รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
5 กุมภาพันธ์ 2564
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจของนักแบดมินตันทีมชาติไทยที่สร้างผลงานอันโดดเด่นในการแข่งขันแบดมินตัน HSBC World Tour Finals ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 27-31 มกราคมที่ผ่านมา ยืนยันได้ถึงความสามารถของนักกีฬาไทยที่ไม่เป็นสองรองใคร หนึ่งในความสำเร็จนั้นมีชื่อของพรปวีณ์ ช่อชูวงศ์ รวมอยู่ด้วยในฐานะนักแบดมินตันหญิงที่สร้างชื่อด้วยการเอาชนะ นักแบดมินตันมือ 1 ของโลกชาวไต้หวัน จากการแข่งขันครั้งนี้ทำให้อันดับโลกแบดมินตันประเภทหญิงเดี่ยวของเธอขึ้นสู่อันดับ 11 ของโลก
พรปวีณ์ ช่อชูวงศ์ (หมิว) นิสิตชั้นปีที่ 5 คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เผยถึงเส้นทางความสำเร็จกว่าจะมีวันนี้ว่าเกิดจากการทุ่มเทฝึกซ้อมอย่างหนัก ด้วยใจรักในกีฬาแบดมินตันและต้องเอาชนะความกดดันจากการแข่งขันให้ได้ โดยมีครอบครัวทั้งพ่อแม่และพี่สาว คือพชรพรรณ ช่อชูวงศ์ ซึ่งเคยเป็นนักแบดมินตันทีมชาติไทย เป็นกำลังใจและให้การสนับสนุนเธอมาโดยตลอด
พรปวีณ์ เล่าว่าเธอเริ่มจับไม้แบดเป็นครั้งแรกตั้งแต่อายุ 4 ขวบ จากการที่พ่อแม่ส่งเสริมให้เธอและพี่สาวเล่นกีฬาตั้งแต่เด็ก จนค้นพบตัวเองว่าแบดมินตันเป็นกีฬาที่เธอชื่นชอบมากที่สุด เธอจึงเล่นแบดมินตันตามสนามแบดในจังหวัดระยองแทบทุกวัน และได้ติดตามพี่สาวมาฝึกซ้อมแบดมินตันที่กรุงเทพฯ เป็นประจำทุกเสาร์อาทิตย์ จากนั้นได้ลงแข่งขันแบดมินตันรายการต่างๆ เรื่อยมา โดยสามารถคว้าแชมป์แรกในชีวิตตอนอายุ 7 ขวบ ได้รับถ้วยพระราชทานซึ่งเธอรู้สึกดีใจมาก จนกระทั่งอายุ 11 ปี ได้เข้าร่วมโครงการ SCG และได้แชมป์ระดับประเทศจากการแข่งขันแบดมินตันของ SCG ในประเภทหญิงเดี่ยวและประเภทคู่ซึ่งลงคู่กับพี่สาว
หมิวผ่านการแข่งขันแบดมินตันรายการต่างๆ มาแล้วมากมาย ทั้งในระดับประเทศไทย อาเซียน เอเชีย จนถึงระดับโลก ผลงานที่เธอภูมิใจมากคือการได้รองแชมป์แบดมินตันเยาวชนโลกที่สเปน เมื่อตอนอายุ 18 ปี การแข่งขันรายการที่สร้างประวิติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการแบดมินตันไทยก็คือการคว้าแชมป์รายการบาร์เซโลน่า มาสเตอร์ ที่ประเทศสเปน ด้วยการเอาชนะคาโรลิน่า มาริน ซึ่งเป็นอดีตแชมป์โลกและเหรียญทองโอลิมปิก เมื่อปี 2563 รวมถึงการแข่งขันรายการล่าสุด HSBC BWF World Tour Finals ปี 2020 ซึ่งเป็นการนำนักแบดมินตันที่ดีที่สุด 8 อันดับเข้ามาแข่งขันในประเทศไทย ซึ่งเธอ ก็ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมอีกครั้ง โดยในรอบแรกสามารถเอาชนะรุ่นพี่คือ รัชนก อินทนนท์ มือ 1 ของไทย และยังสามารถเอาชนะไถ้ ซื่อหยิง มือ 1 ของโลก ชาวไต้หวันเข้าสู่รองรองชนะเลิศอีกด้วย
“การเป็นนักกีฬาแบดมินตันไม่ใช่แค่ตีแบดเก่งอย่างเดียว แต่เราต้องมีความหวังที่จะก้าวไปถึงระดับโลกด้วย ความสำเร็จของเราจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับใครอีกหลายๆ คนให้ก้าวตามความฝันจนประสบความสำเร็จ เวลาที่ลงแข่งขันไม่ว่ารายการไหนจะบอกตัวเองทุกครั้งว่าต้องทำให้เต็มที่และพยายามไม่กดดันตัวเอง การได้โค้ชที่ดีมีส่วนสำคัญมาก เพราะโค้ชเปรียบเหมือนหางเสือที่คอยประคับประคองให้เราเดินไปถูกทาง” หมิว นักแบดมินตันมือวางอันดับที่ 11 ของโลก กล่าว
นอกจากจะฝึกซ้อมกีฬาแทบทุกวันแล้ว ปัจจุบันพรปวีณ์ ทำหน้าที่ฝึกสอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ในวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ที่โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม หมิวกล่าวเพิ่มเติมว่า การเป็นนิสิตในโครงการพัฒนากีฬาชาติของ จุฬาฯ ทำให้เธอสามารถประสบความสำเร็จได้ทั้งการเรียนและเล่นกีฬาไปพร้อมกัน เหมือนเช่นรุ่นพี่นิสิตจุฬาฯ ในโครงการพัฒนากีฬาชาติที่เป็นนักกีฬาแบดมินตันหญิง ที่มีชื่อเสียง ไม่ว่าจะเป็น ทรัพย์สิรี แต้รัตนชัย บุศนันทน์ อึ๊งบำรุงพันธ์ พรทิพย์ บูรณะประเสริฐสุข ฯลฯ โครงการนี้เอื้ออำนวยให้กับนักกีฬาในการแข่งขันและเก็บตัวฝึกซ้อมได้อย่างเต็มที่ อาจารย์และเพื่อนๆ ในคณะได้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องการเรียนเป็นอย่างดี
“เป้าหมายสูงสุดทางด้านการแข่งขันแบดมินตัน อยากไปให้ถึงระดับโลกให้ได้ ส่วนเรื่องการศึกษาต่อก็ไม่ทิ้ง ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะทำทั้งสองอย่างไปพร้อมๆ กัน สำหรับน้องๆ ที่อยากเป็นนักกีฬาแบดมินตันให้ประสบความสำเร็จ ขอให้เชื่อมั่นในตัวเอง คิดว่าเราอยากได้อะไรก็ลงมือทำในสิ่งที่เหมาะกับตัวเอง สิ่งสำคัญคือต้องมีความรับผิดชอบและทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด” พรปวีณ์ กล่าวทิ้งท้าย
นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Spark the Local 2024 by PTT
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้