รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 ธันวาคม 2563
ข่าวเด่น
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ จัดส่งหุ่นยนต์ “ปิ่นโต” จำนวน 200 ตัว และระบบสื่อสารทางไกล “กระจก” กว่า 1,000 ตัวลงพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ให้พร้อมรับกับการระบาดของ COVID-19 รอบใหม่ โดยมี ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ รศ.ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ ผู้อำนวยการ International School of Engineering และ หัวหน้าทีมงานโครงการหุ่นยนต์และอุปกรณ์สนับสนุนการแพทย์ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 (CURoboCovid) ร่วมในงานส่งหุ่นยนต์ในครั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม 2563 ณ ชั้นล่าง อาคารวิศวฯ 100 ปี
ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า จากการระบาดของ COVID-19 รอบแรกนั้น ทางคณะฯ ได้มอบหุ่นยนต์ “ปิ่นโต” และระบบสื่อสารทางไกล “กระจก” แก่โรงพยาบาลต่างๆ ที่ต้องรับหน้าที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 ผลการประเมินผลจากบุคลากร ทางการแพทย์พบว่าสามารถลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและดูแลผู้ป่วยติดเชื้อได้เป็นอย่างดี
“การจัดส่งหุ่นยนต์ “ปิ่นโต” และระบบสื่อสารทางไกล “กระจก” ในครั้งนี้ ถูกส่งมอบให้แก่โรงพยาบาลที่ติดต่อมาในโครงการ CURoboCovid จนครบทั่วประเทศ นอกจากนี้คณะฯได้จัดส่งหุ่นยนต์ปิ่นโตและระบบสื่อสารทางไกล “กระจก” พร้อมรับกับการระบาดรอบใหม่ของ COVID-19 ส่งมอบเพิ่มเติมให้ โรงพยาบาลสนาม จ.สมุทรสาคร โรงพยาบาลราชบุรี และโรงพยาบาลนครปฐม เพื่อลดความเสี่ยง และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการรักษาพยาบาลให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วย COVID-19 ปัจจุบันเราได้ส่งมอบหุ่นยนต์ “ปิ่นโต”ร่วม 200 ตัวและระบบสื่อสารทางไกล “กระจก” กว่า 1,000 ตัว ไป 140 กว่าโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย ศ.ดร.สุพจน์ กล่าว
หุ่นยนต์ปิ่นโต (Quarantine Delivery Robot) หรือหุ่นยนต์พัฒนาเพื่อการขนส่งและการสื่อสารทางไกลเพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด ได้รับการพัฒนาโดยทีม CU-RoboCovid ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะวิศวฯ จุฬาฯ Mi Workspace, HG Robotics และ Obodroid ได้รับการทดลองจริง เก็บข้อมูลจากผู้ใช้งานจริงกว่า 10 โรงพยาบาล เพื่อให้ตรงตามการใช้งานและความต้องการมากที่สุด ภารกิจหลักงานของหุ้นยนต์ปิ่นโตคือ ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์แก่คนไข้ การใช้งานเป็นระบบขับเคลื่อนหุ่นยนต์บนรถเข็นควบคุมทางไกล ทำให้บุคลากรทางการแพทย์เสี่ยงน้อยลง ลดจำนวนครั้งที่ต้องเข้าไปอยู่ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ และยังสามารถคอยดูแลความเคลื่อนไหวของคนไข้ได้อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ยังช่วยในการสื่อสารระยะไกล ด้วยหน้าจอที่ติดอยู่บริเวณ รถเข็นควบคุมทางไกล ทำให้แพทย์และพยาบาลสามารถดูแลคนไข้ได้ตลอด ระบบนี้จะช่วยลดทั้งอุปกรณ์การแพทย์ที่ต้องทิ้งทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนโซนการตรวจ และลดระยะเวลาการเข้าใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ ลดความเสี่ยง เพิ่มประสิทธิภาพ และยังคงดูแลอย่างดี
ส่วนระบบสื่อสารทางไกล “กระจก” (Quarantine Tele-presence System) นั้น เป็นระบบผู้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์สู้ภัยโควิด-19 เสมือนกระจกที่แสดงภาพและเสียงบุคคลในการสื่อสารกันคุณหมอและพยาบาลสามารถติดต่อสื่อสารและสังเกตอาการของผู้ป่วยได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปใกล้ผู้ป่วยในหอผู้ป่วย ลดอัตราการเสี่ยงติดเชื้อ จากการต้องเข้าไปในหอผู้ป่วยเป็นระยะเวลานาน ๆ หรือมากเกินไป ลดจำนวนอุปกรณ์การแพทย์บางส่วน ในการเข้าไปให้บริการคนไข้ในแต่ละโซน จะต้องทำการเปลี่ยนชุด PPE และอุปกรณ์อื่นๆ จำนวนมาก ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน มีเวลาในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้นและบ่อยขึ้น ที่สำคัญยังช่วยลดความกังวลของเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยลงได้อย่างมาก “ปิ่นโต”และ”กระจก”สามารถทำความสะอาดฆ่าเชื้อได้ ติดตั้งได้เอง ไม่ต้องติดตั้งระบบใดๆเพิ่มเติม เคลื่อนย้ายง่าย ใช้งานได้ง่ายทันที
สามารถชมรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/ChulaEngineering หรือhttps://www.facebook.com/curobocovid/
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้