ข่าวสารจุฬาฯ

สาขาวิชาวารสารสนเทศและสื่อใหม่ นิเทศฯ จุฬาฯ เปิดรับตรง TCAS64 รอบโควตา 1-12 มีนาคม 2564

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดรับสมัครคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวารสารสนเทศและสื่อใหม่ ปีการศึกษา 2564 โครงการรับตรง TCAS64 รอบโควตา ระหว่างวันที่ 1 -12 มีนาคม 2564 จำนวน 10 ที่นั่ง

เกณฑ์การคัดเลือก

  • GPAX   ไม่ต่ำกว่า 3.25
  • คะแนน  GAT ความถนัดทั่วไปประจำปีการศึกษา 2564

กำหนดการคัดเลือก

16 เมษายน 2564          วันทดสอบ “ความถนัดทางวารสารสนเทศ” ประกอบด้วยทักษะและความสนใจทางวารสารสนเทศ สื่อใหม่/สื่อดิจิทัล ความรู้เท่าทันสื่อ และความรู้ในเหตุการณ์ปัจจุบัน

3 พฤษภาคม 2564         ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์

6 พฤษภาคม 2564         สอบสัมภาษณ์

10 พฤษภาคม 2564       ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก

รับสมัครผ่าน www.tcas.atc.chula.ac.th

ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ https://alatchula.wixsite.com/website

หรือทาง QR Code

นิสิตที่ได้รับเลือกเข้ามาศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวารสารสนเทศและสื่อใหม่ของคณะนิเทศศาสตร์ จากการสมัครรับตรง TCAS64 รอบโควตา สามารถเลือกเรียน 2 สาขาได้แก่ สาขาวารสารศาสตร์ (Journalism) หรือสาขาสื่อใหม่ สื่อดิจิทัล และสารสนเทศ (New Media, Digital Media, and Information) โดยสามารถเลือกจากสายอาชีพที่ตนมีความสนใจ เช่น นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ นักเขียนสารคดี คอลัมนิสต์ ผู้ประกาศข่าว ช่างภาพข่าวและสารคดี นักออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ผู้ผลิตคอนเทนต์สื่อดิจิทัล ครีเอทีฟสื่อดิจิทัล นักพัฒนาเนื้อหาเว็บไซต์ นักวิเคราะห์สื่อสังคมออนไลน์ นักออกแบบอินโฟกราฟิก

ผศ.ดร.อลงกรณ์ ปริวุฒิพงศ์ หัวหน้าภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า คณะนิเทศศาสตร์ เปิดสอนสาขานี้มา 47 ปี จึงมีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องวารสารสนเทศและสื่อใหม่ มีผู้สอนที่เป็นนักปฏิบัติ นักวิชาการและนักวิจัยซึ่งได้รับการยอมรับในวงการการสื่อข่าว สื่อใหม่และสื่อดิจิทัล เป็นหลักสูตรที่เหมาะกับสำหรับนิสิตที่มีความมุ่งมั่นใฝ่ฝันที่จะทำงานวงการสื่อข่าวยุคดิจิทัล นักเขียนสื่อออนไลน์ และผู้ผลิตเนื้อหาในยุคสังคมข่าวสาร

“ปัจจุบัน สาขาวิชาวารสารสนเทศมีการปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาแนวทางการเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านสู่สื่อดิจิทัลมากขึ้น โดยยังคงเน้นหนักด้านวิทยาการสื่อข่าวและการจัดการสารสนเทศผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อดิจิทัล และสื่อโซเชียล เนื้อหาการเรียนจึงมีความทันสมัยครอบคลุมการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร สืบค้นข้อเท็จจริงในยุคสังคมข่าวสาร ผู้เรียนจะสนุกกับการสืบค้นข้อมูล และมีทักษะในการแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อสื่อสารถึงความซับซ้อนของสังคมและชุมชนทั้งในโลกจริงและโลกเสมือนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเรียนรู้การจัดการและการผลิตสื่อสมัยใหม่และการผลิตข้อเท็จจริงบนแพลตฟอร์มหลากหลายประเภท ทั้งจากในชั้นเรียนและจากการฝึกภาคปฏิบัติกับมืออาชีพในธุรกิจสื่อและผู้เชี่ยวชาญในวงการสื่อสารของประเทศ” ผศ.ดร.อลงกรณ์ กล่าว

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า