รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
25 กุมภาพันธ์ 2564
ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรื่อง การเปิดสถานที่ทำการ การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน
——————————————
ตามที่ได้มีประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การปิดที่ทำการเป็นการชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ลงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยปิดสถานที่ทำการของมหาวิทยาลัยที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานครเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ ๑๒–๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ ไปแล้วนั้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ในเขตที่ตั้งของมหาวิทยาลัยได้คลี่คลายลงตามลำดับแล้ว
เพื่อให้การดำเนินการของมหาวิทยาลัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัยของนักเรียน นิสิตและบุคลากรในด้านต่างๆ จึงเห็นสมควรประกาศดังนี้
ข้อ ๑ ให้เปิดสถานที่ทำการที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร โดยให้เปิดทำการตามปกติตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
ข้อ ๒ เมื่อเปิดสถานที่ทำการตามปกติแล้ว ให้ส่วนงานหรือหน่วยงานดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ที่ทางราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมหาวิทยาลัยกำหนดอย่างเคร่งครัด ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมทั้งใช้ความระมัดระวังในการดำเนินการทุกด้าน เพื่อป้องกัน หลีกเลี่ยงหรือลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค COVID-19 โดยเฉพาะการวัดอุณหภูมิ การคัดกรองอาการป่วย การสวมหน้ากากอนามัย การรักษาระยะห่างสำหรับผู้มาใช้พื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบ การทำความสะอาดพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ และการจัดอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาดให้เพียงพอต่อผู้มาใช้พื้นที่นั้น ทั้งนี้ เพื่อสร้างสุขนิสัยให้นักเรียน นิสิต และบุคลากรมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี
ข้อ ๓ ให้นักเรียน นิสิต และบุคลากรปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ทางราชการมหาวิทยาลัย หรือส่วนงานกำหนดอย่างเคร่งครัด เป็นต้นว่าการสวมหน้ากากอนามัย การหมั่นล้างมือ การรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล การปฏิบัติตนในการเข้าออกสถานที่ต่างๆ หรือการหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังที่ชุมนุมชนหรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยง การพบปะ การสังสรรค์ การรับประทานอาหารร่วมกันหรือการสนทนากันอย่างใกล้ชิด และมีหน้าที่ติดตามข่าวสารจากมหาวิทยาลัย
กรณีนักเรียน นิสิต หรือบุคลากรใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโรค COVID-19 หรือพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามคำสั่งของทางราชการ หากจำเป็นต้องมา ณ สถานที่ทำการของมหาวิทยาลัย ให้หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงานหรือกำกับดูแลกำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีการคัดกรองเพิ่มเติม โดยอาจให้มีการแสดงใบรับรองแพทย์หรือใช้วิธีการประเมินความเสี่ยงอย่างอื่นร่วมด้วยก็ได้
ข้อ ๔ สำหรับการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษา ให้ดำเนินการหรือปฏิบัติตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง แนวปฏิบัติในการจัดการการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษา สำหรับภาคการศึกษาปลายและภาคฤดูร้อน ปีการศึกษา ๒๕๖๓ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผลแบบผสมผสาน (Blended Learning) ที่เน้นรูปแบบออนไลน์ไปจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๕ ในการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกสถานที่ทำการของมหาวิทยาลัย ขอให้ส่วนงานหรือหน่วยงานคำนึงถึงความจำเป็นในการจัดกิจกรรม และเน้นการจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการมารวมกันของบุคคลเป็นจำนวนมากในสถานที่เดียวกัน
กรณีที่มีความจำเป็นต้องมาเตรียมการเพื่อจัดกิจกรรม ให้หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงานหรือกำกับดูแลพิจารณาอนุญาตได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๖ ในการปฏิบัติงานของบุคลากร ให้หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงานหรือกำกับดูแลกำหนดให้บุคลากรมาปฏิบัติงาน ณ สถานที่ทำการ หรือปฏิบัติงาน ณ ที่พักอาศัยได้ตามที่เห็นสมควร โดยอาจงด ลด สลับหรือเหลื่อมวันหรือเวลาในการมาปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงลักษณะของงาน ความจำเป็นในการมาปฏิบัติงานและสถานที่ปฏิบัติงาน หรือความจำเป็นอื่นใดเพื่อลดความแออัดในสถานที่ปฏิบัติงานหรือป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19
ข้อ ๗ ในกรณีที่นิสิตหรือบุคลากรมีความจำเป็นต้องไปศึกษา วิจัย หรือปฏิบัติงานนอกสถานที่ทำการของมหาวิทยาลัย ให้หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงานหรือกำกับดูแลพิจารณาสั่งการหรืออนุญาตได้ตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ ทั้งนี้ นิสิตหรือบุคลากรนั้นต้องปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งของทางราชการ เจ้าพนักงานหรือมาตรการในพื้นที่นั้นอย่างเคร่งครัด
ในกรณีที่นิสิตหรือบุคลากรต้องไปศึกษา วิจัย หรือปฏิบัติงาน ณ พื้นที่ควบคุมสูงสุดตามคำสั่งของทางราชการ ให้หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงานหรือกำกับดูแลพิจารณาให้ความเห็นเบื้องต้นแล้วเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินโควิด-19 เพื่อพิจารณาอนุญาต
ข้อ ๘ ในการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการศึกษา รวมทั้งการจัดกิจกรรมใด ๆ สำหรับโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้คณบดีคณะครุศาสตร์มีอำนาจดำเนินการหรือสั่งการใด ๆ ได้ตามที่เห็นสมควร โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียนประกอบกับประสิทธิภาพของการเรียนการสอนเป็นสำคัญ รวมทั้งให้ปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งของทางราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมหาวิทยาลัยอย่างเคร่งครัด
ข้อ ๙ หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงานหรือกำกับดูแลอาจกำหนดรายละเอียดหรือแนวทางปฏิบัติสำหรับนิสิตหรือบุคลากรเพื่อดำเนินการใด ๆ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับความในประกาศฉบับนี้ก็ได้
ข้อ ๑๐ กรณีที่มีปัญหาหรือข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ ให้หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงานหรือกำกับดูแลวินิจฉัยชี้ขาด
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป จนกว่ามหาวิทยาลัยจะประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔
(ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์)
อธิการบดี
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมสองกิจกรรมโครงการ “เล่นเพลินสำหรับเด็กปฐมวัย” “นิทานฟังเพลิน” และ “Happy Play Day”
อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็น “อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ปอมท.” ประจำปี 2567
อธิการบดีจุฬาฯ ได้รับเลือกเป็นประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASAIHL) ปี 2025-2026
นิสิตภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขัน CHOICEISYOURS 2024
จุฬาฯ เชิญชวนร่วมงาน “One Stop Open House 2024” โดยกระทรวง อว. ระหว่างวันที่ 27 พ.ย. – 1 ธ.ค. 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
เชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมด้านจิตวิทยา “BRIDGING DISCIPLINES: Incorporate Psychology into Your Endeavor”
8 ม.ค. 2568 เวลา 09.00 – 16.00 น.
ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้