ข่าวสารจุฬาฯ

นิสิตจุฬาฯ ชนะเลิศการแข่งขันแผนงานแก้ปัญหาทางการเกษตร “ความท้าทายของการผลิตข้าวในเขตทุ่งกุลาร้องไห้”

นิสิตจุฬาฯ ทีม “รากใหม่” คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน “Agri–Challenge Case Competition” ซึ่งเป็นการวิเคราะห์และนำเสนอแนวคิดเพื่อตอบโจทย์ปัญหาด้านการเกษตรระดับมหาวิทยาลัย ในหัวข้อ  “ความท้าทายของการผลิตข้าวในเขตทุ่งกุลาร้องไห้” การแข่งขันครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในงานเกษตรสร้างคุณค่า : Thailand Agricultural Online Forum  ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 – 24 มกราคมที่ผ่านมา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการเกษตรให้แก่เกษตรกรไทย ตลอดจนมุ่งหวังที่จะยกระดับภาคการเกษตรของประเทศไทยให้ก้าวสู่ระดับสากล

นิสิตจุฬาฯ ทีม “รากใหม่” ประกอบด้วยสมาชิก 4 คนจาก 4 คณะ ประกอบด้วย นางสาวเอมิกา สันติสำราญวิไล สาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี นายฐิติ ชิวชรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ นายสพล ตัณฑ์ประพันธ์ คณะเศรษฐศาสตร์  และนางสาวนพณัฐ เปลี่ยนปาน ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ ได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท

การแข่งขัน “Agri–Challenge Case Competition”  ในรอบแรกเปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษานำเสนอโมเดลการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมผลไม้  ทีมที่ผ่านเข้ารอบจะนำเสนอแผนงานเรื่อง  “ความท้าทายของการผลิตข้าวในเขตทุ่งกุลาร้องไห้” โดยนิสิตจุฬาฯ ทีม “รากใหม่” ได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีผสานเข้ากับวิธีการเกษตรในปัจจุบัน โดยมีการให้ความรู้ทางด้านการเงินแก่ชาวบ้านการทำสัญญาการเช่าซื้อแบบกำหนดระยะเวลา เปิดโอกาสให้กลุ่มนายทุนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับชาวบ้านที่ทำนาแต่มีความเสี่ยงทางด้านรายได้ โดยมีที่ปรึกษาการเงินประจำหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรเข้ามาใช้ อีกส่วนหนึ่งคือมีการทำการตลาด เพื่อสร้างความต้องการข้าวหอมมะลิที่เพิ่มขึ้น

เอมิกา สันติสำราญวิไล (ข้าว) นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ตัวแทนทีม “รากใหม่” เปิดเผยว่า จุดเด่นของแผนงานที่ทีมนำเสนอมีความแตกต่างจากทีมอื่นๆ ที่การมองนโยบาย   ในภาพใหญ่ สามารถตอบโจทย์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุดและครอบคลุมการดำเนินการในระยะต่างๆ ซึ่งเกิดจากการระดมความคิดกันของสมาชิกในทีมที่มาจากต่างคณะ ทำให้ได้มุมมองความคิดที่หลากหลายและสามารถตอบคำถามได้อย่างรู้จริง นอกจากรางวัลชนะเลิศแล้ว ยังได้รับรางวัล Popular Vote ในฐานะสุดยอดทีมที่มีแนวคิดโดนใจ ซึ่งวัดจากยอด like และยอด share ทางเพจ Facebook อีกด้วย

  “การแข่งขันครั้งนี้ทำให้ได้เปิดโลกแห่งความรู้ทางด้านการเกษตรซึ่งเป็นเรื่องที่ไกลตัวของคนเมือง พวกเราจึงต้องลงไปพูดคุยกับชาวบ้านจริงๆ และศึกษาหาข้อมูลงานวิจัยต่างๆ เพิ่มเติมค่อนข้างมากซึ่งเป็นประสบการณ์ที่มีค่าอย่างยิ่งนอกเหนือจากรางวัลที่ได้รับ” น้องข้าวกล่าวทิ้งท้าย       

สามารถติดตามผลงานความยอดเยี่ยมของนิสิตจุฬาฯ ทีม “รากใหม่” ได้ที่ เพจ Facebook  ปุ๋ยเต็มสูตร ตราหัววัว-คันไถ

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า