ข่าวสารจุฬาฯ

วิศวฯ จุฬาฯ ส่งมอบหุ่นยนต์ปิ่นโตและกระจกให้มูลนิธิชัยพัฒนา ช่วยแพทย์-พยาบาลที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร

เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2564 ที่มูลนิธิชัยพัฒนา ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับทีมกลุ่มสตาร์ทอัพ ศิษย์เก่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมอบหุ่นยนต์ปิ่นโตและกระจก –ระบบสื่อสารทางไกล ให้มูลนิธิชัยพัฒนา ผ่าน กองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด-19 (และโรคระบาดต่างๆ) จำนวน 10 ชุด เพื่อขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานต่อไปยังโรงพยาบาลสมุทรสาคร เพื่อใช้สำหรับโรงพยาบาลสนามและป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัดตั้งโครงการ CU-Robocovid เพื่อสร้างหุ่นยนต์และอุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือแพทย์และพยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วย โดยได้ส่งมอบหุ่นยนต์ “ปิ่นโต” และระบบสื่อสารทางไกล “กระจก” แก่โรงพยาบาลต่างๆ ที่ต้องรับหน้าที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ในการระบาดรอบแรก ซึ่งได้รับการประเมินผลจากบุคลากรทางการแพทย์ว่าสามารถลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและดูแลผู้ป่วยติดเชื้อได้เป็นอย่างดี ซึ่งในการระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ส่งนวัตกรรมหุ่นยนต์ไปช่วยเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์

หุ่นยนต์ปิ่นโตได้รับการพัฒนาโดยทีม CU-RoboCovid ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ Mi Workspace, HG Robotics และ Obodroid ได้รับการทดลองจริง เก็บข้อมูลจากผู้ใช้งานจริงในโรงพยาบาล เพื่อให้ตรงตามการใช้งานและความต้องการมากที่สุด ภารกิจหลักของหุ่นยนต์ปิ่นโตคือ ขนส่งอาหาร ยา และเวชภัณฑ์แก่คนไข้ โดยการใช้ระบบขับเคลื่อนหุ่นยนต์บนรถเข็นควบคุมทางไกล ทำให้บุคลากรทางการแพทย์เสี่ยงน้อยลง ลดจำนวนครั้งที่ต้องเข้าไปอยู่ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ และดูแลความเคลื่อนไหวของคนไข้ได้อย่างใกล้ชิด ลดเวลาต้องทำการเปลี่ยนชุดและลดการใช้ PPE และอุปกรณ์อื่นๆ จำนวนมาก
ส่วนระบบสื่อสารทางไกล“กระจก” เป็นระบบผู้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์สู้ภัยโควิด-19 สามารถติดต่อสื่อสารและสังเกตอาการของผู้ป่วยได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปใกล้ผู้ป่วยในหอผู้ป่วย ลดอัตราการเสี่ยงติดเชื้อ จากการต้องเข้าไปในหอผู้ป่วยเป็นระยะเวลานานๆ  ช่วยลดจำนวนอุปกรณ์การแพทย์บางส่วน ในการเข้าไปให้บริการคนไข้ในแต่ละโซน จะต้องทำการเปลี่ยนชุด PPE และอุปกรณ์อื่นๆ จำนวนมาก
จากการส่งมอบหุ่นยนต์ปิ่นโตและระบบสื่อสารกระจกให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ พบว่าหุ่นยนต์ปิ่นโตและระบบสื่อสารกระจก สามารถใช้งานได้จริง ช่วยลดความเสี่ยงของแพทย์ พยาบาลในการติดเชื้อ มีขนาดเล็ก สามารถทำความสะอาดฆ่าเชื้อได้ ติดตั้งได้เอง ไม่ต้องติดตั้งระบบใดๆเพิ่มเติม เคลื่อนย้ายได้ง่าย ใช้งานได้ง่ายทันที นำไปใช้ในโรงพยาบาลสนามพื้นเรียบได้สะดวก นอกจากการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 แล้วยังสามารถใช้ในกรณีติดเชื้ออื่นๆได้ โดยโรงพยาบาลหาดใหญ่ได้ใช้หุ่นยนต์ปิ่นโตและกระจกสื่อสารทางไกลในการดูแลคนไข้วัณโรคซึ่งก็เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเช่นกัน ปัจจุบันคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ส่งมอบหุนยนต์ “ปิ่นโต” 200 ตัวและระบบสื่อสารทางไกล “กระจก” 1,000 ตัว ให้ 140 โรงพยาบาลทั่วประเทศ

สามารถติดตามงรายละเอียดกิจกรรมเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/ChulaEngineering
https://www.facebook.com/curobocovid/

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า