ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ผุดสุดยอด Chatbot เรียนภาษาอังกฤษ คว้ารางวัลเหรียญทองจากไต้หวัน 2020

MALLIE แชทบอทเกมฝึกภาษาอังกฤษครบเครื่อง นวัตกรรมล่าสุดจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับรองคุณภาพด้วยรางวัลเหรียญทองจากไต้หวันในงาน “2020 Kaohsiung International Invention and Design EXPO”

“Practice makes perfect!” สำนวนภาษาอังกฤษที่หมายถึง “ยิ่งฝึกฝน ยิ่งเก่ง” เป็นแนวคิดสำคัญของนวัตกรรม “MALLIE: ความปกติใหม่ของการเรียนรู้ภาษาอังกฤษอย่างท้าทายด้วยแชทบอทเกม” ที่ออกแบบมาให้ผู้เรียนที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองได้ก้าวข้ามกำแพงภาษาได้อย่างมั่นใจ

“MAILLE เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะทางภาษา ทั้งการฟัง การพูด รวมถึงไวยากรณ์และคำศัพท์ผ่านแชทบอทได้ตลอดเวลาที่ต้องการ ยิ่งขยันฝึกก็ยิ่งเก่ง ฝึกได้ทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ ผู้เรียนสามารถใช้ตัว Avatar แทนตัวเองในการฝึกสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งช่วยลดความเขินอายในการออกเสียงภาษาอังกฤษได้ดีทีเดียว” รศ.ดร.จินตวีร์ คล้ายสังข์ และ ผศ.ดร.พรพิมล ศุขะวาที สองนักวิชาการ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงจุดเด่นของผลงานที่เพิ่งคว้ารางวัลเหรียญทองจากเวทีประกวดนวัตกรรม “2020 Kaohsiung International Invention and Design EXPO” ที่ไต้หวัน เมื่อไม่นานนี้

MALLIE ใช้โปรแกรม Chatbot ร่วมกับ Challenges เพื่อช่วยพูดคุย ติดตามดูแล และสนับสนุนผู้เรียนให้ได้พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษไปกับ 6 ด่านการเรียนรู้ คือ M – Meet and Greet, A – All sets, L – (i) Love Grammars, L – Let’s review, I – I am avatar และ E – Enjoy it

รศ.ดร.จินตวีร์ อธิบายการเข้าใช้แอปฯ นี้ “เมื่อผู้เรียนสมัครเข้าใช้งาน ตัวคาแรกเตอร์ MALLIE ก็จะถูกเพิ่มเป็นเพื่อนโดยอัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชั่น Facebook และ Messenger เพื่อพูดคุยตอบโต้กับผู้เรียน โดยในด่านแรกๆ MALLIE จะส่งคำศัพท์ให้ผู้เรียนวันละ 10 คำพร้อมแบบฝึกหัด ซึ่งผู้เรียนจะต้องเรียนรู้และทำให้เสร็จภายในหนึ่งวัน แต่ละด่านจะมีบทเรียนทั้งหมด 3 เรื่อง แต่ละเรื่องจะมีคำศัพท์และแบบฝึกหัดให้ทำเป็นระยะเวลา 5 วัน ลักษณะคล้ายๆ กับการเล่นเกมผ่านด่าน โดยภาษาอังกฤษที่ใช้ในเกมจะเป็นเนื้อหาภาษาอังกฤษในระดับชั้นมัธยมปลายทั้งหมด เพื่อให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายเบื้องต้น คือนิสิตชั้นปีที่ 1”

“เมื่อเรียนเรื่องคำศัพท์และไวยากรณ์แล้ว ผู้เรียนก็จะได้รับลิงก์ให้เข้าสู่ระบบของเว็บไซต์ iReview เพื่อรับโจทย์ในการทำคลิปวิดิโอเพื่อรีวิวสินค้าเป็นภาษาอังกฤษเป็นโปรเจกต์สุดท้าย โดยใช้อุปกรณ์ Mini Studio Box ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกใช้ avatar ในการทำรีวิวสินค้าได้ด้วยเช่นกัน”

รูปแบบและการใช้งานของ MALLIE ได้รับการออกแบบอย่างพิถีพิถัน ผ่านการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการใช้แอปฯ ของผู้ใช้ในระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศกว่า 500 คน และความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอีกมากมาย ก่อนจะทดลองใช้กับนิสิตชั้นปีที่ 1 ภายในคณะครุศาสตร์ กว่า 100 คน จนพัฒนาเป็นที่สุดของโมบายแอปพลิเคชันสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ MALLIE ยังเก็บข้อมูลความก้าวหน้าของผู้เรียนเพื่อช่วยวิเคราะห์และประเมินผลการเรียนรู้ของแต่ละคนด้วย

“นิสิตที่มี MAILLE เป็นเพื่อนเรียนภาษาอังกฤษมีผลการเรียนภาษาและทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญ และจากการสอบถามความเห็น ผู้เรียนในระดับอุดมศึกษามีแนวโน้มที่จะยอมรับและใช้นวัตกรรมนี้มาส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษมากขึ้นด้วย” รศ.ดร.จินตวีร์ กล่าว

นวัตกรรมนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ซึ่งในระยะต่อไป ทีมวิจัยตั้งเป้าจะขยายขอบข่ายของการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในวงกว้างมากขึ้น โดยการออกแบบแชทบอทให้ตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกันไปตามธรรมชาติของแต่ละสาขาวิชาชีพ

“โครงการต่อไป MALLIE วางแผนที่จะเพิ่มบริการเฉพาะกลุ่ม เช่น การรวบรวมคำศัพท์เฉพาะทางสาขาวิชาชีพอย่างคำศัพท์ด้านการแพทย์ การพยาบาล และการบัญชี ทั้งนี้เพื่อช่วยนิสิตนักศึกษาเรียนภาษาอังกฤษเฉพาะทางได้สะดวกและมีประสิทธภาพยิ่งขึ้น” รศ.ดร.จินตวีร์ กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่าในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 นวัตกรรมการเรียนรู้แบบนี้อาจเป็นตัวเลือกหนึ่งให้ผู้สอนนำไปพัฒนาใช้ได้กับการเรียนรู้ภาษาได้ทั่วทุกมุมโลก

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า