รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 ธันวาคม 2563
ข่าวเด่น
เมื่อวันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม 2563 ณ หอประชุมจุฬาฯ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย” ของมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับบริจาคทุนวิจัย 500 บาท จากคนไทย 1 ล้านคน เร่งผลิตวัคซีนโควิด-19 จากใบพืชเพื่อเตรียมทดสอบในมนุษย์ได้ทันภายในเดือนมิถุนายน 2563 พร้อมเปิดตัว “ทีมไทยแลนด์” ร่วมพัฒนาวัคซีนสานฝันคนไทยมีวัคซีนใช้เองจากฝีมือคนไทย 100% คาดพร้อมใช้ปลายปี 2564
ในโอกาสนี้มีพิธีลงนามความร่วมมือวิจัย พัฒนาและผลิตวัคซียป้องกันโรคจากไวรัสโควิด-19 ระหว่างองค์การเภสัชกรรม โดย นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด โดย ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง และบริษัท คินเจน ไบโอเทค จำกัด โดยนายมารุต บูรณะเศรษฐกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศใช้เองได้ตั้งแต่ต้นน้ำ ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยได้รับเกียรติจาก ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผศ.ดร.มณฑิรา นพรัตน์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมเป็นสักขีพยาน
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า “การจัดหาวัคซีนให้เพียงพอกับคนไทยทั้งประเทศราว 66.5 ล้านคน นับเป็นเรื่องท้าทายแต่ก็จำเป็น ไม่ว่าจะต้องติดต่อขอจองซื้อจากต่างประเทศ สั่งซื้อนำเข้ามา หรือหากสามารถผลิตวัคซีนได้เองในประเทศตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำแล้ว ล้วนเป็นสิ่งที่เราต้องดำเนินการควบคู่กันไป ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้จองซื้อและซื้อวัคซีนต้านโควิด-19 จาก บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด ไว้แล้ว จำนวน 26 ล้านโดส ซึ่งเพียงพอสำหรับคนไทย 13 ล้านคน และยังได้สนับสนุน วางแผนจัดหาวัคซีนโควิด-19 จากแหล่งอื่น โดยให้ความสำคัญสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ผลิตได้เองจากนักวิจัยไทยจากสถาบันต่าง ๆ ภายในประเทศที่ได้ผนึกกำลังกันเป็น “ทีมไทยแลนด์” ถือเป็นความหวัง เป็นความภูมิใจ และเป็นขีดความสามารถใหม่ของประเทศไทยที่เราจะผลิตวัคซีนได้เองตั้งแต่ต้นน้ำเพื่อลดการพึ่งพาต่างชาติ โดยกระทรวงสาธารณสุขจะให้การสนับสนุนทุกสรรพกำลังอย่างเต็มความสามารถผ่านสถาบันวัคซีนแห่งชาติ องค์การเภสัชกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้โครงการวัคซีนเพื่อคนไทยนี้สำเร็จลุล่วงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้ประเทศของเราข้ามผ่านสถานการณ์อันเลวร้ายกลับคืนสู่ภาวะปกติได้โดยเร็ว”
ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมกล่าวว่า “จุฬาลงกรณ์มหาลัยได้ขานรับนโยบายของกระทรวงฯ อย่างรวดเร็วด้วยการตั้ง บริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด บริษัท Holding Company ที่ให้การสนับสนุนกลุ่มสตาร์ทอัพจุฬาฯ จากการบ่มเพาะของศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) มีผลงานนวัตกรรมเชิงประจักษ์ ช่วยชาติ ช่วยคนไทยออกมามากมายในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะนวัตกรรมจากงานวิจัยของ บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ทอัพที่ก่อตั้งโดยนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ที่สามารถพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืชได้สำเร็จแล้วในระดับห้องปฏิบัติการ และพร้อมก้าวไปอีกขั้นเพื่อผลิตวัคซีนนี้ได้เองภายในประเทศตั้งแต่ต้นน้ำในโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย” เพื่อดูแลพี่น้องคนไทยและประเทศไทยให้กลับมาหยัดยืนได้อย่างแข็งแรงอีกครั้ง ซึ่งความสำเร็จของการค้นคว้า วิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนโควิด-19 ของบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ในครั้งนี้นอกจากจะช่วยสร้างความหวังให้กับคนไทยทั้งชาติสามารถก้าวผ่านวิกฤติโควิด-19 ไปได้ในเร็ววัน ยังเป็นการเปิดมิติใหม่ให้กับการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการพัฒนายาและวัคซีนให้กับประเทศไทย ต่อยอดเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพให้กับคนไทย และจะสร้างรายได้ใหม่ให้กับประเทศไทยได้อีกมาก”
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า “การจัดตั้งบริษัท Holding Company ตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่จุฬาฯ ขานรับและได้ดำเนินการภายใต้ชื่อ บริษัท ซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จำกัด และมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จึงรองรับและขับเคลื่อนโครงการพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด และภาคีเครือข่าย “ทีมไทยแลนด์” ที่ร่วมลงนามประกาศความร่วมมือกันอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ ประกอบด้วย องค์การเภสัชกรรม และ บริษัท คินเจน ไบโอเทค จำกัด ให้สามารถพัฒนานวัตกรรมได้อย่างก้าวกระโดดและทันต่อความต้องการของประเทศและคนไทย ผ่านโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย” สนับสนุนนักวิจัยไทยค้นคว้าวัคซีนโควิด-19 ที่เราจะเริ่มเชื้อเชิญคนไทยให้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นหนึ่งในทีมไทยแลนด์ไปด้วยกันกับเราด้วยการบริจาคเงินคนละ 500 บาท ให้ได้ 1 ล้านคน เพื่อนำมาเป็นทุนวิจัยและพัฒนาวัคซีนเพื่อคนไทยโดยคนไทยต่อไป โดยจะเริ่มบริจาคพร้อมกันทั่วประเทศ ในวันศุกร์ที่ 18 ธันวาคมนี้ ตั้งแต่เวลา0 9.00 น. เป็นต้นไป”
การบริจาคในโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย” มูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอตอบแทนน้ำใจผู้บริจาค โดยผู้บริจาคทุกท่านจะได้รับสิทธิส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยประเภทบุคคลสำหรับกรมธรรม์ฉบับใหม่จากบริษัทประกันที่เข้าร่วมโครงการ และในกรณีผลิตวัคซีนสำเร็จและพร้อมให้บริการแก่บุคคลทั่วไป ผู้บริจาคจะมีสิทธิจองซื้อวัคซีนได้ก่อนบุคคลทั่วไป แต่จะได้สิทธิหลังจากการให้ การจำหน่าย หรือการใช้วัคซีนให้แก่บุคคลอื่นใดตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายหรือรัฐบาลกำหนด
ขั้นตอนและช่องทางการรับบริจาควัคซีนเพื่อคนไทย
1. สแกน QR CODE เพื่อลงทะเบียนและรับสิทธิในการบริจาคที่ www.CUEnterprise.co.th ได้ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2563 เวลา 9.00 น.
2. สามารถเลือกช่องทางการบริจาคได้ 2 ช่องทาง ได้แก่
2.1 ใช้ Mobile Banking Application ของธนาคารใดก็ได้แสกน QR CODE เพื่อบริจาคโดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี มูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ เมื่อเสร็จสิ้นการทำรายการจะได้รับ Bill Payment เป็นหลักฐาน
2.2 ทำรายการที่หน้าเคาเตอร์ธนาคารกรุงไทยได้ทุกสาขาทั่วประเทศ เพียงยื่นบัตรประชาชนและแจ้งว่าบริจาคให้โครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย” จะได้ Pay-in Slip เป็นหลักฐาน
โดยรับบริจาคท่านละ 500 บาท จำนวน 1 ล้านสิทธิ (จำกัด 1 คนต่อ 1 สิทธิ)
โครงการวัคซีนเพื่อคนไทยขอตอบแทนน้ำใจผู้บริจาคดังนี้
1. สิทธิส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยประเภทบุคคล เช่น สุขภาพ รถยนต์ อัคคีภัย ฯลฯ สำหรับกรมธรรม์ฉบับใหม่จากบริษัทประกันที่เข้าร่วมโครงการ เช่น บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ด้วยส่วนลด 12% – 23%**
2. ในกรณีผลิตวัคซีนสำเร็จและพร้อมให้บริการแก่บุคคลทั่วไป ผู้บริจาคจะมีสิทธิจองซื้อวัคซีนได้ก่อนบุคคลทั่วไป แต่จะได้สิทธิ “หลังจาก” การให้ การจำหน่าย หรือการใช้วัคซีนให้แก่บุคคลอื่นใด ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายหรือรัฐบาลกำหนด (หากมี)***
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2576-5500
ขอเชิญนิสิตจุฬาฯ เข้าร่วมโครงการ The Comprehensive course in Japanese Business Innovation Program หลักสูตรเชิงลึกด้านนวัตกรรมธุรกิจญี่ปุ่น
อบรม “เสริมศักยภาพธุรกิจอาหาร: การประเมินคาร์บอนเพื่อความสำเร็จในยุคใหม่”
วันเด็กสยาม 2568 “CHULA LAND แดนเด็กเล่น” ครั้งแรกที่จุฬาฯเปลี่ยน ‘สยาม’ ให้เป็น ‘สนาม’ เด็กเล่น
ศ.นพ.รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัลอายุรแพทย์ดีเด่น ด้านวิชาการ ประจำปี 2568
จุฬาฯ จัดพิธีตักบาตรเนื่องในโอกาสขึ้นพุทธศักราชใหม่ 2568
ขอเชิญอาจารย์และนิสิตจุฬาฯ เสนอชื่ออาจารย์หรือสมัคร เพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็น “อาจารย์แบบอย่างสภาคณาจารย์” ประจำปีการศึกษา 2567
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้