออกไปจากพจนานุกรมของเราเลย เราไม่ได้โฟกัสที่การจัดการ แต่เราต้องการให้ทุกคนเริ่มต้นมองว่า ไม่มีอะไรที่เป็นขยะ ในเมื่อไม่มีอะไรที่เป็นขยะ นั่นแปลว่ามันต้องมีทางไปต่อ เพียงแต่ทุกวันนี้คนเรามักชอบการบริโภคแบบสำเร็จ คือจบลงตรงที่การบริโภค” คุณนพเก้า กล่าว
คุณสมเจตนา ภาสกานนท์ ผู้อำนวยการด้านพัฒนาความยั่งยืน สำนักบริหารความยั่งยืน ธรรมาภิบาลและสื่อสารองค์กร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กล่าวถึงยุทธศาสตร์ความยั่งยืน ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้เข้าร่วมเป็นระยะเวลา 5 ปีแล้วนั้น หนึ่งใน 12 ข้อหลักของยุทธศาสตร์ที่ทางบริษัทจะต้องส่งมอบผลการปฏิบัติงานในช่วงปลายปีนี้ ก็คือเรื่องของการศึกษา ผู้บริหารของเครือเจริญโภคภัณฑ์มองว่าสิ่งที่จะสามารถให้กลับคืนสู่สังคมและเป็นสิ่งที่ยั่งยืนที่สุด ก็คือเรื่องการศึกษา เครือเจริญโภคภัณฑ์มีธุรกิจที่หลากหลาย แบ่งออกเป็น 14 กลุ่มธุรกิจ ใน 20 ประเทศทั่วโลก จึงมีความคุ้นเคยเกี่ยวกับเรื่องของขยะชุมชนในทั้ง 20 ประเทศด้วยเช่นกัน เฉพาะในอาเซียน ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 2 ของประเทศที่ผลิตขยะมากที่สุด ตัวเลขประมาณ 2 กิโลกรัมต่อคน/วัน รองจากประเทศสิงคโปร์ สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาเรื่องขยะ เป็นปัญหาที่สำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับที่บริษัทซึ่งประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอาหารเป็นหลัก และมีโครงการที่จะลดขยะประเภท food waste ให้เป็นศูนย์อยู่แล้ว และอยู่ในระหว่างการศึกษาหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการทำ zero food waste อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
“ผมเชื่อว่าขยะไม่ใช่ปัญหา และสามารถกลายเป็นทองได้ ซึ่งต้องอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเราสามารถเริ่มจากจุดเล็กๆ ได้ ไม่ต้องมองให้มันซับซ้อนจนเกินไป” คุณสมเจตนา กล่าวเพิ่มเติม
คุณสุรัชนี ลิ่มอติบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เหรียญทอง ลามิทิวบ์ จำกัด กล่าวถึงบทบาทและแนวคิดขององค์กรที่มีต่อเรื่องปัญหาการจัดการขยะ จนนำไปสู่การผลิตบรรจุภัณฑ์หลอดบีบลามิเนต (laminate tube) ที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ 100 % เป็นอันดับที่ 5 ของโลก และประสบความสำเร็จจนสามารถผ่านมาตรฐานต่างๆ และคว้าดีลทางด้านธุรกิจจากบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ และอื่นๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเรื่องของการทำธุรกิจและการจัดการสิ่งแวดล้อมสามารถพัฒนาให้ไปในทิศทางที่สอดคล้องกันได้ สำหรับในเรื่องของการส่งบรรจุภัณฑ์ไปรีไซเคิลนั้น คุณสุรัชนี ย้ำให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการได้รับการันตีและรับรองคุณสมบัติว่าเป็นวัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้จริงๆ หากไม่เช่นนั้น จะเป็นการทำให้กระบวนการรีไซเคิล (recycle stream) เสียหาย วัสดุที่ออกมาไม่ได้มาตรฐาน เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และทำให้ผู้ผลิตที่มีความตั้งใจดีในการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ เสียกำลังใจได้
“เรื่องของการจัดการขยะ เป็นเรื่องที่ยากและท้าทายมากนะคะ งแม้แต่เราที่อยู่ในสายการผลิตเองก็ยังดูไม่ออกเลยว่าอันนี้เป็นพลาสติกประเภทไหน รีไซเคิลได้ไหม คิดว่าน้องๆ ที่เข้าร่วมโครงการ Envi Mission น่าจะเป็นกำลังสำคัญที่จะสามารถนำความรู้กลับไปสู่ชุมชนได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทรัพยากรของประเทศและโลกได้อย่างมหาศาล” คุณสุรัชนีกล่าวทิ้งท้ายไว้
คุณพินทุ์สุดา เปี่ยมปิติ ผู้จัดการส่วนกิจกรรมองค์กรและสังคม ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในฐานะผู้ผลิตไฟฟ้า แน่นอนว่าต้นทางของการผลิตย่อมหลีกเลี่ยงไม่พ้นการใช้ทรัพยากร จึงได้กำหนดเป็นอีกหนึ่งพันธกิจที่สำคัญของบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด คือการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม กิจการจะโตได้ สิ่งแวดล้อมและชุมชนจะต้องยั่งยืน โดยลดและควบคุมผลกระทบในเชิงลบให้ได้มากที่สุด ในการกำจัดของเสียจากระบวนการผลิตไฟฟ้า ทางบริษัทไม่ได้มองว่าของเสียที่เกิดขึ้นนั้นคือขยะ แต่ปรับแนวคิดในการมอง เช่น ของเสียที่เกิดจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน เช่น เถ้าถ่านต่างๆ สามารถนำไปผลิตอิฐบล็อกปูพื้นได้ ในการผลิตก๊าซธรรมชาติ ก็จะมีของเสียเป็นถ่านหินชีวมวล จึงได้มีการจัดตั้งโรงผลิตไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็ก โดยใช้วัสดุเหลือใช้จากการทำการเกษตรเช่น แกลบ มาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า เป็นต้น โดยมีหลักคิดง่ายๆ ว่าให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนและพื้นที่ เช่น พื้นที่มีขยะหรือเศษวัสดุเหลือใช้อะไรบ้าง ที่จะสามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้ เป็นต้น ส่วนปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นปลายทาง ก็ต้องย้อนกลับที่ต้นทางว่ามีการจัดการอย่างไรตั้งแต่ต้น ด้วยเชื่อว่าต้นทางดี ผลลัพธ์ปลายทางก็จะดีตามไปด้วย อีกหนึ่งคุณค่าหลักที่สำคัญของ เอ็กโก กรุ๊ป คือการใส่ใจกับผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งสิ่งแวดล้อมเองก็เป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียที่สำคัญเช่นกัน
“อยากมี ecosystem อย่างไร ก็ให้ออกแบบไปแบบนั้น อยากมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมแบบไหนก็ให้คิดถึงต้นทาง เราสามารถกำหนดได้เลยตั้งแต่ต้นทาง หากรอจนถึงปลายทาง บางอย่างมันไม่สามารถแก้ได้อีกแล้ว เริ่มจากสิ่งใกล้ๆ ตัว เริ่มจากสิ่งที่เราปฏิบัติได้เองทุกวันก่อน ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นแรงบันดาลใจ เริ่มจากสิ่งเล็กๆ ใกล้ๆ ตัว แต่เมื่อคิดถึงศาสตร์ทีจะนำมาใช้ให้คิดถึงศาสตร์ที่หลากหลายให้มากที่สุด”คุณพินทุ์สุดา กล่าว
สำหรับผู้ที่ต้องการรับชมการเสวนา ในหัวข้อ “ขยะ ปัญหาสำคัญหรือทองคำของสังคม” ย้อนหลัง สามารถรับชมได้ทาง Facebook: สถานีวิทยุจุฬาฯ CU RADIO https://www.facebook.com/curadio/videos/3504330049615344/
จุฬาฯ จัดงาน “สยามานุสสติ ผสาน…ปณิธาน” การแสดงทางศิลปวัฒนธรรมโดยนิสิตจุฬาฯ
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้