ข่าวสารจุฬาฯ

การประชุมนานาชาติรำลึกวันผู้อพยพย้ายถิ่นสากล

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการย้ายถิ่นและการพัฒนา ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา สถาบันวิจัยสังคม วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาฯ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ พันธมิตรสากลต้านการค้าหญิง ชุมชนทางอุษาคเนย์ โครงการ The International Labour Organization’s Triangle in Asean ร่วมกับศูนย์ประสานงานวิจัยแรงงานแห่งจุฬาฯ จัดการประชุมนานาชาติ “Weaving the Threads of Migration, Sustainable Development and The Pandemic” เพื่อรำลึกวันผู้อพยพย้ายถิ่นสากล เมื่อเร็วๆนี้ ณ CU Social Innovation Hub ชั้น 1 อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ โดยมี ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย เป็นผู้กล่าวเปิดงาน

การประชุมนานาชาติครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการและการสร้างเครือข่ายกับองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคและระดับชาติ รัฐบาล ภาคประชาสังคมและภาควิชาการที่ทำงานในด้านการย้ายถิ่น รวมทั้งเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายให้ผู้ย้ายถิ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีและปลอดภัย

ในงานนี้ องค์กรระดับชาติและระดับนานาชาติได้แสดงความมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาการย้ายถิ่นและการพัฒนา เน้นให้เห็นถึงผลกระทบของ COVID-19 ต่อการเคลื่อนย้ายของมนุษย์และความท้าทายในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาด วิสัยทัศน์ด้านการย้ายถิ่นและการพัฒนา ความร่วมมือที่แข็งแกร่งจะช่วยรักษาผลกระเพื่อมของการประชุมไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเกี่ยวกับการย้ายถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เน้นย้ำถึงความสำคัญของเป้าหมายในการส่งเสริมการเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับการย้ายถิ่น การเคลื่อนย้ายและการพัฒนา ร่วมมือสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ที่ทันสมัยเกี่ยวกับการย้ายถิ่น การเคลื่อนย้ายและการพัฒนา สนับสนุนการใช้งานวิจัยและหลักฐานเพื่อผลักดันนโยบายด้านการย้ายถิ่น การเคลื่อนย้ายและการพัฒนา ขยายและเสริมสร้างเครือข่ายในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ โดยการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ซึ่งรวมถึงชุมชนวิชาการ รัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ หน่วยงานภูมิภาคและท้องถิ่น องค์กรภาคประชาสังคมและภาคเอกชน ตลอดจนแรงงานข้ามชาติในการดำเนินการเกี่ยวกับการย้ายถิ่น สนับสนุนการปฏิบัติบนพื้นฐานขององค์ความรู้และการหารือด้านวิชาการเพื่อส่งเสริมกิจกรรมบนพื้นฐานความรู้ และร่วมส่งเสริมหลักการสิทธิมนุษยชนและร่วมมือกันเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า