รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
28 มกราคม 2564
ข่าวเด่น
จากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ระลอกสองที่พบผู้ติดเชื้อและประชาชนในกลุ่มเสี่ยง ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย การตรวจวิเคราะห์โรค COVID-19 ด้วยความรวดเร็ว แม่นยำ และมีความปลอดภัยต่อบุคลากรทางการแพทย์สูงสุด เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีที่ทรงให้ความสำคัญในการวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จะต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว โดยการสร้าง “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” (Express Analysis Mobile Unit) เพื่อเป็นห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ ออกตรวจวิเคราะห์ผล COVID-19 นอกโรงพยาบาลหรือหน่วยงาน ช่วยลดปัญหาการขนส่งตัวอย่างและระยะเวลา ในการรอผลวิเคราะห์จากการขนส่งตัวอย่างกลับมาวิเคราะห์ที่หน่วยงาน โดยได้พระราชทาน “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษต้นแบบ” ออกใช้งานคู่กับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย ในการค้นหาเชิงรุกแบบเบ็ดเสร็จในสถานที่จริงที่สถานีโทรทัศน์ NBT เป็นงานแรก และล่าสุดถูกนำไปใช้ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครซึ่งเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของ COVID-19
“รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” เป็นรถต้นแบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ บริษัท เอนจินไลฟ์ จำกัด ซึ่งก่อตั้งโดยทีมสตาร์ทอัพที่บ่มเพาะจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) และเครือข่ายพันธมิตรภาครัฐและเอกชน มีพื้นที่ใช้สอย 16.8 ตารางเมตร ประกอบด้วย 3 ห้องหลัก ได้แก่ ห้องสกัดสารพันธุกรรม ห้องเตรียมน้ำยาวิเคราะห์ และห้องวิเคราะห์ผลด้วยเทคนิคการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วยปฏิกิริยาโพลีเมอเรส (PCR) นอกจากนี้ยังมีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า และห้องบัฟเฟอร์เพื่อควบคุมและป้องกันการรั่วไหลของเชื้อโรค พร้อมเครื่องมือที่ติดตั้งภายในรถ ได้แก่ ตู้ปลอดเชื้อ ตู้ปฏิบัติงานพีซีอาร์ (PCR cabinet) เครื่องสกัดสารพันธุกรรมอัตโนมัติ เครื่องเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอด้วยปฏิกิริยา โพลีเมอเรส (real-time PCR), ตู้แช่แข็ง -20 องศาเซลเซียส ตู้ทำความเย็น 4 องศาเซลเซียส ช่องส่งตัวอย่าง เครื่องเขย่าผสมสาร เครื่องปั่นเหวี่ยงตกตะกอน ไมโครปิเปต (Micropipette) ระบบยูวีฆ่าเชื้อ ระบบสื่อสารสองทาง ระบบกล้องวงจรปิด และเครื่องล้างมือแอลกอฮอล์อัตโนมัติ ทั้งนี้สามารถนำไปใช้วิเคราะห์เชื้ออื่นๆ ที่วิเคราะห์ด้วยเทคนิค PCR และใช้ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉิน เพื่อเข้าช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที การจัดสร้างรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษต้นแบบนี้ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 7.5 ล้านบาทต่อคัน
ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้พัฒนานวัตกรรมต่างๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่แพทย์ พยาบาลในการทำหัตถการได้ง่ายขี้น เช่น หุ่นยนต์ CU-RoboCOVID รถกองหนุน ฯลฯ สำหรับรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ น้อมรับพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการผลิตรถดังกล่าวซึ่งสามารถทำงานแบบเบ็ดเสร็จในที่เดียว (One Stop Service) โดยนำความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ให้ได้มาตรฐานในระดับเดียวกับห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และกรมควบคุมโรค เพื่อความปลอดภัยสูงสุด สามารถรู้ผลการตรวจภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง ช่วยลดความกังวลแก่ผู้ต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อ
“การสร้างนวัตกรรมไม่ได้เริ่มได้ในวันเดียว คณะวิศวกรรมศาสตร์ได้พัฒนานวัตกรรมมาเป็นระยะเวลานานแล้ว เมื่อเกิดสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 เราสามารถปรับเปลี่ยนนวัตกรรม เช่น หุ่นยนต์เพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากรทางการแพทย์ได้ ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบสาธารณสุข โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ยังคงพัฒนาหุ่นยนต์อย่างต่อเนื่องเพื่อทำให้เกิดระบบ Telemedicine ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น” คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว
ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ประธานหลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้ดำเนินการพัฒนา “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” เปิดเผยถึงความพิเศษของรถดังกล่าวว่าเป็นห้องปฏิบัติการเคลื่อนที่ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยและความแม่นยำเทียบเท่ากับห้องปฏิบัติการทั่วไป ในการออกแบบและผลิตรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษนี้เป็นความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยได้รับการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย การเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ตัวอย่างที่รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษจะทำให้ทราบผลการตรวจวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว อุปกรณ์ต่างๆ ภายในรถเป็นไปตามมาตรฐานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
“การออกแบบรถต้นแบบเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงที่ COVID-19 ยังไม่ระบาดระลอก 2 ใช้ระยะเวลาในการผลิตรถต้นแบบแล้วเสร็จประมาณ 2 เดือน รถคันนี้ตอบโจทย์การนำไปใช้งานได้จริง สะดวก ปลอดภัย ให้ผลการตรวจที่ถูกต้องสูงสุด ซึ่งเป็นการช่วยเหลือประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤติครั้งนี้” ผศ.ดร.จุฑามาศกล่าว
นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษใช้ดำเนินการร่วมกับรถเก็บตัวอย่างชีวนิรภัย เพื่อค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก ช่วยลดปัญหาในการขนส่งตัวอย่างสิ่งส่งตรวจเข้ามาในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดใกล้เคียงที่ต้องใช้เวลานาน การทำงานภายในรถเหมือนระบบสายพานโรงงาน ทั้งการสกัดเชื้อและการวิเคราะห์ คาดว่าใน 8 ชั่วโมงสามารถตรวจตัวอย่างได้ 800 – 1,000 ตัวอย่าง การนำรถลงไปใช้งานจริงในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครในครั้งนี้จะทำให้เกิดความปลอดภัยและยุติปัญหาการระบาดของโรคในจังหวัดสมุทรสาครให้เร็วที่สุด
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ Sensory Play เสริมประสบการณ์รับรู้สัมผัส สำหรับเด็กอายุ 2-4 ปี
5 พ.ย. 67 เวลา 10.00 - 12.00 น.
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ
เชิญร่วมฟังสัมมนาหัวข้อ “Key Issues in Contemporary Corporate Sustainability Practices: Climate Risk, Human Rights Risk, and ESG Disclosures”
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันกีตาร์คลาสสิกระดับนานาชาติ
Chula-SI HUB บ่มเพาะผู้ประกอบการทางสังคม Young Sustainability Practitioner รุ่นที่ 4
“ตลาดนัดของมือสองสภาพดี” โครงการ CU Sharing for Charity แบ่งปันเพื่อน้อง ครั้งที่ 3
29 พ.ย. 67
อาคารสรรพศาสตร์วิจัย และอาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้