รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 มกราคม 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม
สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 ในบ้านเราที่มีค่าฝุ่นสูงขึ้นจนติดอันดับโลก ส่งผลกระทบในการดำเนินชีวิตของคนเมืองที่ยากจะหลีกเลี่ยงได้ ที่สำคัญคือส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพร่างกาย การมีเครื่องมือตรวจวัดค่าฝุ่น PM2.5 ซึ่งพัฒนาโดยคนไทยด้วยข้อมูลทางวิชาการที่เชื่อถือได้ เพื่อเตรียมพร้อมให้ประชาชนเฝ้าระวังฝุ่น PM2.5 จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัดโครงการ Sensor for All สำหรับติดตามข้อมูลด้านคุณภาพอากาศ และปริมาณฝุ่น PM2.5 มาอย่างต่อเนื่องกว่า 3 ปี มีการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจวัดฝุ่นจิ๋วตามจุดต่างๆ เริ่มจากในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และขยายการติดตั้งไปทั่วประเทศ นับเป็นนวัตกรรมจากคณาจารย์จุฬาฯ ผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขา ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่ก้าวหน้ามาเป็นลำดับ
ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์นวัตกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการ Sensor for All เปิดเผยถึงปัญหาฝุ่น PM2.5 ว่าส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมและกิจวัตรประจำวันของคน ในมุมมองของนักวิชาการสิ่งแวดล้อม แนวทางการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ต้องอาศัยองค์ประกอบ 4 อย่าง ได้แก่ ข้อมูล (Database) ที่มากเพียงพอทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ หน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกและสื่อสารข้อมูลออกไป การออกนโยบายเพื่อนำไปสู่การมีส่วนร่วมของทุกคน และการสร้างความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ในการช่วยกันดูแลตักเตือน
ศ.ดร.พิสุทธิ์ ให้ข้อมูลว่า โครงการ Sensor for All เริ่มมาเกือบ 10 ปีแล้ว มีที่มาจากนวัตกรรมโครงข่ายเซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพอากาศซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมสำรวจ และวิศวกรรมไฟฟ้า “เราต้องการให้ผลงานนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในวงกว้างและมีความยั่งยืน จึงเกิดเป็นโครงการ Sensor for All ซึ่งโครงการในปีที่ 1-2 เน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม โดยมีหน่วยงานเข้ามาสนับสนุน และสร้างความยั่งยืนให้สังคมไทย”
โครงการ Sensor for All ในปีแรก เริ่มจากการพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจวัดฝุ่น PM2.5 และทดลองติดตั้งในพื้นที่รอบจุฬาฯ โครงการปีที่ 2 มุ่งพัฒนาระบบการส่งและแสดงผลข้อมูล รวมทั้งขยายการตรวจวัดปริมาณฝุ่นให้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่าย คือการเคหะแห่งชาติ และ True Corporation นอกจากเซ็นเซอร์ตรวจวัดฝุ่นแล้ว ยังมีการเผยแพร่องค์ความรู้ โดยจัดทำเป็น Pocketbook “ยุทธการดับฝุ่น” เพื่อปลูกฝังความรู้เรื่องฝุ่นให้กับเยาวชน สำหรับโครงการปีที่ 3 ซึ่งเปิดตัวโครงการเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายวางแผนติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจวัดฝุ่น PM2.5 ทั้งหมด 1,000 จุดทั่วประเทศ
ปัจจุบันโครงการ Sensor for All ได้เผยแพร่ข้อมูลคุณภาพอากาศทาง http://sensorforall.eng.chula.ac.th/ มีการรายงานสถานการณ์พร้อมให้ความรู้เรื่องฝุ่น PM2.5 เป็นประจำทุกวันทาง Facebook : Sensor for All นอกจากนี้จะมีการต่อยอดโดยพัฒนาแอปพลิเคชัน Sensor For All บนสมาร์ทโฟน ซึ่งจะเปิดตัวกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ ข้อมูลที่น่าสนใจในแอปพลิเคชันนี้ประกอบด้วยข้อมูลคุณภาพอากาศเกี่ยวกับค่าฝุ่น PM2.5 จากเซ็นเซอร์ของคนไทย การคาดการณ์เรื่องคุณภาพอากาศที่มีความแม่นยำ การแบ่งปันความรู้ เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน และมีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานกับทีมงานผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน
“สิ่งที่มีมูลค่ามากที่สุดในยุคนี้ไม่ใช่เงิน แต่เป็นข้อมูล สิ่งที่ทำให้ข้อมูลมีมูลค่า คือผู้เชี่ยวชาญที่มีใจในการทำงาน Sensor for All จะเป็นหนึ่งในโครงการต้นแบบที่แสดงให้เห็นถึงนวัตกรรมสู่ความยั่งยืน แสดงให้เห็นว่าคนไทยก็สามารถทำได้ ความสำเร็จของโครงการนี้จะขยายผลไปยังภาคส่วนต่างๆ เพื่อการแก้ปัญหาโครงการอื่นๆ เช่น ขยะ พลาสติก และภัยพิบัติธรรมชาติต่อไป” ศ.ดร พิสุทธิ์ กล่าวทิ้งท้าย
ติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศ และความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.5 ได้ที่http://sensorforall.eng.chula.ac.th/https://www.facebook.com/sensorforall/
และพบกับแอปพลิเคชัน Sensor For All จะเปิดใช้งานกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2564
นิสิต BBA จุฬาฯ เยี่ยม! ทำคะแนนสอบ TCAS Inter 2024 ได้ที่ 1 ของประเทศ
ขอเชิญร่วมงาน “Chula Lunch Talk: อยู่ออฟฟิศก็เฟิร์มได้! ท่าออกกำลังง่าย ๆ สู้ Office Syndrome”
24 ม.ค. 68
สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ
แนวปฏิบัติเพื่อรองรับมาตรการจัดการในสถานการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมฟังการบรรยายพิเศษและการเสวนา ในงานครบรอบวัน อรุณ สรเทศน์ รำลึก ประจำปี 2568
22 มกราคม 2568 เวลา 08.30 น.
หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์
Chula Thailand Presidents Summit 2025” ครั้งแรกของการรวมตัวของสุดยอดผู้นำองค์กร เปิดวิสัยทัศน์ขับเคลื่อนประเทศ 3 กุมภาพันธ์ 2568 หอประชุมจุฬาฯ
3 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 9.00 - 15.30 น.
โครงการ Cartier Women’s Initiative (CWI) เปิดรับสมัครหลักสูตรอบรมผู้ประกอบการเพื่อสังคมทุกเพศ-วัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้