รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
17 ธันวาคม 2563
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ปัจจุบันปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่เกินค่ามาตรฐาน ได้สร้างความวิตกกังวลให้กับทุกคน รวมถึงคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ ซึ่งอาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ ผลิตภัณฑ์ “ไฟท์ฝุ่น สเปรย์” (PhytFoon Spray) ซึ่งพัฒนาจากผลงานวิจัยของ รศ.ภญ.ร.ต.อ.หญิง ดร.สุชาดา สุขหร่อง และ รศ.ภญ.ร.ท.หญิง ดร.ภัสราภา โตวิวัฒน์ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ สามารถลดปริมาณของฝุ่น PM2.5 ได้ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบันที่ต้องเผชิญกับฝุ่นจิ๋ว โดยได้มีการจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวผลิตภัณฑ์ไฟท์ฝุ่น (PhytFoon) เมื่อวันพุธที่ 16 ธันวาคม 2563 ณ ห้อง Ballroom A โรงแรมเรเนซองส์ ราชประสงค์ ในงานมีการเสวนาเรื่อง PM2.5 ภัยร้ายใกล้ตัว กำเนิดนวัตกรรมไฟท์ฝุ่น และมุมมองผู้ประกอบการในการขอใช้สิทธิผลงานวิจัย
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ตั้ง CU Enterpriseในการ บ่มเพาะบริษัทสตาร์ทอัพจำนวนมากเพื่อผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมออกสู่สังคม หนึ่งในนั้นคือ บริษัทเฮิร์บ การ์เดียน จำกัด ภายใต้ CU Pharmacy Enterprise คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ที่สร้างนวัตกรรมในการรับมือกับวิกฤตฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งเป็นปัญหาไม่เฉพาะในประเทศไทย แต่เป็นปัญหาในระดับภูมิภาค บทบาทของมหาวิทยาลัยนอกเหนือจากการสอน สร้างคน สร้างนวัตกรรมงานวิจัยช่วยเหลือสังคมไทย อีกบทบาทหนึ่งคือการทำงานร่วมกับภาคเอกชนในการนำนวัตกรรมที่มีผลกระทบและตอบโจทย์สังคมมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เผยแพร่สู่ภายนอกโดยไม่พึ่งพางบประมาณจากภาครัฐ ซึ่งสเปรย์ลดฝุ่น PM2.5 เป็นโมเดลที่ดีของการทำงานระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคเอกชนที่เห็นผลความสำเร็จเป็นอย่างดี
รศ.ภญ.ร.ต.อ.หญิง ดร.สุชาดา สุขหร่อง อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ผู้พัฒนาไฟท์ฝุ่น สเปรย์ เปิดเผยว่า งานวิจัยนี้เป็นนวัตกรรมทางสุขภาพของบริษัทเฮิร์บ การ์เดียน จำกัด สตาร์ทอัพภายใต้การบ่มเพาะของ CU Pharmacy Enterprise คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และโครงการศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) โดยร่วมมือกับอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฝุ่น
สำหรับที่มาของผลงานนวัตกรรมนี้ รศ.ภญ.ร.ต.อ.หญิง ดร.สุชาดาเผยว่า “ในทางวิทยาศาสตร์ ฝุ่นคืออนุภาคของแข็งที่แขวนลอยในอยู่อากาศ เราจึงคิดหาวิธีที่จะทำให้ฝุ่นตกลงมาสู่พื้น โดยใช้เทคโนโลยีทางเภสัชกรรมคิดค้นสารผสมที่สามารถดักจับฝุ่น PM2.5 ด้วยกลไกจำเพาะ ในการทำงานวิจัยใช้เวลามากกว่า 1 ปี จนได้สารผสมที่เป็นสารจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม สารผสมนี้สามารถทำให้ PM2.5 เกาะรวมตัวกัน ซึ่งได้มีการพิสูจน์ลักษณะของฝุ่นที่ตกลงมาสู่พื้นหลังการใช้สารฉีดพ่นด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่าฝุ่นมีขนาดใหญ่ขึ้นและไม่สามารถลอยกลับขึ้นไปในอากาศได้”
“ไฟท์ฝุ่น สเปรย์” (PhytFoon Spray) มีคุณสมบัติที่สามารถลดปริมาณฝุ่นในอากาศได้ทันทีเมื่อฉีดพ่นสูงถึง 80% ของฝุ่นที่ลอยอยู่ในอากาศ ด้วยกลไกพิเศษของส่วนผสมจากสารธรรมชาติที่มีประจุ และสามารถดักจับฝุ่นได้ ทำให้ฝุ่นมีน้ำหนักมากขึ้น จึงตกลงมาสู่พื้น และไม่ฟุ้งกลับนานถึง 7 ชั่วโมง ในส่วนผสมยังปราศจากแอลกอฮอล์ ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองเมื่อสัมผัส ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ สามารถใช้ร่วมกับเครื่องฟอกอากาศ และในพื้นที่ ที่เครื่องฟอกอากาศไม่สามารถเข้าถึงได้รวมถึงใช้ในรถยนต์ได้ด้วย
ชลิตา มุ่งวิวัฏ ประธานบริหาร บริษัท เพนทา อินโนเทค จำกัด ซึ่งได้ขอใช้สิทธิผลงานวิจัยของคณะ เภสัชศาสตร์ จุฬาฯ มาผลิตเป็นแบรนด์ “ไฟท์ฝุ่น” (PhytFoon)ว่า ไลฟ์สไตล์ของคนในปัจจุบันต้องทำงาน ต้องเดินทาง และเผชิญกับมลภาวะทางอากาศเกือบตลอดเวลา หรือแม้แต่เวลาอยู่ในบ้านก็ตาม ทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ช่วยลดปริมาณของฝุ่น PM2.5 ที่ทำมาจากสารธรรมชาติ มีความปลอดภัย และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม จึงเกิดความร่วมมือกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ในการสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ ไฟท์ฝุ่น สเปรย์
“ไฟท์ฝุ่น สเปรย์” (PhytFoon Spray) มีจำหน่ายที่โอสถศาลา จุฬาฯ และช่องทางออนไลน์ทั้ง Line@ @phytfoon, Facebook: PhytFoon ไฟท์ฝุ่น สเปรย์ลดฝุ่น PM2.5, Instagram: phytfoon_official, Lazada และ Shopee
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดกิจกรรม “ใส่บาตรหนังสือ ครั้งที่ 16 : อ่านเพื่อสติ” สานต่อศรัทธาผ่านการอ่าน สร้างปัญญา เสริมสิริมงคลรับปีใหม่
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้