รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 มกราคม 2564
ข่าวเด่น
“ปัญหาเรื่องที่ดินในประเทศไทยเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน เป็นจุดกำเนิดของความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมทางสังคมในเชิงระบบ ถ้าเราไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ก็ยากที่จะลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมในสังคม ด้านอื่นๆ ของประเทศได้” รศ.ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2564 เผยถึงความสำคัญขององค์ความรู้เรื่องการบริหารจัดการที่ดินและการวางแผนจัดการเมือง ซึ่งเป็นหนึ่งในงานวิจัยที่อาจารย์มุ่งมั่นศึกษาวิจัยมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
รศ.ดร.อภิวัฒน์ เปิดเผยว่า ที่ดินหมายถึงที่ตั้งและพื้นที่ในการสร้างความมั่งคั่งและความสุขพื้นฐานของคนในสังคมทุกวันนี้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของที่ดินไม่จำกัดแค่ที่ดินในเชิงกายภาพเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงที่ดินที่อยู่บนโลกเสมือนคือตำแหน่งที่ตั้งและพื้นที่บนโลกดิจิทัลด้วย คนที่มีโอกาสมากก็จะจับจองที่ตั้งทบนโลกเสมือนหรือโลกดิจิทัลได้มากกว่า การใช้ชีวิตบนโลกเสมือนจะมีแพลตฟอร์มที่มีคนจับจองอยู่มาก จนเริ่มมีการผูกขาดบนโลกเสมือนมากยิ่งขึ้น ยิ่งมีการครอบครองพื้นที่ในโลกดิจิทัลได้มากเท่าไหร่ก็จะสร้างความมั่งคั่งได้เท่านั้น ดังนั้นงานวิจัยพยายามมองไปถึงที่ตั้งในโลกดิจิทัล ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากยิ่งขึ้นในอนาคต
ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง “คนเมือง 4.0” รศ.ดร.อภิวัฒน์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานโครงการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ “คนไทย 4.0” โดยใช้หลักคิดและวิธีการมองภาพอนาคตความเป็นไปได้ของการใช้ชีวิตของคนเมืองในอีก 10-20 ปีข้างหน้าว่ามีทางเลือกอะไรบ้าง และทางเลือกไหนมีข้อดีข้อเสียอย่างไร เพื่อนำมาวางแผนเตรียมความพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตั้งแต่เรื่องของการเกิด การอยู่อาศัย การเดินทาง การทำงาน จนกระทั่งถึงการตาย
“คนเมือง 4.0 มีนัยสำคัญเชิงเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงของสังคม เนื่องจากยุค 4.0 มีการผสมผสานและบรรจบกันของเทคโนโลยีทั้งด้านกายภาพ ดิจิทัล และชีวภาพอยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว และจะเกิดขึ้นแน่นอนในอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้รูปแบบการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป ดังนั้นเราจะต้องคิดเรื่องการวางแผนเกี่ยวกับเมือง เตรียมพร้อมอย่างไรกับสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อย่างกรณีโควิด-19 เป็นเหตุไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นแล้วทำให้วิถีชีวิตเราเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด เช่น หลายคนทำงานจากบ้าน แต่ในขณะเดียวกัน คนจำนวนมากต้องตกงาน จริงๆ แล้วเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นมานานแล้วก่อนโควิด-19 ระบาด โควิด-19 เป็นแค่การกระตุ้นแนวโน้มปัญหาสังคมที่เห็นอยู่แล้วทั้งในระดับโลกและสังคมไทยให้เห็นชัดเจนและรวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นเราจึงต้องเตรียมรับมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจขึ้นอย่างไม่คาดฝันได้” รศ.ดร.อภิวัฒน์ กล่าว
นอกจากงานวิจัยเรื่องคนเมือง 4.0 แล้ว รศ.ดร.อภิวัฒน์ กำลังศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเมืองหลัก เมืองรอง และเมืองเล็กในภูมิภาคของประเทศไทยอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเรื่อง “โลกาภิวัตน์ของที่ดิน” โดยเปรียบเทียบสถานการณ์ที่ดินที่ไม่ได้เป็นสินค้าในระดับท้องถิ่นอีกต่อไป แต่กลายเป็นปัจจัยระดับโลกและยังเข้าไปสู่การเป็นสินค้าที่อยู่ในโลกดิจิทัลด้วย งานวิจัยนี้เป็นการเปรียบเทียบระหว่างกรุงเทพฯ บอสตัน บังกาลอร์ บิทคอยน์ รวมถึงผลงานวิจัยเรื่อง “วิทยาศาสตร์เปิด” ซึ่งเกิดจากความสนใจส่วนตัวในเรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีกับสังคม เพื่อสร้างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่เปิดให้คนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างข้อมูลและความรู้
“หลักในการทำงานวิจัยที่ผ่านมาจะเริ่มจากการมองไปรอบตัว เมื่อเห็นปัญหาอะไรก็จะแปลงปัญหานั้นเป็นคำถามในการวิจัย พยายามพินิจพิเคราะห์เพื่อให้ได้คำตอบ จนนำไปสู่การแก้ไขปัญหานั้นๆ การทำงานวิจัยข้ามศาสตร์ มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน การทำงานวิจัยให้ประสบความสำเร็จต้องเลือกประเด็นหรือหัวข้อที่เราสนใจ มีความชอบเป็นการส่วนตัว และมีความสงสัยในสิ่งที่อยากทำ ซึ่งจะทำให้เรามีพลังในการขับเคลื่อนเพื่อศึกษาหาคำตอบในสิ่งที่เราอยากรู้ได้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย แม้ว่าจะมีปัญหาอุปสรรคต่างๆ เข้ามาก็ตาม เราก็จะสามารถแก้ไขให้ผ่านพ้นไปได้ การทำงานทุกอย่างต้องมีปัญหา แต่จะถือว่าปัญหาคือความท้าทายให้เราประสบความสำเร็จ” นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี 2564 กล่าวทิ้งท้าย
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้