รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 มกราคม 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
คณะเภสัชฯ จุฬาฯ ชูผลงานวิจัยรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับดีมากจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2564 สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช พร้อมเผยแพร่สมุนไพรสกัดจากแสมทะเลแก้ปัญหาผมร่วงได้อย่างถึงราก คาดจะออกสู่ตลาดภายในปีนี้!
“ผมร่วง ศีรษะล้าน” เป็นปัญหาที่สร้างความกังวลและบั่นทอนความมั่นใจของหลายคน ยิ่งมีข้อมูลว่า 65 % ของปัญหานี้มีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ ยิ่งทำให้หลายคนรู้สึกหมดหวัง แต่ล่าสุด ทีมวิจัยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ พบทางออกที่ทำให้ผู้มีปัญหาผมร่วงยิ้มได้ ด้วยผลงานวิจัย “ผลิตภัณฑ์แก้อาการผมร่วงชนิดแอนโดรจินิค-อโลเพเชียจากสารสกัดแสมทะเล” ที่ผ่านการทดสอบกับอาสาสมัครทั้งชายและหญิงกว่า 50 ชีวิตแล้วพบว่าได้ผลจริง
ศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ดีเอกนามกูล ภาควิชาเภสัชเวทและเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ปรึกษางานวิจัยเล่ากระบวนการทดสอบและผลลัพธ์ของงานวิจัยว่า “เราถ่ายรูปศีรษะของอาสาสมัครทุกมุม รวมทั้งใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องบริเวณที่ผมหลุดร่วงเพื่อดูลักษณะการหลุดร่วงของเส้นผม และนัดหมายอีก 1 เดือน ถ่ายรูปในตำแหน่งเดิมเพื่อดูการเปลี่ยนแปลง โดยทำอย่างนี้ต่อเนื่องเป็นเวลา 4เดือน เราพบว่า เพียงแค่เดือนแรกที่ใช้สารสกัดแสมทะเล บริเวณศีรษะที่ล้านเริ่มมีผมดำแซมขึ้นจนปิดรอยที่เกิดจากการหลุดร่วง จำนวนผมที่หลุดร่วงเวลาสระผมลดลง เส้นผมแข็งแรง ยึดติดกับหนังศีรษะได้ดีขึ้น ที่สำคัญ ไม่ปรากฏว่าผู้ใช้สารสกัดแสมทะเลมีอาการแพ้แต่อย่างใด”
ศ.ดร.วันชัย เล่าที่มาของงานวิจัยว่ามาจากวิทยานิพนธ์ของนิสิตปริญญาเอกคณะเภสัชศาสตร์ ที่ศึกษาเกี่ยวกับการหลุดร่วงของเส้นผม แล้วทีมวิจัยศึกษาต่อยอดด้วยการตรวจสอบว่ามีสารสกัดหรือสารบริสุทธิ์ที่เป็นธรรมชาติชนิดใดบ้างที่มีฤทธิ์ในการรักษาอาการผมร่วง
“เราคัดกรองสารสกัดสมุนไพรจำนวนกว่า 50 ชนิด และสารบริสุทธิ์จำนวนกว่า 20 ชนิด จนพบว่า สารสกัดจากแสมทะเลมีสารออกฤทธิ์สำคัญ คือ สาร avicequinone C ที่สามารถยับยั้งการทำงานของ เอ็มไซม์ที่สร้างฮอร์โมนที่ทำให้ผมร่วง นอกจากนี้ สารสกัดจากแสมทะเลยังช่วยในการสร้างโปรตีนที่เสริมการงอกของเส้นผมได้อีกด้วยจึงเป็นการช่วยแก้ปัญหาอาการผมร่วงได้แบบครบวงจร”
ศ.ดร.วันชัย กล่าวว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและเวชสำอางหลายชนิดที่อ้างสรรพคุณการรักษาอาการผมร่วง โดยมากประกอบด้วยยาที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะอาการแพ้และผิวหนังอักเสบจนกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกาย นอกจากนี้ เกือบทั้งหมดยังไม่ได้รับการพิสูจน์ประสิทธิผลทางวิทยาศาสตร์หรือผ่านการวิจัยเพื่อหากลไกในการทำงานของสารที่นำมาใช้แต่อย่างใด
“ที่ผ่านมา เรานำเข้ายาสังเคราะห์จากต่างประเทศ ทั้งชนิดยาทาและยารับประทานซึ่งใชัได้ผลเพียง 30% และ48%ตามลำดับ ซ้ำยังมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก ดังนั้นสารสกัดจากแสมทะเล ไม้ยืนต้นที่พบได้ในป่าชายเลนของไทยจะช่วยลดการนำเข้ายาสังเคราะห์เหล่านั้น และยังอาจเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างมูลค่าทางการตลาดให้ประเทศอีกด้วย” ศ.ดร.วันชัย กล่าว
ปัจจุบัน มีบริษัทเอกชนซื้อลิขสิทธิ์ผลงานวิจัยชิ้นนี้ผ่านสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาฯ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว โดยจะทำการทดสอบกับอาสาสมัครจำนวนมากอีกครั้ง ก่อนจะจะเข้าสู่กระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์และขอขึ้นทะเบียน อย. ต่อไป ซึ่งคาดว่าอีกไม่เกิน 6 เดือน ผลิตภัณฑ์จากสารสกัดแสมทะเลจะเริ่มออกวางจำหน่ายในท้องตลาด
“ผมอยากเห็นผลิตภัณฑ์นี้พัฒนาไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ช่วยแก้ไขปัญหาให้ผู้ที่มีอาการผมร่วง ศีรษะล้านให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมความมั่นใจในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข”
ศ.ดร.วันชัย กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า นอกจากงานวิจัยที่มุ่งแก้ปัญหาผมร่วง ศีรษะล้านแล้ว ทีมกำลังวิจัยเพื่อแก้ปัญหาผมหงอก ผมขาวด้วยสมุนไพรหรือสารสกัดที่สามารถกระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินที่ทำให้ผมดำได้อย่างเป็นธรรมชาติด้วย
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ เชิญร่วมงานเสวนา “โปรตุเกส…เหตุที่รัก”
นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการประกวดสีน้ำระดับอุดมศึกษา
คณะทันตแพทย์ จุฬาฯ ชวนช็อป ดีมีคืน กับ Chula Dent ในโครงการ Easy E-Receipt 2.0
ขอเชิญชาวจุฬาฯ ประกวดคลิปวิดีโอสร้างสรรค์ “Chula Ethics: Our Code, Our Way: วิถีเรา ตัวตนเรา”
เชิญชวนชาวจุฬาฯ ประกวดออกแบบมาสคอต “Chula Mascot challenge ตัวแทนแห่งความโปร่งใส: CU Good gift mascot”
จุฬาฯ หัวเว่ย และ BUPT ร่วมพัฒนาบุคลากร ICT ในงาน Asia Pacific Cloud AI Forum & Huawei Developer Competition
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้