ข่าวสารจุฬาฯ

ความสำเร็จของนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ นักออกแบบรุ่นใหม่ ชนะเลิศการออกแบบสถาปัตยกรรม “Asia Young Designer Awards 2020”

ศุภกร ฉันทกิจวัฒนา นิสิตชั้นปีที่ 5 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ  คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันออกแบบสถาปัตยกรรม “Asia Young Designer Awards 2020” จากผลงาน “Illegal Settlement in Chiang Mai” ซึ่งเป็นการออกแบบที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชุมชนคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ ศุภกรจะเป็นตัวแทนเยาวชนนักออกแบบจากประเทศไทยเข้าร่วมงาน Asia Young Designer Summit 2020 ร่วมกับเยาวชนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียต่อไป  

ศุภกร ฉันทกิจวัฒนา หรือน้องต่อ นิสิตสถาปัตย์คนเก่งจากรั้วจามจุรี เปิดเผยว่า การแข่งขันครั้งนี้จัดโดย บริษัท นิปปอนเพนต์ เดคโคเรทีฟ โคทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้แนวคิดหลัก  “Forward: Human-Center Design” เพื่อให้นักออกแบบรุ่นใหม่สร้างสรรค์ผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในโดยคำนึงถึงผู้คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การสร้างคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ กว่า 1,300 คน ส่งผลงานเข้าแข่งขันในรอบแรก จากนั้นคณะกรรมการได้คัดเลือกผลงานเข้ารอบสอง ประเภทละ 30 คน และคัดให้เหลือประเภทละ 5 คนเข้าสู่การแข่งขันรอบสุดท้าย เพื่อนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ จนกระทั่งได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทออกแบบสถาปัตยกรรม โดยทรวงชนก วงศ์พลกฤต นักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับรางวัลชนะเลิศประเภทออกแบบตกแต่งภายในเพื่อสังคม

 “Illegal Settlement in Chiang Mai เป็นการออกแบบสถาปัตยกรรมประเภทที่อยู่อาศัยในพื้นที่ชุมชนต้นแบบคือคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานที่ไม่ถูกต้องและเป็นสิ่งที่ละเลยมานาน ผลงานการออกแบบนี้จะเป็นตัวเชื่อมในการแก้ปัญหาระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และคนในชุมชน แสดงให้เห็นถึงแนวทางและความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาจากการร่วมมือกันภายใต้ความเข้าใจที่ตรงกัน” น้องต่ออธิบายถึงผลงานการออกแบบที่ได้รับรางวัลครั้งนี้

            แม้ไม่ได้คาดหวังว่าจะคว้ารางวัลชนะเลิศมาครอง แต่น้องต่อก็ตั้งใจทำผลงานออกมาให้ดีที่สุด จนประสบความสำเร็จในที่สุดและเป็นรางวัลการออกแบบรางวัลแรกในชีวิตที่ได้รับ ความโดดเด่นของผลงานอยู่ที่การออกแบบสถาปัตยกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของมนุษย์จากชุมชนต้นแบบในพื้นที่จริง รวมทั้งมีการนำเสนอผลงานที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย

            น้องต่อฝากข้อคิดทิ้งท้ายว่า “การเข้าร่วมเวทีการแข่งขันไม่ว่ารายการใดก็ตาม เป็นโอกาสให้เราได้สร้างสรรค์ผลงานตามที่เราคิดว่าจะเป็น ซึ่งช่วยเปิดประสบการณ์ของเราให้คิดนอกกรอบจากบทเรียนในห้องเรียน และมีโอกาสได้เห็นผลงานของคนอื่นว่าเป็นอย่างไร แผนในอนาคตหลังเรียนจบอยากใช้ความรู้ที่เรียนมาทำงานเป็นสถาปนิกตามที่ตั้งใจไว้”

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า