รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 กุมภาพันธ์ 2564
ข่าวเด่น
รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ได้ให้ความรู้ผ่านทาง Facebook เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากเชื้อโควิด-19 สรุปได้ว่า นอกจากการสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง การไม่ใช้มือที่สกปรกสัมผัสหน้ากากและใบหน้า และการล้างมืออย่างถูกวิธีซึ่งเป็นวิธีการที่ดีเทียบเท่ากับการใช้วัคซีนแล้ว สิ่งหนึ่งที่องค์การอนามัยโลกและกระทรวงสาธารณสุขให้คำแนะนำก็คือการเสริมภูมิต้านทานแก่ร่างกายด้วยอาหารและโภชนาการ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยเสริมภูมิต้านทานของร่างกายอีกทางหนึ่ง
รศ.ดร.วินัย กล่าวว่าโภชนาการที่ดีจะช่วยเสริมศักยภาพภูมิต้านทานของร่างกายได้ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดโรค หากติดเชื้อเข้าไปแล้วก็ยังช่วยลดความรุนแรงของโรคได้อีกด้วย ตัวอย่างอาหารเสริมภูมิต้านทาน เช่น วิตามินดี ง่ายที่สุดคือการรับแสงแดดยามเช้าเพราะแสงแดดช่วยสร้างวิตามินดีในผิวหนังได้ อาหารที่มีวิตามินดีค่อนข้างสูงคือ ปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน แมคเคอเรล ปลาทู ปลาทูน่ากระป๋องหรือซาร์ดีนกระป๋อง อาหารอีกกลุ่มหนึ่งที่ช่วยเสริมภูมิต้านทานได้ค่อนข้างดีคือธาตุสังกะสี อาหารที่มีปริมาณสังกะสีสูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ อาหารทะเล โดยเฉพาะหอยนางรม เมล็ดธัญพืชก็มีมาก เช่น เมล็ดแตงโมมีธาตุสังกะสีค่อนข้างสูง
อย่างไรก็ตาม โปรตีนจากเนื้อสัตว์และพืชมีส่วนช่วยเสริมภูมิต้านทานได้เป็นอย่างดี แม้ว่าแหล่งโปรตีนจากพืชจะเทียบไม่ได้เท่ากับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แต่ผักใบเขียวเข้ม ผักผลไม้สีเหลือง สีส้ม ก็นับเป็นแหล่งวิตามินเอและแคโรตินอยด์ซึ่งช่วยเสริมภูมิต้านทานได้ดีเช่นกัน นอกจากนี้ผักผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวยังช่วยเสริมวิตามินซี ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเปลือกแข็งหรือนัทก็เป็นแหล่งแร่ธาตุที่ดีเช่นกัน รวมถึงการดื่มน้ำสะอาดให้ได้ ปริมาณ 8 –10 แก้วต่อวัน ลดสารกาเฟอีนจากเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลม หลีกเลี่ยงน้ำตาลทรายและไซรัปฟรุคโตส ลดเกลือ หากทำได้ตามที่กล่าวมาในข้างต้น ร่างกายของเราก็จะภูมิต้านทานที่แข็งแรงพอที่จะต้านโควิด-19 ได้
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ เปิดอบรมหลักสูตร “เครื่องมือการจัดการสิ่งแวดล้อม”
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ต้อนรับผู้แทนจาก Indiana University สหรัฐอเมริกา เจรจาแนวทางความร่วมมือทางวิชาการ
ศศินทร์จัด Open House แนะนำหลักสูตรต่างๆ วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567
30 พ.ย. 67 เวลา 10.00 น.
ศศินทร์ จุฬาฯ
เชิญฟังการบรรยาย Chula Lunch Talk หัวข้อ “Smart VET-Learning: นวัตกรรม AR สู่การศึกษาสัตวแพทย์ยุคดิจิทัล”
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้