ข่าวสารจุฬาฯ

ประกาศมาตรการของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินโควิด-19 หลังพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) ฉบับที่ 2/2564

ประกาศมาตรการของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินโควิด-19
หลังพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19)
ฉบับที่ 2/2564
—————————————————————–

ตามที่ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินโควิด-19 ได้รับแจ้งว่ามีบุคลากรติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังประกาศมาตรการของคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน โควิด-19 หลังพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) ฉบับที่ 1/2564 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 และขณะนี้บุคลากรคนดังกล่าวได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น

คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินโควิด-19 ได้ติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดกับบุคลากรคนดังกล่าวให้เข้ามารับการตรวจคัดกรองที่ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ และพบว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) เพิ่มเติมอีก 2 คน ซึ่งพักอยู่ห้องติดกับผู้ป่วยรายแรกและมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกัน

คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินโควิด-19 จึงกำหนดมาตรการในดำเนินการดังต่อไปนี้

1. สอบสวนโรคผู้ป่วย 2 คนใหม่โดยเร็วที่สุด

2. ติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย 2 คนดังกล่าวให้เข้ามารับการตรวจคัดกรองที่ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ โดยทันที

3. สอบสวนวงจรการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยดังกล่าวเพื่อกำหนดให้ผู้ที่มีความเสี่ยงภายในระยะเวลา 14 วัน ก่อนวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ลาหยุดเพื่อกักบริเวณดูอาการเป็นเวลา 14 วันโดยไม่ถือเป็นวันลา และสามารถขอรับการตรวจคัดกรองที่ศูนย์บริหารสุขภาพ จุฬาฯ โดยมหาวิทยาลัยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด

4. ให้สำนักบริหารระบบกายภาพฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อและทำความสะอาดตามมาตรฐานทางสาธารณสุขทั่วพื้นที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพิ่มอีกรอบหนึ่ง

โดยมหาวิทยาลัยจะได้ดำเนินการมาตรการอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในฉบับที่ 1 ต่อไปด้วย

ทั้งนี้ตามแนวทางของกรมควบคุมโรค ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงและต้องไปตรวจคัดกรองโรค คือ สมาชิกในครอบครัวเดียวกันกับผู้ป่วยที่มีการใกล้ชิดกัน ผู้ที่ได้พูดคุยกับผู้ป่วย 5 นาทีขึ้นไป ผู้ที่ผู้ป่วยมีอาการไอ จาม รด และผู้ที่อยู่ในสถานที่อับอากาศกับผู้ป่วยเกิน 15 นาทีโดยไม่สวมหน้ากากอนามัย สำหรับพฤติการณ์อื่น ๆ เช่น การพักอยู่อาคารเดียวกันกับผู้ป่วย การใช้พื้นที่สาธารณะเดียวกันกับผู้ป่วยนั้นมิได้เป็นเหตุให้เกิดความเสี่ยงสูง จึงไม่ควรตระหนกแต่ควรระมัดระวัง รักษาความสะอาด ไม่ไปในที่สาธารณะ และหมั่นประเมินสุขภาพของตนเองอยู่เสมอ

หากมีความคืบหน้าเพิ่มเติม คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินโควิด-19 จะแจ้งให้ทราบเป็นระยะต่อไปผ่านทาง https://www.chula.ac.th/covid-19/ หัวข้อ “ข่าวสาร COVID-19”

ประกาศ ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2564

คณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินโควิด-19

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า