รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 กุมภาพันธ์ 2564
ทีมนิสิตปริญญาเอก จุฬาฯ สร้างนวัตกรรมที่นั่งอัจฉริยะ “DynaSeat” ปรับพฤติกรรมการนั่ง ป้องกันอาการปวดคอและหลังจากออฟฟิศซินโดรม
เมื่อเอ่ยถึงออฟฟิศซินโดรม หลายคนคงคุ้นเคยกับโรคฮิตยุคดิจิทัลนี้กันบ้างไม่มากก็น้อย ไม่ว่าอาการปวดเมื่อยคอบ่าไหล่ ตึงร้าวจากต้นแขนถึงปลายนิ้ว ที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตและการทำงาน หนทางแก้อาการก็ทำกันหลายขนาน ทั้งนวดผ่อนคลาย กินยา ฝังเข็ม ทำกายภาพบำบัด หรือซื้ออุปกรณ์คลายพังผืดและกล้ามเนื้อ อาการก็อาจดีชึ้นชั่วระยะ แล้วก็จะกลับมาอีกเรื่อยๆ แบบเรื้อรัง ทั้งนี้ก็เนื่องจากปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรมยังไม่ถูกปรับแก้
“ออฟฟิศซินโดรมเป็นกลุ่มอาการที่ต้องใช้เวลาสั่งสม กว่าจะรู้ตัวก็เป็นโรคนี้ไปเสียแล้ว การบำบัดเยียวยาก็ใช้เวลา ซึ่งสาเหตุหลักคือพฤติกรรมการนั่ง ท่านั่งที่ไม่ถูกต้องและการนั่งต่อเนื่องเป็นเวลานาน ดังนั้น หากเรานั่งได้ถูกต้องเหมาะสมก็จะเป็นหนทางป้องกันไม่ให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้” ทีมนิสิตปริญญาเอก จุฬาฯ – นิภาพร อัครกิตติโชค สาขาชีวเวชศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย และ ภูริพัฒน์ วาวเงินงาม ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ เผยแนวคิดตั้งต้นในการคิดค้นไดนาซีท (DynaSeat) นวัตกรรมที่นั่งปรับพฤติกรรมออฟฟิศซินโดรม ที่เพิ่งคว้ารางวัลเหรียญทองและรางวัลระดับดีมากในการประกวดผลงานนวัตกรรมสายอุดมศึกษาประจำปี 2563 จากงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ 2563 (Thailand Research Expo 2020)
ทีมวิจัยอธิบายอุปกรณ์และการทำงานของผลงานชิ้นนี้ว่า มีเพียงองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน ได้แก่ ที่นั่งเป่าลม ตัวควบคุม และแอปพลิเคชัน และการออกแบบฟังก์ชันที่ช่วยปรับพฤติกรรมการนั่ง 2 แบบ
“แบบแรกเป็นโปรแกรมปรับการนั่งเรียกว่าไดนาซีท (Dynaseat) คือ เมื่อผู้ใช้นั่งไม่สบายตัว นั่งไม่สมดุล หรือนั่งผิดวิธีนานเกินไป เครื่องควบคุมจะเป่าลมไปในที่ที่นั่งเพื่อบังคับให้ผู้ใช้ขยับตัว ขณะเดียวกันก็จะขึ้นสัญญาณไฟสีแดงแจ้งเตือนว่าควรเปลี่ยนท่านั่งให้ถูกต้อง โดยจะมีการรายงานผ่านแอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์ว่าผู้ใช้มีพฤติกรรมการนั่งอย่างไร เช่น นั่งตัวเบี้ยว นั่งเอียงซ้าย นั่งไขว่ห้าง โดยสังเกตจากการทิ้งน้ำหนักตัวของผู้ใช้ ผ่าน Pressure Sensor ที่วัดแรงกดของถุงลมในที่นั่ง ผู้ใช้จะได้ทราบว่าต้องปรับพฤติกรรมการนั่งให้ถูกต้องอย่างไร เพื่อให้ตัวเองไม่รู้สึกเมื่อยระหว่างนั่ง หากผู้นั่งสามารถนั่งได้ถูกต้องสัญญาณไฟจะเปลี่ยนเป็นสีเขียว” นิภาพร อธิบาย
ส่วนการทำงานอีกโปรแกรมเรียกว่าไดนาเรสท์ (DynaRest) ที่จะแจ้งเตือนให้ผู้ใช้ลุกออกจากที่นั่งบ้าง
“เมื่อผู้ใช้ไดนาซีทนั่งนานเป็นเวลานานแล้ว ระบบจะเตือนให้ผู้ใช้ขยับร่างกายออกจากที่นั่งเพื่อไปพักผ่อนจากการทำงาน โดยจะมีการจับเวลา หากผู้ใช้ออกไปพักน้อยกว่าหรือมากกว่าเวลาที่โปรแกรมกำหนด เวลาจะก็จะทบไปครั้งต่อไปด้วย โปรแกรมนี้จะทำให้ผู้ใช้ได้ขยับตัวและไม่นั่งอยู่กับที่เป็นระยะเวลานานเกินไป”
นิภาพรกล่าวถึงผลการทดลองว่าไดนาซีทช่วยป้องกันการปวดคอได้ 70 เปอร์เซนต์ และป้องกันการปวดหลังได้ถึง 80 เปอร์เซนต์ ในกลุ่มตัวอย่างที่ได้ทดลองใช้ที่นั่งอัจฉริยะนี้
“นอกจากนี้ เรายังได้ทดลองกับผู้ที่มีอาการปวดคอจากออฟฟิศซินโดรม เราพบว่าการใช้ไดนาซีทควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัดช่วยให้อาการปวดคอของผู้ป่วยทุเลาเร็วขึ้นในระยะเวลาเพียง 1 เดือน ซึ่งโดยมาก ผู้ป่วยที่บำบัดอาการปวดคอด้วยการทำกายภาพและใช้ชีวิตตามปกติ จะใช้เวลาราว 2 เดือนกว่าอาการจะบรรเทา”
ผลงานชิ้นนี้มีศาสตราจารย์ ดร.ประวิตร เจนวรรธนะกุล ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และได้รับการสนับสนุนจากศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (Chulalongkorn University Technology Center: UTC) บริษัท ศรีไทยโอโตซีทส์ อินดัสตรี จำกัด และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) “ขณะนี้ ไดนาซีทกำลังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเพื่อปรับขนาดให้เหมาะกับการใช้งานและออกแบบให้พร้อมจำหน่ายให้ผู้บริโภคในราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้ และในอนาคต เราวางแผนจะต่อยอดไดนาซีทให้ไปใช้งานในสถานที่อื่นๆ เช่น เก้าอี้โดยสารบนเครื่องบิน รถสาธารณะ โรงภาพยนตร์ เป็นต้น” นิภาพร กล่าวทิ้งท้าย
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้