ข่าวสารจุฬาฯ

สหเวชศาสตร์ จุฬาฯ บรรเทาวิกฤตโควิด-19 ชาวสมุทรสาคร ตรวจคัดกรองเชิงรุกด้วยเครื่องมือที่รับรองมาตรฐานความปลอดภัย

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อและมีภาวะเสี่ยงต่อโรคนี้เป็นจำนวนมาก การตรวจคัดกรองเพื่อหาผู้ติดเชื้ออย่างรวดเร็วและแม่นยำจะช่วยให้ผู้ติดเชื้อได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงที ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19ในวงกว้าง รวมทั้งยังช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ โดยหน่วยปฏิบัติการบริการวิทยาศาสตร์สุขภาพ ในฐานะผู้นำทางวิชาชีพแบบบูรณาการและแหล่งอ้างอิงในภูมิภาคเอเชีย  และเป็นผู้นำการสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อสร้างเสริมสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน นำความรู้ความเชี่ยวชาญลงพื้นที่ไปตรวจคัดกรองและป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงคลายความวิตกกังวล โดยเมื่อเดือนธันวาคม 2563  – ต้นเดือนมกราคม 2564 คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ได้นำรถความดันลบเคลื่อนที่ลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อให้บริการเร่งค้นหาตรวจคัดกรองหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง  มีประชาชนรับบริการตรวจคัดกรองในครั้งนี้กว่า 5,000 คน

นอกจากนี้ หน่วยปฏิบัติการบริการวิทยาศาสตร์สุขภาพฯ ได้ให้บริการตรวจเชื้อโควิด-19 (SARS–CoV–2) ด้วยวิธี Real–time PCR แก่ชาวสมุทรสาครในหลายพื้นที่ เช่น ที่สะพานปลา มหาชัย และตามบริษัทอุตสาหกรรมต่างๆ  ด้วยเครื่องมือที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน CE–IVD น้ำยาที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์เป็นน้ำยาชนิดพิเศษที่ผ่านการรับรองจากยุโรป สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการได้เป็นอย่างดี บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องผ่านการอบรมด้านความปลอดภัย การเก็บรักษาและขนส่งสิ่งส่งตรวจ การตรวจวิเคราะห์ การรายงานผล ตลอดจนการทำลายขยะอันตราย ตามมาตรฐานวิชาชีพเทคนิคการแพทย์และมาตรฐานสากล รวมทั้งมีอุปกรณ์ป้องกันตนเองที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความปลอดภัย ที่สำคัญคือได้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว

คณาจารย์ บุคลากร รวมทั้งศิษย์เก่าคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ได้ใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพลงพื้นที่ไปช่วยเหลือประชาชน ด้วยความร่วมแรงร่วมใจทุ่มเทอย่างเต็มกำลังความสามารถ เพื่อช่วยเหลือประชาชนและประเทศชาติให้ผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้อย่างดีที่สุด

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า