ข่าวสารจุฬาฯ

“สายอากาศอัจฉริยะ ”นวัตกรรมตอบสนองระบบดิจิทัลในยุคไทยแลนด์ 4.0

การเรียนรู้ที่แตกต่าง พัฒนาสู่ความสำเร็จ ก้าวทันประเทศไทยยุค 4.0 จากคนที่ชอบเรียนรู้ และคิดต่าง ทำให้เกิดความสำเร็จที่เป็นความภาคภูมิใจอย่างสูงสุด ด้วยคำว่า “ใช้ได้ เรียนได้ และขายได้” เป็นการพัฒนาจากงานประจำพัฒนามาสู่งานวิจัย “สายอากาศอัจฉริยะ” จนได้รับรางวัลบุคลากรสายสนับสนุนผู้มีผลงานดีเด่นระดับชาติ ด้านสร้างสรรค์นวัตกรรม จากที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท) ประจำปี 2559

เสาอากาศแบบก้างปลา และเสาอากาศแบบหนวดกุ้ง ไม่ใช่ปัญหาในการติดตั้งเพื่อรับสัญญาณโทรทัศน์อีกต่อไป ปัญหาสัญญาณโทรทัศน์ขาดหาย ทั้งจากสภาพอากาศ สภาพแวดล้อม เหล่านี้กำลังจะหมดไปด้วยสิ่งประดิษฐ์คิดค้นจากนักวิจัยของไทยที่สร้างชื่อเสียงให้กับวงการการศึกษาไทยและวงการเทคโนโลยีด้านโทรทัศน์ในระดับโลก ผลงานของ ธีรพงษ์ ประทุมศิริ เจ้าหน้าที่บริการการศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

ธีรพงษ์ ประทุมศิริ มีความสนใจด้านวิทยุและโทรทัศน์ ด้านการสื่อสาร สำเร็จการศึกษาคอบ. (ไฟฟ้าสื่อสาร) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทเวศร์ (ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทเวศร์) และ วศ.ม. (นิวเคลียร์เทคโนโลยี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริการการศึกษา (ครูปฏิบัติการ) (ชำนาญการ) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ริเริ่มคิดค้นการผลิตสายอากาศอัจฉริยะแบบติดตั้งไว้ในโทรทัศน์ ร่วมกับคณะผู้วิจัย ประกอบด้วย ภาณุวัฒน์ จันทร์ภักดี อภินันท์ อินทร์ไชยา บุคลากรภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ช่วยนักวิจัยคือ พรมม์ปภัส ภัครพรพรรณ์ ซึ่งผลงานวิจัยนี้ได้จดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาในนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

งานวิจัยนี้เกิดจากการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย หรือ R2R (Routine to Research) โดยในปี 2558 รัฐบาลได้ประกาศเปลี่ยนระบบสัญญาณโทรทัศน์จากระบบอะนาล็อกมาเป็นระบบดิจิตอล และรัฐบาลได้แจกคูปอง 690 บาท ให้ประชาชนจำนวน 22 ล้านครัวเรือน นำไปแลกซื้อ Set Top Box หรือใช้เป็นส่วนลดในการซื้อโทรทัศน์ iDTV เครื่องใหม่ การเปลี่ยนระบบสัญญาณโทรทัศน์ดังกล่าวทำให้การติดตั้งระบบสายสัญญาณเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบของสายอากาศที่ติดที่ผนังอาคารภายในอาคาร ซึ่งเดิมทีสายรับสัญญาณโทรศัพท์จะเป็นเสาที่ติดตั้งบนที่สูงนอกอาคาร ที่เรียกว่า “เสาอากาศ” ต่อมาก็พัฒนามาเป็นเสารับสัญญาณภายในอาคาร ที่เรียกว่า “เสาหนวดกุ้ง” จนกระทั่งเมื่อปี 2558 ประเทศไทยต้องเปลี่ยนระบบสัญญาณโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล ทุกครัวเรือนต้องใช้สายอากาศแบบใหม่ที่ติดตามผนัง

จากประสบการณ์ในการสอนนิสิตจุฬาฯ นับตั้งแต่ปี 2528 ในวิชาสายอากาศกับการศึกษาดาวเทียม และคลุกคลีในวิชาชีพนี้มาตลอด จนกระทั่งปี 2556 ที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนระบบโทรทัศน์จากระบบ อนาล็อคเข้าสู่ระบบดิจิตอล และทีวีจอแบน ซึ่งไม่มีพื้นที่สำหรับการติดตั้งเสาอากาศแบบยากิ (ก้างปลา) หรือแบบหนวดกุ้ง เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้นายธีรพงษ์ ประทุมศิริ คิดสร้างเสาอากาศแบบใหม่ที่สามารถมาแทนเสาอากาศแบบก้างปลาและหนวดกุ้ง และมีประสิทธิภาพสูงกว่าเสาอากาศทั่วไป การที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมได้ เราต้องเป็นคนที่คิดต่าง เป็นแรงบันดาลใจในการคิดค้นผลงานวิจัยชิ้นนี้ โดยได้ขอทุนทำวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเมื่อเริ่มทดสอบสัญญาณกับจุดต่างๆ ทั่วกรุงเทพและต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นอาคารสูง กระจกบ้าน และกระจกรถยนต์ ก็ได้รับผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจมาก

กว่าจะเป็น “สายอากาศอัจฉริยะ” ต้องผ่านการทดสอบ 4 ถึงขั้นตอน ได้แก่ 1) การทดสอบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (lab test) ผ่านห้องปฏิบัติการของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ 2) การทดสอบภาคสนาม (field test) ณ ชั้นที่ 20 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ 3) การทดสอบติดตั้งในรถยนต์ (drive test) ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และ 4) การทดสอบวัดในสภาพแวดล้อมใช้งานจริง (indoor reception test) จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ปัจจุบันได้มีการจดสิทธิบัตรจากกระทรวงพาณิชย์ และอนุสิทธิบัตรสำหรับการต่อยอด ในนามของจุฬาฯ กับสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาฯ ในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะได้รับชมภาพและเสียงผ่านสื่อโทรทัศน์ทั้งในระบบ Analog และระบบ Digital ที่ใช้สายอากาศอัจฉริยะซึ่งคิดค้นโดยคนไทย ตรงตามรูปแบบการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล นำไปติดตั้งได้ทุกที่ เช่น บนผนัง บนทีวี บนกระจกสำนักงาน หรือแม้แต่บนกระจกรถยนต์

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า