รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 กุมภาพันธ์ 2564
Featured News, งานวิจัยและนวัตกรรม
รายจ่ายในการขนส่งความสดของน้ำนมวัวจากฟาร์มไปยังศูนย์น้ำนมดิบเป็นภาระของเกษตรกรมาโดยตลอด เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน จุลินทรีย์ในนมวัวจึงเติบโตได้เร็ว ส่งผลให้นมบูดเสียง่าย คนเลี้ยงวัวนมจึงต้องทำงานแข่งกับเวลา แถมมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสำหรับการเก็บรักษาคุณภาพน้ำนมไว้ที่อุณหภูมิต่ำตลอดทางระหว่างการขนส่ง
“นมวัวเสียง่ายมาก หลังจากที่เกษตรกรรีดนมมาแล้ว ต้องรีบนำมาแช่เย็น มิฉะนั้นจะเสียระหว่างทาง แล้วศูนย์น้ำนมดิบก็จะไม่รับซื้อเพราะซื้อไปก็เสี่ยงนมเสีย ทางเดียวตอนนี้ที่ทำกันอยู่คือการแช่เย็น ซึ่งราคาตู้แช่ก็สูง กลายเป็นรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในส่วนของเกษตรกรฟาร์มนมวัว และก็ทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อนมดื่มในราคาที่สูงขึ้นตามมา เรื่องนี้คือโจทย์สำคัญในการวิจัยของเรา“ เดวิด มกรพงศ์ นักวิจัยในหลักสูตรธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าถึงที่มาของโครงการประดิษฐ์คิดค้น PASS+
“นวัตกรรรมนี้ช่วยชะลอการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำนมวัวด้วยการฉายแสงอัลตราไวโอเลต หรือที่เรียกว่า UV ซึ่งจากผลการวิจัย เราพบว่า PASS+ ช่วยให้จำนวนจุลินทรีย์ลดลงได้ถึง 90% ทำให้นมไม่เน่าเสียแม้ไม่แช่เย็น และยังคงคุณประโยชน์ของน้ำนมได้ครบถ้วน”
เดวิด ขยายความต่อไปว่าเมื่อน้ำนมวัวผ่านกระบวนการด้วยเครื่อง PASS+ แล้ว เกษตรกรฟาร์มโคนมจะมีเวลาในการขนส่งนานขึ้นอีกราว 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมงเป็นอย่างช้า ซึ่งเพียงพอต่อการถนอมคุณภาพอาหารระหว่างการเดินทาง
“เมื่อเราสามารถรักษาความสดของน้ำนมไว้ได้นานขึ้นโดยไม่ต้องใช้ความเย็น เราก็จะลดต้นทุนการผลิตด้านการขนส่งไปได้มาก เกษตรกรก็ไม่ต้องมีภาระซื้อตู้แช่เย็น รายจ่ายในการผลิตค่าขนส่งก็ลดลง ผู้บริโภคก็จะได้รับน้ำนมวัวที่สดใหม่ มีคุณภาพ ในราคาที่ต่ำลงกว่าเดิมด้วย”
ปัจจุบัน PASS+ ได้ขึ้นบัญชีเป็นนวัตกรรมไทยเรียบร้อยแล้ว และมีเกษตรกรรายย่อยหลายฟาร์มในเครือองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยที่ได้ทดลองใช้ PASS+ แล้ว ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ
“นวัตกรรม PASS+ จะช่วยพลิกวงการฟาร์มโคนมได้อย่างมาก เพราะนอกจากจะช่วยให้เกษตรกรรายย่อยได้มีโอกาสได้ลืมตาอ้าปากได้มากขึ้นแล้ว ยังเป็นทางเลือกใหม่ในการพัฒนาคุณภาพน้ำนมจากฟาร์ม ผู้บริโภคจะได้ดื่มนมที่มีคุณภาพเยี่ยมในราคาที่ถูกลง” เดวิด กล่าวทิ้งท้าย
จุฬาฯ ร่วมกับ 6 ชุมชนบางขุนเทียน จัด “เทศกาลฟาร์มทะเลกรุงเทพ” ต้นแบบกิจกรรมพัฒนาชุมชน สู่เศรษฐกิจสีเขียวอย่างยั่งยืน
จุฬาฯ อันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากการจัดอันดับโดย THE Asia University Rankings 2025
นิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล Best Poster Award การประชุมวิชาการระดับนานาชาติที่มาเลเซีย
สถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) คณะจิตวิทยา จุฬาฯ จัดประชุมวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต
จุฬาฯ หนึ่งเดียวของไทย ชนะเลิศรางวัลเอเชีย THE Awards Asia 2025 “MDCU MedUMORE” คว้า Winner ประเภท Technological or Digital Innovation of the Year
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพุ่มดอกไม้ถวายสักการะสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงและร่วมตักบาตร เนื่องในโอกาสวันสถาปนาสภากาชาดไทยครบรอบ 132 ปี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้