รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 มกราคม 2564
ข่าวเด่น
COVID-19 เป็นหนึ่งในตัวเร่งสำคัญที่ทำให้ทุกองค์กร รวมถึงภาคการศึกษาจำเป็นต้องเพิ่งพาเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือทำงานหลัก ในเมื่อจำเป็นต้องปรับรูปแบบการสอนเป็นออนไลน์ คณาจารย์และคุณครูหลายท่านก็ต้องการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอนแบบออนไลน์ พร้อมสร้างผลลัพธ์ที่ดีแก่ลูกศิษย์ตามความมุ่งหวังของรายวิชาหรือหลักสูตร
จากบทความโดย Wei Bao ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Human Behavior and Emerging Technologies เกี่ยวกับกรณีศึกษาการเรียนการสอนออนไลน์ของ Peking University ได้สรุป 6 เคล็ดลับในการเรียนออนไลน์ไว้ดังนี้
1. เตรียมแผนการเอาไว้ล่วงหน้า สำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
แน่นอนว่าในการเรียนการสอนที่เราไม่คุ้นชินนักย่อมสามารถเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงหรือปัญหาต่างๆที่ไม่คาดคิด ไม่ว่าจะด้วยความไม่พร้อมของอุปกรณ์ หรือเครือข่าย ความหนาแน่นของจำนวนผู้ใช้งาน จนทำให้ไม่ว่าจะค้าง หรือไหนจะหลุด ไหนจะติดจะขัด เสียงไม่มา ภาพไม่มี เรียกได้ว่ากว่าจะแก้ปัญหาก็หมดไปแล้วเสียครึ่งคาบ
ดังนั้นการทำความเข้าใจถึงปัญหาการเรียนการสอนออนไลน์ล่วงหน้าและตระเตรียมแผนการเอาไว้จึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง ในฐานะครูอาจารย์ทุกท่านคงทราบ ดีว่าการเสียเวลาไป 1 หรือ 2 คาบนั้นสามารถทำให้แผนที่วางเอาไว้ล่าช้าออกไปได้เรื่อยๆ จะนัดผู้เรียนมาเรียนใหม่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น อย่าลืมเตรียมความพร้อมก่อนเข้าชั้นเรียนกันด้วย
2. แบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการจดจ่อของนักเรียน
ในประเทศจีนนั้นก็ไม่ได้ต่างไปจากบ้านเรามากนัก พวกเขาเองก็มีเนื้อหาที่ต้องทำการเรียนการสอนที่เข้มข้นตลอดทั้งคาบเรียน แต่เมื่อพวกเขาต้องทำการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ซึ่งปัญหาที่มักพบคือไม่สามารถควบคุมบรรยากาศภายในห้องเรียนได้ และเด็กๆมักจะเกิดอาการสติหลุดลอยอยู่บ่อยครั้ง และวิธีแก้ที่ดูเหมือนจะได้ผลดี นั่นก็คือการแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อยๆ
หมายความว่าคณาจารย์อาจจะต้องทำงานหนักเพื่อจัดสรรหัวข้อเรียบเรียงเนื้อหากันเสียใหม่ และช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมของแต่ละหัวข้อนั้นอยู่ที่เวลาประมาณ 20-25 นาที
3. ใช้เสียงสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
เราอาจเคยควบคุมบรรยากาศภายในห้องเรียนได้ด้วยอวัจนภาษาต่างๆและคณาจารย์ทุกท่านก็ทราบดีอยู่แล้วว่าโทนเสียงนั้นก็เป็นส่วนสำคัญอย่างมาก แต่ยิ่งเมื่อต้องมาสอนในชั้นเรียนออนไลน์แล้ว เสียงนั้นกลับยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเมื่อทุกท่านอยู่หลังหน้าจอ อวัจนภาษาต่างๆก็แทบจะหมดความสำคัญ ดังนั้นส่วนที่เป็นคีย์เวิร์ดหรือเนื้อหาสำคัญที่ต้องการเน้นย้ำ ทุกท่านควรลองพูดให้ช้าลง หรือพูดซ้ำบ่อยครั้งขึ้น
4. ปฏิบัติงานร่วมกับผู้ช่วยสอน และลองขอความช่วยเหลือจากทีมสนับสนุน
หนึ่งในปัญหาสำคัญของการเรียนการสอนออนไลน์คือ ความไม่เชี่ยวชาญในด้านเทคนิคและเทคโนโลยี ปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง บางครั้งก็ไม่ทราบเลยว่าอีกฝั่งได้ยินเราไหม เรายังอยู่ในหน้าจอไหม ต้องกดปุ่มตรงไหนต่อบ้าง ในบางสถานศึกษาก็ทำคู่มือประกอบการใช้งานมาให้ แต่จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าหากมีทีมช่วยสนับสนุนอยู่ข้างๆ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการทำให้การเรียนการสอนราบรื่นมากยิ่งขึ้น ช่วยคิดคำนวนคะแนน ทำการประกาศผลคะแนน รวบรวมสรุป จัดส่งเอกสารสำหรับการเรียน และอื่นๆอีกมากมาย สถานศึกษาไม่ควรผลักภาระความรับผิดชอบให้แก่คณาจารย์ และให้ท่านเผชิญปัญหาในการเรียนรู้อยู่เพียงลำพัง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็มีทีมสนับสนุนเช่นเดียวกัน โดยศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ ได้จัดอบรมพัฒนาคณาจารย์ในหัวข้อที่หลากหลายทั้งทางการสอนและการสอบ
สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.lic.chula.ac.th/?p=5855
ข้อมูลสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.lic.chula.ac.th/?p=2874
5. เสริมสร้างการเรียนรู้เชิงรุกนอกชั้นเรียน
หากเทียบกับการเรียนการสอนในรูปแบบปกติแล้ว การเรียนการสอนแบบออนไลน์นั้นควบคุมได้ยากกว่ามาก จึงมักพบเห็นผู้เรียนไม่เข้าร่วมชั้นเรียน ดังนั้นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้การเรียนการสอนแบบออนไลน์ประสบผลสำเร็จคือการเรียนรู้เชิงรุกนอกห้องเรียน ซึ่งมีวิธีการหลากหลาย เช่น แบบฝึกหัด หรือการบ้าน การทำโครงงาน โครงการ เป็นต้น
6. บูรณาการเรียนการสอนแบบออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ในการเรียนการสอนรูปแบบปกติ การสนทนาโต้ตอบกันระหว่างคุณครูกับนักเรียนคงเป็นเรื่องปรกติ แต่สำหรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์นั้น ถือเป็นเรื่องที่ยาก ด้วยข้อจำกัดของการแทรกซ้อนของเสียงที่จะทำให้บรรยากาศภายในห้องเรียนดูปั่นป่วนไปหมด เพื่อเป็นการแก้ปัญหา ทางสถานศึกษาควรจัดแบ่งการเรียนการสอนออกเป็นสองระยะ หนึ่งคือการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ในชั้นเรียนแบบออนไลน์
ในส่วนของการเรียนรู้ด้วยตนเองนั้น ผู้เรียนมีความจำเป็นที่จะต้องทำการอ่านเนื้อหามาก่อนล่วงหน้า เพื่อให้ได้ทราบว่าผู้เรียนมีความไม่เข้าใจตรงส่วนใดของเนื้อหา เมื่อทางผู้สอนทราบได้ถึงปัญหาความไม่เข้าใจต่างๆ พวกท่านจึงจะสามารถออกแบบการเรียนการสอนในส่วนเนื้อหาวิชานั้นได้ถูกต้องโดยเน้นไปในส่วนที่เกิดความสงสัยมากที่สุด เรียกได้ว่าจากที่เคยถามถึงความสงสัยในเนื้อหาหลังคาบเรียน เปลี่ยนเป็นอ่านมาก่อนแล้วหากสงสัยตรงไหนจึงค่อยสอบถามมาในรูปแบบ “Flipped Classroom”
ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบัน เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้เห็นการศึกษาภายในประเทศไทยผ่านพ้นวิกฤตคราวนี้ไปอย่างราบรื่น และขอเป็นกำลังใจให้คณาจารย์ คุณครู นิสิตนักศึกษา นักเรียนทุกคนในทุกสถาบัน
“CURM Boost” เป็นบทความสั้นๆ โดยศูนย์บริหารความเสี่ยง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CURM Center) ที่เน้นเผยแพร่สารสนเทศด้านการบริหารความเสี่ยงที่มีเป้าหมายในการกระตุ้นและสร้างความตระหนักในการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงและบูส “Productivity” ในการปฏิบัติงานของประชาคมจุฬาฯ ในช่วงที่มีการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.urm.chula.ac.th
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้